เฉลยปัญหาข้อสอบวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก ปีพ.ศ.๒๕๖๖

เฉลยปัญหาข้อสอบวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก ปีพ.ศ.๒๕๖๖



ปัญหาข้อสอบวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก ปีพ.ศ.๒๕๖๖
เฉลยปัญหาข้อสอบวิชาธรรมวิจารณ์ นักธรรมชั้นเอก ปีพ.ศ.๒๕๖๖เฉลยปัญหาข้อสอบวิชาธรรมวิจารณ์ นักธรรมชั้นเอก ปีพ.ศ.๒๕๖๖เฉลยปัญหาข้อสอบวิชาธรรมวิจารณ์ นักธรรมชั้นเอก ปีพ.ศ.๒๕๖๖


ปัญหาเฉลยข้อสอบวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก ปีพ.ศ.๒๕๖๖

  1. บุคคลเช่นไรชื่อว่าติดอยู่ในโลก ? ผู้ติดอยู่ในโลกจะได้รับผลอย่างไร ?
    ตอบ บุคคลผู้ไร้พิจารณา ไม่หยั่งเห็นโดยถ่องแท้ เพลิดเพลินในสิ่งอันให้โทษ ระเริงจนเกินพอดีในสิ่งอันอาจให้โทษ ติดในสิ่งอันเป็นอุปการะ ชื่อว่า ติดอยู่ในโลก ฯ
    ย่อมได้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง อันสิ่งนั้น ๆ พึงอำนวย แม้สุขก็เป็นเพียงสามิส คือ มีเหยื่อเจือด้วยของล่อใจ เป็นเหตุแห่งความติด ดุจเหยื่อคือมังสะอันเบ็ดเกี่ยวไว้ ฯ
  2. คำว่า มารและบ่วงแห่งมาร หมายถึงอะไร ?
    ตอบ คำว่า มาร หมายถึงกิเลสกาม อันทำจิตให้เศร้าหมอง ได้แก่ ตัณหา ราคะ และอรติ เป็นต้น
    คำว่า บ่วงแห่งมาร หมายถึงวัตถุกาม ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ฯ
  3. คำว่า มะทะนิมมะทะโน ธรรมยังความเมาให้สร่าง หมายถึงความเมาในอะไร ?
    ตอบ หมายถึง ความเมาในอารมณ์อันยั่วยวนให้เกิดความเมาทุกประการ เช่น ชาติ สกุล อิสริยะ บริวาร ก็ดี ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็ดี ความเยาว์วัย ความไม่มีโรค และชีวิต ก็ดี นับเข้าในอารมณ์ประเภทนี้ ฯ
  4. วัฏฏะ ในคำว่า วัฏฏูปัจเฉโท นั้น หมายถึงอะไร ? และตัดวัฏฏะได้อย่างไร ?
    ตอบ หมายถึง ความเวียนเกิดด้วยอำนาจกิเลส กรรม วิบาก ฯ
    ตัดขาดได้โดยการละกิเลสอันเป็นเบื้องต้นเสีย ฯ
  5. โลกามิส คืออะไร ? ที่ได้ชื่ออย่างนั้นเพราะเหตุไร ?
    ตอบ โลกามิส คือ กามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ฯ
    ได้ชื่ออย่างนั้น เพราะเป็นเครื่องล่อใจให้ติดอยู่ในโลกดุจเหยื่ออันเบ็ดเกี่ยวไว้ฉะนั้น ฯ
  6. คติ คืออะไร ? สัตวโลกตายไปแล้ว มีคติเป็นอย่างไรบ้าง ?
    ตอบ คติ คือ ภูมิหรือภพเป็นที่ไปหลังจากตายแล้ว ฯ
    มีคติเป็น ๒ คือ
    ๑. ทุคติ ภูมิเป็นที่ไปข้างชั่ว ซึ่งเกิดจากการประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ
    ๒. สุคติ ภูมิเป็นที่ไปข้างดี ซึ่งเกิดจากการประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ ฯ
  7. ผู้เจริญเมตตาเป็นประจำ ย่อมได้รับอานิสงส์อะไรบ้าง ? จงตอบมา ๓ ประการ
    ตอบ ได้รับอานิสงส์ดังนี้
    ๑. หลับอยู่ก็เป็นสุข
    ๒. ตื่นอยู่ก็เป็นสุข
    ๓. ไม่ฝันเห็นสิ่งลามก
    ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
    ๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
    ๖. เทวดาทั้งหลายย่อมรักษา
    ๗. ไฟไม่ไหม้ พิษหรือศัสตราวุธทั้งหลายไม่อาจประทุษร้าย
    ๘. จิตย่อมตั้งมั่นได้เร็วพลัน
    ๙. ผิวพรรณย่อมผ่องใสงดงาม
    ๑๐. ไม่หลงทำกาลกิริยา คือเมื่อจะตายย่อมได้สติ
    ๑๑. เมื่อตายแล้วแม้เกิดอีก ก็ย่อมเกิดในที่ดีเป็นที่เสวยสุข ถ้าไม่เสื่อมจากฌาน ก็ไปเกิดในพรหมโลก ฯ
    (เลือกตอบเพียง ๓ ข้อ)
  8. สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ให้ผลต่างกันอย่างไร ?
    ตอบ ให้ผลต่างกันดังนี้
    สมถ ให้ผลอย่างต่ำทำให้ระงับนิวรณ์ได้ อย่างสูงทำให้เข้าถึงฌานต่าง ๆ ได้
    ส่วนวิปัสสนา ให้ผลอย่างต่ำทำให้ได้ปัญญาเห็นสัจธรรม อย่างสูงทำให้ได้บรรลุอริยผลพ้นจากสังสารทุกข์ ฯ
  9. คนสัทธาจริตมีนิสัยอย่างไร ? คนประเภทนี้ควรเจริญกัมมัฏฐานใดบ้าง ?
    ตอบ คนสัทธาจริต มีนิสัยเชื่อง่ายๆ ในถ้อยคำวาจาที่กล่าวดีและชั่ว ที่เป็นบุญและเป็นบาป เป็นต้น ฯ
    คนประเภทนี้ควรเจริญอนุสสติกัมมัฏฐาน ๖ ประการ คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ และเทวตานุสสติ ฯ
  10. อารมณ์ของวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้แก่อะไร ?
    ตอบ สังขารและธรรมทั้งปวง คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ฯ
    (หรือเขียนแบบนี้ก็ได้เช่นกัน)
    อารมณ์ของวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือ สังขารทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอุปาทินนกะ และ อนุปาทินนกะ (หรือ ธรรมในวิปัสสนาภูมิ คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เป็นต้น) ฯ

ดาวน์โหลดเฉลยข้อสอบวิชาธรรม/PDF



แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า
ADVERTISMENT