๑. | ข้อใด เป็นธรรมมีอุปการะมาก ? ก. สติ สัมปชัญญะ ข. หิริ โอตตัปปะ ค. ขันติ โสรัจจะ ง. กตัญญู กตเวที |
๒. | คนที่ทำ พูด คิด ผิดพลาดอยู่เสมอเพราะขาดธรรมข้อใด ? ก. สติ สัมปชัญญะ ข. หิริ โอตตัปปะ ค. ขันติ โสรัจจะ ง. กตัญญู กตเวที |
๓. | ข้อใดเป็นความหมายของสติ ? ก. ความระลึกได้ ข. ความรู้ตัว ค. ความรอบรู้ ง. ความจำได้ |
๔. | สติ ควรใช้เวลาไหน ? ก. ขณะทำพูดคิด ข. ก่อนทำพูดคิด ค. หลังทำพูดคิด ง. ทำพูดคิดแล้ว |
๕. | เราควรใช้สัมปชัญญะเมื่อใด ? ก. ขณะทำ พูด คิด ข. ก่อนทำ พูด คิด ค. หลังทำ พูด คิด ง. ก่อนทำ ขณะพูด คิด |
๖. | ข้อใดเป็นลักษณะของคนมีสัมปชัญญะ ? ก. กล้าหาญอดทน ข. ซื่อสัตย์สุจริต ค. ไม่ประมาท ง. อายชั่วกลัวบาป |
๗. | คนขาดสติสัมปชัญญะมีลักษณะเช่นไร ? ก. โงเขลา ข. ประมาท ค. ขาดความละอาย ง. ไร้ความรับผิดชอบ |
๘. | สัมปชัญญะ มีความหมายตรงกับข้อใด ? ก. ความระลึกได้ ข. ความรู้ตัว ค. ความรอบรู้ ง. ความทรงจำ |
๙. | ผู้มีความรอบคอบทำงานไม่ผิดพลาด เพราะมีธรรมอะไร ? ก. หิริโอตตัปปะ ข. ขันติโสรัจจะ ค. สติสัมปชัญญะ ง. กตัญญูกตเวที |
๑๐. | พหุปการธรรม หมายถึงข้อใด ? ก. หิริ โอตตัปปะ ข. ขันติ โสรัจจะ ค. กตัญญู กตเวที ง. สติ สัมปชัญญะ |
๑๑. | บุคคลใดควรใช้สติสัมปชัญญะมากที่สุด ? ก. คนข้ามถนน ข. คนขับรถ ค. คนซื้อสลาก ง. คนขายสลาก |
๑๒. | คำว่า พลั้งปากเสียศีล พลั้งตีนตกต้นไม้ เพราะขาดธรรมใด ? ก. สติ ข. ศีล ค. สมาธิ ง. ปัญญา |
๑๓. | ธรรมใด เป็นอุปมาดุจหางเสือเรือ ? ก. หิริ ข. โอตตัปปะ ค. สติ ง. ขันติ |
๑. | ธรรมข้อใดเป็นพื้นฐานให้คนมีศีล ? ก. สติ สัมปชัญญะ ข. ขันติ โสรัจจะ ค. หิริ โอตตัปปะ ง. กตัญญู กตเวที |
๒. | หิริโอตตัปปะ จัดเป็นธรรมอะไร ? ก. มีอุปการะมาก ข. คุ้มครองโลก ค. ธรรมอันทำให้งาม ง. ธรรมของโลก |
๓. | คนมีหิริมีลักษณะเช่นใด ? ก. รังเกียจคนชั่ว ข. ละอายบาป ค. เกรงกลัวบาป ง. เกรงกลัวคนชั่ว |
๔. | คนมีโอตตัปปะมีลักษณะเช่นใด ? ก. รังเกียจคนชั่ว ข. ละอายบาป ค. เกรงกลัวบาป ง. เกรงกลัวคนชั่ว |
๕. | ธรรมคุ้มครองโลก หมายถึงธรรมประเภทใด ? ก. พหุปการธรรม ข. ธรรมเป็นโลกบาล ค. โสภณธรรม ง. ทุลลภบุคคล |
๖. | หิริโอตตัปปะ เรียกอีกอย่างว่าอะไร ? ก. พหุปการธรรม ข. โสภณธรรม ค. สุกกธรรม ง. ทุลลภบุคคล |
๗. | อยากเป็นเทวดา ควรประพฤติธรรมใด ? ก. สติสัมปชัญญะ ข. หิริ โอตตัปปะ ค. ขันติ โสรัจจะ ง. กตัญญู กตเวที |
๘. | ละอายชั่วกลัวบาป เป็นความหมายของธรรมใด ? ก. หิริ โอตตัปปะ ข. สติ สัมปชัญญะ ค. ขันติ โสรัจจะ ง. กตัญญู กตเวที |
๙. | เทวธรรม หมายถึงข้อใด ? ก. สติสัมปชัญญะ ข. หิริโอตตัปปะ ค. ขันติโสรัจจะ ง. กตัญญูกตเวที |
๑. | ธรรมข้อใดทำให้งดงามทั้งภายในภายนอก ? ก. หิริ โอตตัปปะ ข. สติ สัมปชัญญะ ค. ขันติ โสรัจจะ ง. กตัญญู กตเวที |
๒. | ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของขันติ ? ก. ทนทำงาน ข. ทนลำบาก ค. ทนหิว ง. ทนเล่นเกมส์ |
๓. | ผู้ถูกดูหมิ่นให้เจ็บใจแต่ยิ้มแย้มได้ เพราะมีธรรมข้อใด ? ก. หิริ ข. สติ ค. โสรัจจะ ง. ขันติ |
๔. | ความงามในข้อใดสำคัญที่สุด ? ก. งามจิตใจ ข. งามมารยาท ค. งามกาย ง. งามเครื่องประดับ |
๕. | ข้อใดเป็นลักษณะของผู้มีความงามตามหลักธรรม ? ก. ไม่ยินดียินร้าย ข. อดกลั้นไม่หวั่นไหว ค. ไม่กระวนกระวาย ง. ไม่ตื่นตระหนก |
๖. | อาภรณ์แต่งกาย แต่ใจแต่งด้วยธรรม หมายถึงข้อใด ? ก. สติสัมปชัญญะ ข. หิริโอตตัปปะ ค. ขันติโสรัจจะ ง. เมตตากรุณา |
๗. | งามอะไรไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา ? ก. เสื้อผ้า ข. กิริยา ค. หน้าตา ง. คุณธรรม |
๘. | คนมีขันติ มีลักษณะเช่นใด ? ก. ทนต่อการศึกษา ข. ทนเล่นเกมส์ ค. ทนดูหนัง ง. ทนดูกีฬา |
๙. | อดทนต่อการเจ็บป่วย จัดเป็นความอดทนในเรื่องใด ? ก. ความลำบาก ข. ทุกขเวทนา ค. ความเจ็บใจ ง. อำนาจกิเลส |
๑๐. | ขันติโสรัจจะ เรียกอีกอย่างว่าอะไร ? ก. โสภณธรรม ข. พหุปการธรรม ค. สุกกธรรม ง. เทวธรรม |
๑. | ผู้ทำอุปการะก่อน เรียกว่าอะไร ? ก. กตัญญู ข. กตเวที ค. กตัญญูกตเวที ง. บุพพการี |
๒. | ผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วตอบแทน เรียกว่าอะไร ? ก. กตัญญู ข. กตเวที ค. กตัญญูกตเวที ง. บุพพการี |
๓. | คนเรามักลืมบุญคุณผู้อื่น พระพุทธศาสนาจึงสอนเรื่องใด ? ก. ความมีเมตตา ข. ความซื่อสัตย์ ค. ความเสียสละ ง. ความกตัญญู |
๔. | บุพพการีชน หมายถึงใคร ? ก. พระมหากษัตริย์ ข. บิดามารดา ค. ครูอาจารย์ ง. ถูกทุกข้อ |
๕. | ผู้ทำอุปการะโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน คือใคร ? ก. เพื่อนสนิท ข. ญาติสนิท ค. บุตรธิดา ง. บิดามารดา |
๖. | คำว่า พระในบ้าน หมายถึงข้อใด ? ก. พระพุทธรูป ข. พระภูมิเจ้าที่ ค. พ่อ แม่ ง. ปู่ ย่าตายาย |
๗. | จะรู้ได้อย่างไรว่า คนที่เราคบเป็นคนดี ? ก. อัธยาศัยดี ข. ขยันทำงาน ค. รู้จักแทนคุณ ง. ขยันเรียน |
๘. | ธรรมข้อใดจัดเป็นเครื่องหมายของคนดี ? ก. กตัญญูกตเวที ข. เมตตากรุณา ค. ประหยัดอดออม ง. ขยันอดทน |
๙. | ไม้เท้าผู้เฒ่าดีกว่าลูกเต้าอกตัญญู จัดเป็นลูกประเภทใด ? ก. เนรคุณ ข. ตอบแทนคุณ ค. รู้บุญคุณ ง. ทำบุญคุณ |
๑. | ชาวพุทธต้องยึดถืออะไรเป็นที่พึ่งที่ระลึก ? ก. พระรัตนตรัย ข. พระไตรปิฎก ค. โอวาทปาติโมกข์ ง. ไตรสิกขา |
๒. | ผู้รู้ดีรู้ชอบและสอนให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม หมายถึงใคร ? ก. พระพุทธเจ้า ข. พระปัจเจกพุทธเจ้า ค. พระอรหันต์ ง. พระสาวก |
๓. | พระธรรม คืออะไร ? ก. ระเบียบ ข. คำสั่งสอน ค. คำตักเตือน ง. กติกา |
๔. | ข้อใด เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ ? ก. สอนให้มีโชค ข. สอนให้มีลาภ ค. สอนให้ทำความดี ง. สอนให้รวย |
๑. | ละชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้ผ่องใส ตรงกับข้อใด ? ก. โอวาท ๓ ข. บุญกิริยาวัตถุ ๓ ค. รัตนะ ๓ ง. สุจริต ๓ |
๒. | โอวาทของพระพุทธเจ้า เน้นการกระทำด้านใด ? ก. กาย ข. วาจา ค. กาย วาจา ง. กาย วาจา ใจ |
๓. | โอวาทของพระพุทธเจ้า ตรงกับข้อใด ? ก. ละชั่ว ข. ทําดี ค. ทําจิตให้ผ่องใส ง. ถูกทุกข้อ |
๔. | ประโยชน์สูงสุดของการปฏิบัติตามพุทธโอวาทคืออะไร ? ก. ศีล ข. สมาธิ ค. สวรรค์ ง. พระนิพพาน |
๑. | ทุจริต ๓ หมายถึงการประพฤติเช่นไร ? ก. ทำชั่ว ข. พูดชั่ว ค. คิดชั่ว ง. ถูกทุกข้อ |
๒. | การประพฤติชั่วทางกาย วาจา ใจ เรียกว่าอะไร ? ก. ทุจริต ข. บาป ค. กรรม ง. มลทิน |
๓. | ข้อใดจัดเป็นกายทุจริต ? ก. พยาบาทปองร้าย ข. ลักทรัพย์ ค. ยุยงให้แตกกัน ง. ให้ร้ายผู้อื่น |
๔. | ข้อใดเป็นโทษของการพูดส่อเสียด ? ก. ให้เจ็บใจ ข. ให้แตกสามัคคี ค. ขาดคนเชื่อถือ ง. ขาดคนรักใคร่ |
๕. | ข้อใดเป็นโทษของการพูดคำหยาบ ? ก. ให้เจ็บใจ ข. ให้แตกสามัคคี ค. ขาดคนเชื่อถือ ง. ขาดคนรักใคร่ |
๖. | คำพูดใดทำลายความสามัคคี ? ก. คำปด ข. คำหยาบ ค. คำส่อเสียด ง. คำเพ้อเจ้อ |
๗. | เห็นคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงตรงกับข้อใด ? ก. กายทุจริต ข. วจีทุจริต ค. มโนทุจริต ง. ถูกทุกข้อ |
๘. | ข้อใดจัดเป็นมโนทุจริต ? ก. โหดร้าย ข. พยาบาท ค. ใส่ร้าย ง. ปากร้าย |
๑. | การประพฤติดีทางกาย วาจา ใจ เรียกว่าอะไร ? ก. บุญ ข. ทาน ค. กุศล ง. สุจริต |
๒. | คนจะดีหรือชั่วเพราะอะไร ? ก. การศึกษา ข. การกระทำ ค. เชื้อชาติ ง. วงศ์ตระกูล |
๓. | การประพฤติสุจริต ตรงกับข้อใด ? ก. ทำดี ข. พูดดี ค. คิดดี ง. ถูกทุกข้อ |
๔. | ข้อใดจัดเป็นวจีสุจริต ? ก. ไม่คอร์รัปชัน ข. ไม่หลอกลวง ค. ไม่พยาบาท ง. ไม่โลภ |
๕. | วจีสุจริตข้อใดส่งเสริมความปรองดอง ? ก. ไม่พูดส่อเสียด ข. ไม่พูดเท็จ ค. ไม่พูดคำหยาบ ง. ไม่พูดเพ้อเจ้อ |
๖. | ข้อใดจัดเป็นผลของวจีสุจริต ? ก. มีคนเชื่อถือ ข. มีคนเห็นใจ ค. มีทรัพย์มาก ง. มีบริวารมาก |
๗. | ข้อใดจัดเป็นมโนสุจริต ? ก. ไม่นินทาว่าร้ายคนอื่น ข. ไม่ประทุษร้ายคนอื่น ค. ไม่เห็นแก่พวกพ้อง ง. ไม่โลภของเขา |
๘. | เห็นไม่ผิดจากคลองธรรม คือเห็นเช่นไร ? ก. ทำดีได้ดี ข. ทำดีได้ชั่ว ค. ดีชั่วอยู่ที่ผู้อื่น ง. ทำชั่วได้ดี |
๑. | รากเหง้าของอกุศลเรียกว่าอะไร ? ก. อกุศลมูล ข. อวิชชา ค. บาป ง. มาร |
๒. | อกุศลมูล เกิดขึ้นแล้วควรละด้วยวิธีปฏิบัติอย่างไร ? ก. ให้ทาน ข. รักษาศีล ค. เจริญภาวนา ง. ถูกทุกข้อ |
๓. | อกุศลมูลใด เป็นเหตุแห่งการฉ้อโกง ? ก. โลภะ ข. โทสะ ค. โมหะ ง. ราคะ |
๔. | อกุศลมูลใด เป็นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท ? ก. โลภะ ข. โทสะ ค. โมหะ ง. ราคะ |
๕. | อกุศลมูลใด เป็นเหตุแห่งการหลงงมงาย ? ก. โลภะ ข. โทสะ ค. โมหะ ง. ราคะ |
๑. | อโทสะ แก้ปัญหาเรื่องใด ? ก. ใส่ร้าย ข. ทุจริต ค. งมงาย ง. วิวาท |
๑. | ไม่สบายกายไม่สบายใจชื่อว่าทุกข์ เพราะเหตุใด ? ก. ทนได้ยาก ข. เห็นได้ยาก ค. รักษาได้ยาก ง. ติดตามได้ยาก |
๒. | ทุกข์ในอริยสัจ เกิดจากอะไร ? ก. กิเลส ข. กรรม ค. วิบาก ง. ตัณหา |
๓. | ความทะยานอยากจัดเข้าในข้อใด ? ก. ทุกข์ ข. สมุทัย ค. นิโรธ ง. มรรค |
๔. | ความจริงอันประเสริฐ หมายถึงธรรมใด ? ก. ปธาน ๔ ข. อิทธิบาท ๔ ค. อริยสัจ ๔ ง. พรหมวิหาร ๔ |
๕. | ความไม่สบายกายไม่สบายใจ เรียกว่าอะไร ? ก. ทุกข์ ข. สมุทัย ค. นิโรธ ง. มรรค |
๖. | ในอริยสัจ ๔ ข้อใดควรละ ? ก. ทุกข์ ข. สมุทัย ค. นิโรธ ง. มรรค |
๗. | ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หมายถึงข้อใด ? ก. ทุกข์ ข. สมุทัย ค. นิโรธ ง. มรรค |