เก็งข้อสอบนักธรรมชั้นเอก - วิชาวินัย [พระเณร]

<h1>เก็งข้อสอบวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก,แนวข้อสอบนักธรรมชั้นเอก,เก็งข้อสอบวิชาวินัยบัญญัติ</h1>



ดาวน์โหลด หรือเปิดอ่านแบบ PDF




เก็งข้อสอบวิชาวินัย นักธรรมชั้นเอก
{getButton} $text={สังฆกรรม} $color={#009933}
๑. สังฆกรรม เมื่อกล่าวโดยประเภทมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? พร้อมยกตัวอย่าง
กล่าวโดยประเภท มี ๔ ฯ คือ
๑. อปโลกนกรรม เช่น การรับสามเณรผู้ถูกลงโทษเพราะกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า และได้รับการยกเลิกโทษเพราะกลับประพฤติดี
๒. ญัตติกรรม เช่น การเรียกอุปสัมปทาเปกขะผู้ได้รับการไล่เลียงอันตรายิกธรรมแล้วกลับเข้ามาในหมู่สงฆ์
๓. ญัตติทุติยกรรม เช่น สวดหงายบาตรแก่ผู้ถูกคร่ำบาตรเพราะกลับประพฤติดีในภายหลัง
๔. ญัตติจตุตถกรรม เช่น การสวดกรรมที่สงฆ์ผู้ทำกรรม ๗ สถาน มีตัชชนียกรรมเป็นต้นลงโทษภิกษุผู้ประพฤติมิชอบ ฯ
๒. สังฆกรรม กับวินัยกรรม มีกำหนดบุคคลและสถานที่ต่างกันหรือเหมืนกันอย่างไร ?
ต่างกันดังนี้ คือ
สังฆกรรมต้องประชุมสงฆ์ครบองค์ตามกำหนดแห่งกรรมนั้นๆ ต้องทำในสีมา เว้นไว้แต่อปโลกนกรรมทำนอกสีมาได้
ส่วนวินัยกรรม ไม่ต้องประชุมสงฆ์และทำนอกสีมาก็ได้ ฯ
๓. สงฆ์ผู้ทำสังฆกรรม ท่านจัดเป็นวรรคไว้อย่างไรบ้าง ? แต่ละวรรคทำกรรมอะไรได้บ้าง ?
ท่านจัดไว้อย่างนี้ คือ
สงฆ์มีจำนวน ๔ รูป เรียกว่า จตุวรรค
สงฆ์มีจำนวน ๕ รูป เรียกว่า ปัญจวรรค
สงฆ์มีจำนวน ๑๐ รูป เรียกว่า ทสวรรค
สงฆ์มีจำนวน ๒๐ รูป เรียกว่า วีสติวรรค
สังฆกรรมทุกอย่าง เว้นปวารณา ให้ผ้ากฐิน อุปสมบท และอัพภาน สงฆ์จตุวรรคทำได้
ปวารณา ให้ผ้ากฐิน อุปสมบทในปัจจันตชนบท สงฆ์ปัญจวรรคทำได้
อุปสมบทในมัธยมชนบท สงฆ์ทสวรรคทำได้ ฯ
๔. สงฆ์ผู้ปรารถนาความตั้งอยู่ยั่งยืนของพระธรรมวินัย ควรปฏิบัติอย่างไร ?
ควรตั้งอยู่ในสีลสามัญญตา ทิฏฐิสามัญญตา และลัชชีธรรม สำรวมในพระปาติโมกข์ ประกอบด้วยอาจาระและโคจระ เห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย สำเนียกศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ฯ
๕. มูลเหตุให้เกิดสังฆกรรมมีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
มี ๒ อย่าง ฯ คือ
๑. มีภิกษุบริษัทเพิ่มจำนวนมากขึ้น
๒. มีพระพุทธประสงค์เพื่อให้สงฆ์เป็นใหญ่ในการบริหารหมู่คณะ ฯ
๖. ญัตติและอนุสาวนา หมายถึงอะไร ? ญัตติมีใช้ในสังฆกรรมอะไรบ้าง ?
ญัตติ หมายถึง คำเผดียงสงฆ์
อนุสาวนา หมายถึง การสวดประกาศคำปรึกษาและข้อตกลงของสงฆ์ ฯ
ญัตติมีใช้ใน ๓ สังฆกรรม คือ ๑.ญัตติกรรม ๒.ญัตติทุติยกรรม ๓.ญัตติจตุตถกรรม ฯ
๗. อนุสาวนา มีใช้ในสังฆกรรมอะไรบ้าง ?
อนุสาวนามีใช้ใน ๓ สังฆกรรม คือ ๑.ญัตติทุติยกรรม ๓.ญัตติจตุตถกรรม ฯ


{getButton} $text={สีมา} $color={#009933}
๑. สีมา คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? มีความสำคัญอย่างไร ?
สีมา คือ เขตประชุมของสงฆ์ผู้ทำสังฆกรรม ฯ มี ๒ ประเภทคือ ๑.พัทธสีมา ๒.อพัทธสีมา ฯ
มีความสำคัญ เพื่อจะกำหนดเขตประชุมแห่งสงฆ์ที่ประชุมกันทำสังฆกรรม มีการให้อุปสมบทแก่กุลบุตร เป็นต้น ที่พระศาสดาทรงอนุญาตให้สงฆ์พร้อมเพียงกันทำ ฯ
๒. ติจีวราวิปปวาสสีมา และ อุทกุกเขปสีมา ได้แก่สีมาเช่นไร ?
ติจีวราวิปปวาสสีมา ได้แก่ สีมาที่สงฆ์สมมติให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ในเขตสีมานั้น
อุทกุกเขปสีมา ได้แก่ สีมาที่กำหนดเขตแห่งสามัคคีด้วยชั่ววักน้ำสาดแห่งคนมีอายุและกำลังปานกลาง ฯ
๓. วิสุงคามสีมา และ สัตตัพภันตรสีมา หมายความว่าอย่างไร ?
วิสุงคามสีมา หมายถึง เขตแห่งสามัคคีที่สงฆ์ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตยกให้เป็นแผนกหนึ่งจากบ้าน ฯ
สัตตัพภันตรสีมา หมายถึง เขตแห่งสามัคคีในป่าหาคนตั้งบ้านเรือนไม่ได้ชั่ว ๗ อัพภันดร (๔๙ วา) โดยรอบ นับแต่ที่สุดแห่งสงฆ์ออกไป
๔. นิมิตที่อยู่รอบอุโบสถ มีไว้เพื่อประโยชน์อะไร ? จงเขียนคำทักนิมิตในทิศตะวันตกเฉียงใต้มาดู
มีไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายกำหนดเขตการทำสังฆกรรม ฯ
ทกฺขิณาย อนุทิสาย กึ นิมิตฺตํ ฯ
๕. สีมาสังกระ คืออะไร ? สงฆ์จะทำสังฆกรรมในสีมาเช่นนั้นได้หรือไม่อย่างไร ?
คือ สีมาที่สมมติคาบเกี่ยวกันระหว่างสีมาที่สมมติไว้เดิมและสีมาที่สมมติขึ้นใหม่ ฯ
สงฆ์ทำสังฆกรรมในสีมาที่สมมติไว้เดิมได้ แต่ทำในสีมาที่สมมติขึ้นใหม่ไม่ได้ ฯ
๖. สีมาเป็นหลักสำคัญแห่งสังฆกรรมอย่างไร ? พัทธสีมามีกำหนดขนาดพื้นที่ไว้อย่างไร ?
สีมาเป็นเขตประชุมของสงฆ์ผู้ทำกรรม พระศาสดาทรงพระอนุญาตให้สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำภายในสีมาเพื่อจะรักษาสามัคคีในสงฆ์ ฯ
พัทธสีมามีกำหนดขนาดอย่างนี้ คือ กำหนดไม่ให้สมมติสีมาเล็กเกินไปจนจุภิกษุ ๒๑ รูปนั่งไม่ได้ และไม่ให้สมมติสีมาใหญ่เกินไปกว่า ๓ โยชน์ ฯ
๗. พัทธสีมา มีกี่ชนิด ? อะไรบ้าง ? สีมาผูกเฉพาะบริเวณอุโบสถเรียกว่าอะไร ?
พัทธสีมา มี ๓ ชนิด คือ
๑. สีมาผูกเฉพาะบริเวณโรงอุโบสถ เรียกขัณฑสีมา
๒. สีมาผูกทั่ววัด เรียกมหาสีมา ๑
๓. สีมาผูก ๒ ชั้น ฯ
สีมาผูกเฉพาะบริเวณอุโบสถ เรียกว่า ขัณฑสีมา ฯ
๘. คำทักนิมิตในทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ว่าอย่างไร ?
คำทักนิมิต
ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ว่า “ทกฺขิณาย อนุทิสาย กึ นิมิตฺตํ”
ในทิศตะวันออกว่า “ปุรตฺถิมาย ทิสาย กึ นิมิตฺตํ”
ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือว่า “อุตฺตราย อนุทิสาย กึ นิมิตฺตํ” ฯ


{getButton} $text={เจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์} $color={#009933}
๑. เจ้าอธิการตามพระวินัย หมายถึงใคร ? สงฆ์พึงสวดสมมติเจ้าอธิการด้วยกรรมวาจาประเภทใด ?
หมายถึง ภิกษุผู้ได้รับสมมติจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์นั้นๆ ฯ พึงสวดสมมติด้วยญัตติทุติยกรรม ฯ
๒. วัดมีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ? และใครเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป ?
มี ๒ ประเภท ฯ คือ
๑. วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
๒. สำนักสงฆ์ ฯ
เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป ฯ
๓. คำว่า เจ้าอธิการ ในพระวินัยหมายถึงใคร ? มีกี่แผนก ? อะไรบ้าง ?
หมายถึง ภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นหน้าที่ทำกิจการของสงฆ์ ฯ
มี ๕ แผนก ฯ คือ
๑. เจ้าอธิการแห่งจีวร
๒. เจ้าอธิการแห่งอาหาร
๓. เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ
๔. เจ้าอธิการแห่งอาราม
๕. เจ้าอธิการแห่งคลัง ฯ
๔. ภิกษุผู้ควรได้รับเลือกให้เป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ พึงประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้างและจะปฏิบัติหน้าที่นั้นได้ตั้งแต่เมื่อไร ?
ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ คือ
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว
๕. เข้าใจการทำหน้าที่อย่างนั้น ฯ
จะปฏิบัติหน้าที่นั้นได้ตั้งแต่สงฆ์สวดสมมติด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาให้เป็นเจ้าหน้าที่นั้น ฯ
๕. ภิกษุผู้ควรได้รับสมมติให้เป็นภัตตุทเทสกะ ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติเช่นไร ?
ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
๑. เว้นอคติ ๔ คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ
๒. รู้จักภัตรที่ควรแจกหรือมิควรแจก
๓. รู้จักลำดับที่พึงแจก ฯ
๖. พระทัพพมัลลบุตร มีความดำริอย่างไร พระศาสดาทรงทราบแล้วทรงสาธุการ ตรัสให้สงฆ์สมมติให้ท่านรับหน้าที่อะไรบ้าง ?
ท่านดำริว่า ท่านอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ควรจะรับธุระของสงฆ์จึงกราบทูลพระศาสดาทรงสาธุการแล้ว ตรัสให้สงฆ์สมมติท่านให้เป็นภัตตุทเทสกะและเสนาสนคาหาปกะ ฯ


{getButton} $text={กฐิน} $color={#009933}
๑. กฐิน มีชื่อมาจากอะไร ? ผ้าที่เป็นกฐินได้มีอะไรบ้าง ?
มาจากไม้สะดึงที่ลาดหรือกางออกสำหรับขึงจีวรเพื่อเย็บ ฯ มี
๑. ผ้าใหม่
๒. ผ้าเทียมใหม่คือผ้าฟอกสะอาดแล้ว
๓. ผ้าเก่า
๔. ผ้าบังสุกุล
๕. ผ้าที่ตกตามร้านตลาดซึ่งเขานำมาถวายสงฆ์ ฯ
๒. ผ้าที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นผ้ากฐิน ได้แก่ผ้าเช่นไรบ้าง ?
ได้แก่ผ้าเช่นนี้ คือ
๑. ผ้าที่ไม่ได้เป็นสิทธิ เช่น ผ้าที่ขอยืมเขามา
๒. ผ้าที่ได้มาโดยอาการอันมิชอบ คือ ทำนิมิตได้มา พูดเลียบเคียงได้มา และผ้าเป็นนิสสัคคีย์
๓. ผ้าที่ได้มาโดยบริสุทธิ์ แต่เก็บค้างคืนไว้ ฯ
๓. ภิกษุผู้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้อานิสงส์อะไรบ้าง ?
ย่อมได้รับอานิสงส์ ๕ อย่าง ดังนี้
๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลาตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
๒. เที่ยวจาริกไปไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสำหรับ
๓. ฉันคณะโภชน์ได้
๔. เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
๕. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้นเป็นของได้แก่พวกเธอ
ทั้งได้โอกาสขยายเขตจีวรกาลให้ยาวออกไปตลอด ๔ เดือนฤดูเหมันต์ด้วย ฯ
๔. อานิสงส์กฐินจะสิ้นสุดลง เพราะเหตุอะไรบ้าง ?
เพราะปลิโพธ ๒ ประการ คือ
๑. อาวาสปลิโพธ ความกังวลในอาวาส
๒. จีวรปลิโพธ ความกังวลในจีวรขาดลง และสิ้นสุดเขตจีวรกาล ฯ


{getButton} $text={บรรพชาอุปสมบท} $color={#009933}
๑. ผู้จะเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ?
ต้องมีคุณสมบัติ ๕ ประการ คือ
๑. เป็นชาย
๒. มีอายุครบ ๒๐ ปี
๓. ไม่เป็นมนุษย์วิบัติ เช่น ถูกตอน หรือเป็นกระเทย เป็นต้น
๔. ไม่เคยทำอนันตริยกรรม
๕. ไม่เคยต้องปาราชิก หรือไม่เคยเข้ารีตเดียรถีย์ทั้งที่เป็นภิกษุ ฯ
๒. ในอุปสมบทกรรม อภัพพบุคคล หมายถึงใคร ? โดยประเภทมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
หมายถึง บุคคลที่ทรงห้ามไม่ให้อุปสมบท ฯ มี ๓ ประเภท คือ
๑. เพศบกพร่อง
๒. ประพฤติผิดพระธรรมวินัย
๓. ประพฤติผิดต่อกำเนิดของเขาเอง ฯ
๓. ในอุปสมบท คนที่ได้ชื่อว่า ลักเพศ ได้แก่คนเช่นไร ?
ได้แก่ คนถือเพศภิกษุเอาเอง ด้วยตั้งใจจะปลอมเข้าอยู่ในหมู่ภิกษุ ดังคำกล่าวว่า เดียรถีย์ปลอมเข้าอยู่ในหมู่ภิกษุครั้งอโศกรัชกาล ถ้าคนนั้นเป็นแต่สักว่าทรงเพศ เพราะเหตุอย่างอื่น เป็นต้นว่าเพื่อหนีภัย ไม่จัดเป็นคนลักเพศ ฯ
๔. อะไรเป็น บุพพกิจ และ ปัจฉิมกิจ แห่งอุปสมบทกรรม ฯ
การให้บรรพชาจนถึงสมมติภิกษุรูปหนึ่งสอบถามอุปสัมปทาเปกขะถึงอันตรายิกธรรมในสงฆ์ เป็นบุพพกิจแห่งอุปสมบท ฯ
การวัดเงาแดด การบอกประมาณแห่งฤดู การบอกส่วนแห่งวัน การบอกสังคีติ การบอกนิสัย ๔ การบอกอกรณียกิจ ๔ ในลำดับเวลาสวดกรรมวาจาจบ เป็นปัจฉิมกิจแห่งอุปสมบทกรรม ฯ


{getButton} $text={วิธีระงับวิวาทาธิกรณ์} $color={#009933}
๑. วิวาทาธิกรณ์ คืออะไร ? ระงับได้ด้วยอธิกรณสมถะข้อใดบ้าง ?
คือ การเถียงกันปรารภพระธรรมวินัย ฯ ด้วยสัมมุขาวินัยและเยภุยยสิกา ฯ
๒. ภิกษุผู้ก่อวิวาทาธิกรณ์ อย่างไรชื่อว่าปรารถนาดี อย่างไรชื่อว่าปรารถนาเลว ?
ผู้ก่อวิวาทเพราะเห็นแก่พระธรรมวินัย (ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ) ชื่อว่าทำด้วยปรารถนาดี
ผู้ก่อวิวาทด้วยทิฏฐิมานะ แม้รู้ว่าผิดก็ขืนทำ (ประกอบด้วยโลภะ โทสะ โมหะ) ชื่อว่าทำด้วยปรารถนาเลว ฯ
๓. ภิกษุทะเลาะกันเรื่องสรรพคุณของยา จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ได้หรือไม่ ? เพราะเหตุไร ?
ไม่ได้ ฯ เพราะวิวาทาธิกรณ์ มุ่งเฉพาะวิวาทปรารถพระธรรมวินัย ฯ


{getButton} $text={วิธีระงับอนุวาทาธิกรณ์} $color={#009933}
๑. อนุวาทาธิกรณ์ คืออะไร ? ระงับด้วยอธิกรณสมถะเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
คือ การโจทย์กันด้วยอาบัตินั้น ๆ ฯ ระงับด้วยอธิกรณสมถะ ๔ อย่าง คือ ๑)สัมมุขาวินัย ๒)สติวินัย ๓)อมูฬหวินัย ๔)ตัสสปาปิยสิกา ฯ
๒. สัมมุขาวินัย มีองค์เท่าไร ? อะไรบ้าง ?
มีองค์ ๔ ฯ คือ
๑. ในที่พร้อมหน้าสงฆ์
๒. ในที่พร้อมหน้าธรรม
๓. ในที่พร้อมหน้าวินัย
๔. ในที่พร้อมหน้าบุคคล ฯ
๓. อนุวาทาธิกรณ์เช่นไร อันภิกษุจะพึงยกขึ้นพิจารณาตัดสินได้ ?
ต้องเป็นเรื่องมีมูล คือ
เรื่องที่ได้เห็นเอง ๑
เรื่องที่ได้ยินเองหรือมีผู้บอกและเชื่อว่าเป็นจริง ๑
เรื่องที่เว้นจาก ๒ สถานนั้นแต่รังเกียจโดยอาการ ๑ ฯ


{getButton} $text={วิธีระงับอาปัตตาธิกรณ์} $color={#009933}
๑. พระอรรถกถาจารย์แสดงลักษณะปกปิดอาบัติสังฆาทิเสสไว้เป็น ๕ คู่อย่างไรบ้าง ?
แสดงไว้ ๕ คู่ดังนี้
๑. เป็นอาบัติ และรู้ว่าเป็นอาบัติ
๒. เป็นปกตัตตะ และรู้ว่าเป็นปกตัตตะ
๓. ไม่มีอันตราย และรู้ว่าไม่มีอันตราย
๔. อาจอยู่ และรู้ว่าอาจอยู่
๕. ใครจะปิด และปิดไว้ ฯ
๒. รัตติเฉท หมายถึงอะไร ? มีอะไรบ้าง ?
หมายถึง การขาดราตรีแห่ง (การประพฤติ) มานัต ฯ มี ๑.อยู่ร่วม ๒.อยู่ปราศ ๓.ไม่บอก ๔.ประพฤติในคณะอันพร่อง ฯ
๓. วุฏฐานวิธี แปลว่าอะไร ? ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?
แปลว่า ระเบียบเป็นเครื่องออกจากอาบัติ ฯ ประกอบด้วยปริวาส มานัส ปฏิกัสสนา และอัพภาน ฯ
๔. อันตราบัติ คืออะไร ? ภิกษุจะต้องอาบัตินี้ได้ในเวลาไหนบ้าง ?
คือ อาบัติสังฆาทิเสสที่ต้องในระหว่างประพฤติวุฏฐานวิธี ฯ
ภิกษุจะต้องอาบัตินี้ได้ในระหว่างที่กำลังอยู่ปริวาส หรืออยู่ปริวาสแล้วเป็นมานัตตารหะ กำลังประพฤติมานัตแล้ว เป็นอัพภานารหะ ฯ
๕. อาปัตตาธิกรณ์ระงับในสำนักบุคคลด้วยอธิกรณสมถะอะไร ? และระงับในสำนักสงฆ์ด้วยอธิกรณสมถะอะไร ?
ระงับในสำนักบุคคลด้วยปฏิญญาตกรณะ ฯ
ระงับในสำนักสงฆ์ ดังนี้
ถ้าเป็นครุกาบัติ ด้วยสัมมุขาวินัย และปฏิญญาตกรณะ
ถ้าเป็นลหุกาบัติ ด้วยสัมมุขาวินัย และติณวัตถารกะ ฯ
๖. ติณวัตถารกวินัยมีอธิบายอย่างไร ? ใช้ระงับอธิกรณ์อะไร ?
อธิบายว่า กิริยาที่ให้ประนีประนอมกันทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่ต้องชำระสะสางหาความเดิม เป็นดังกลบไว้ด้วยหญ้า ฯ
ใช้ระงับอาปัตตาธิกรณ์ที่ยุ่งยากยืดเยื้อไม่รู้จบและเป็นเรื่องสำคัญอันจะเป็นเครื่องกระเทือนทั่วไป เว้นครุกาบัติและอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ ฯ
๗. อุกเขปนียกรรม และ นิยสกรรม สงฆ์พึงลงแก่ภิกษุเช่นไร ?
อุกเขปนียกรรม พึงลงแก่ภิกษุไม่เห็นอาบัติ ผู้ไม่ทำคืนอาบัติ หรือผู้ไม่สละทิฏฐิบาป
นิยสกรรม พึงลงแก่ภิกษุผู้มีอาบัติมาก หรือคลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่ควร ฯ
๘. อธิกรณ์อันสงฆ์วินิจฉัยแล้ว ฝ่ายไม่ชอบใจ จักอุทธรณ์ต่อสงฆ์อื่นให้วินิจฉัยใหม่ได้หรือไม่ ? จงอธิบายพอเข้าใจ
ได้ก็มี ไม่ได้ก็มี ฯ
ตามสิกขาบทที่ ๓ แห่งสัปปาณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์ โจทก์ก็ดี จำเลยก็ดี สงฆ์ก็ดี รู้อยู่ว่าอธิกรณ์นั้น สงฆ์หมู่นั้นวินิจฉัยเป็นธรรมแล้วฟื้นขึ้นเพื่อวินิจฉัยใหม่ ต้องอาบัติปาจิตติยะ เป็นอันอุทธรณ์ไม่ได้ แต่ถ้าเห็นว่าไม่เป็นธรรมฟื้นขึ้นไม่เป็นอาบัติ เป็นอันอุทธรณ์ได้ ฯ


{getButton} $text={กิจจาธิกรณ์ว่าด้วยนิคหกรรม} $color={#009933}
๑. กิจจาธิกรณ์ และนิคคหะ คืออะไร ?
กิจจาธิกรณ์ คือ กิจอันจะพึงทำด้วยประชุมสงฆ์ ต่างโดยเป็นอปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม
นิคคหะ คือ การข่ม เป็นกิจอย่างหนึ่งแห่งผู้ปกครองหมู่ ฯ
๒. ในทางพระวินัย การคว่ำบาตร หมายถึงอะไร ? และจะหงายบาตรได้เมื่อไร ?
หมายถึง การไม่ให้คบหาสมาคมด้วยลักษณะ ๓ ประการ คือ
๑. ไม่รับบิณฑบาตของเขา
๒. ไม่รับนิมนต์ของเขา
๓. ไม่รับไทยธรรมของเขา ฯ
เมื่อผู้ถูกคว่ำบาตรนั้นเลิกกล่าวติเตียนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้นนั้น แล้วกลับประพฤติดี พึงหงายบาตรแก่เขาได้ ฯ


{getButton} $text={ปกิณกะ} $color={#009933}
๑. ลิงคนาสนา คืออะไร ? บุคคลที่ทรงพระอนุญาตให้ทำลิงคนาสนามีกี่ประเภท ? ใครบ้าง ?
คือ การให้ฉิบหายเสียจากเพศ ฯ มี ๓ ประเภท ฯ คือ
๑. ภิกษุต้องอันติมวัตถุแล้ว ยังปฏิญญาตนเป็นภิกษุ
๒. บุคคลผู้อุปสมบทไม่ขึ้น ได้รับอุปสมบทแต่สงฆ์
๓. สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ข้อใดข้อหนึ่ง เช่น เป็นผู้มักผลาญชีวิตสัตว์ เป็นต้น ฯ
๒. นาสนา คืออะไร ? บุคคลเช่นไรที่ทรงอนุญาตให้นาสนา ?
คือ การยังบุคคลผู้ไม่สมควรถือเพศภิกษุและสามเณร ให้สละเพศเสีย ฯ
บุคคลที่ทรงอนุญาตให้นาสนา มี ๓ ประเภท คือ
๑. ภิกษุต้องอันติมวัตถุแล้ว ยังปฏิญญาตนเป็นภิกษุ
๒. บุคคลผู้อุปสมบทไม่ขึ้น ได้รับอุปสมบทแต่สงฆ์
๓. สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ข้อใดข้อหนึ่ง เช่น เป็นผู้มักผลาญชีวิตสัตว์ เป็นต้น ฯ


{getButton} $text={พระราชบัญญัติคณะสงฆ์} $color={#009933}
๑. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ คืออะไร ?
คือ กฎหมายฉบับหนึ่งว่าด้วยคณะสงฆ์ ฯ
๒. คำว่า คณะสงฆ์ และคณะสงฆ์อื่น แห่งมาตรา ๕ ทวิ ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ หมายถึงใคร ?
คณะสงฆ์ หมายถึง บรรดาพระภิกษุที่ได้รับบรรพชาอุปสมบทจากพระอุปัชฌาย์ ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายที่ใช้บังคับก่อนพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะปฏิบัติศาสนกิจในหรือนอกราชอาณาจักร ฯ
คณะสงฆ์อื่น หมายถึง บรรดาบรรพชิตจีนนิกายหรืออนัมนิกาย ฯ
๓. ตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ วัดมีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ? และใครเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป ฯ
มี ๒ ประเภท คือ ฯ คือ
๑. วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ฯ
๒. สำนักสงฆ์ ฯ
เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป ฯ


{getButton} $text={มหาเถรสมาคม} $color={#009933}
๑. กรรมการมหาเถรสมาคมดำรงอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี ?
กรรมการมหาเถรสมาคมซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๒ ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ ฯ
๒. กรรมการมหาเถรสมาคมซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง จะพ้นจากตำแหน่งในกรณีใดบ้าง ?
จะพ้นจากตำแหน่งในกรณี ต่อไปนี้
๑. มรณภาพ
๒. พ้นจากความเป็นพระภิกษุ
๓. ลาออก
๔. พระมหากษัตริย์มีพระบรมราชโองการให้ออก ฯ
๓. องค์กรปกครองคณะสงฆ์สูงสุด คืออะไร ? มีการกำหนดองค์ประกอบไว้อย่างไร ?
คือ มหาเถรสมาคม ฯ มีการกำหนดองค์ประกอบไว้อย่างนี้ คือ
สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกไม่เกิน ๒๐ รูป ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจาก สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ หรือพระภิกษุซึ่งมีพรรษาอันสมควร และมีจริยาวัตรในพระธรรมวินัยที่เหมาะสมแก่การปกครองคณะสงฆ์ ฯ


{getButton} $text={การปกครองคณะสงฆ์} $color={#009933}
๑. ตามมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ให้จัดแบ่งเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาคไว้อย่างไร ?
แบ่งดังนี้ คือ ๑.ภาค ๒.จังหวัด ๓.อำเภอ ๔.ตำบล ส่วนจำนวนและเขตการปกครองดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม ฯ
๒. เจ้าอาวาส ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ ใครเป็นผู้แต่งตั้ง ?
สมเด็จพระสังฆราช ทรงมีพระบัญชาแต่งตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ตามมติมหาเถรสมาคม
และเจ้าคณะจังหวัด แต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ฯ
๓. เจ้าอาวาส หมายถึงใคร ? ผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ?
หมายถึง พระภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งตามกฎมหาเถรสมาคมให้เป็นพระสังฆาธิการปกครองวัดใดวัดหนึ่ง ฯ
มีคุณสมบัติ คือ ๑.มีพรรษาพ้น ๕ และ๒.เป็นผู้ทรงเกียรติคุณเป็นที่เคารพนับถือของคฤหัสถ์และบรรพชิตในถิ่นนั้นๆ ฯ


{getButton} $text={วัด} $color={#009933}
๑. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์มาตรา ๓๗ ระบุหน้าที่เจ้าอาวาสไว้กี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
ระบุไว้ ๔ อย่าง ฯ คือ
๑. บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี
๒. ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัดนั้นปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม
๓. เป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์
๔. ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล ฯ
๒. ที่วัดและที่ซึ่งขึ้นต่อวัด ตามมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มีกี่อย่าง ?
มี ๓ อย่าง ฯ คือ
๑. ที่วัด คือ ที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น
๒. ที่ธรณีสงฆ์ คือ ที่สงฆ์ซึ่งเป็นสมบัติของวัด
๓. ที่กัลปนา คือ ที่ซึ่งมีอุทิศแต่ผลประโยชน์ให้วัดหรือพระศาสนา ฯ


{getButton} $text={ศาสนสมบัติ} $color={#009933}
๑. ศาสนสมบัติ มีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ? การจะนำผลประโยชน์จากศาสนสถานสมบัติไปใช้จ่าย มีหลักเกณฑ์อย่างไร ?
มี ๒ ประเภท ฯ คือ ศาสนสมบัติกลาง และ ศาสนสมบัติวัด ฯ
มีหลักเกณฑ์อย่างนี้ คือ
๑. ศาสนสมบัติกลาง ใช้จ่ายในกิจการของสงฆ์ทั่วไปตามพระวินัยโดยอนุมัติของสงฆ์
๒. ศาสนสมบัติวัด ใช้จ่ายในกิจการของวัดนั้นๆ แต่จะนำศาสนสมบัติของวัดหนึ่งไปใช้อีกวัดหนึ่งไม่ได้ ฯ
๒. ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ และที่ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่สถานที่เช่นไร ?
ที่วัด ได้แก่ ที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น
ที่ธรณีสงฆ์ ได้แก่ ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัดนอกจากที่ตั้งวัด
ที่ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ ที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของพระศาสนา ซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง ฯ
๓. ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง จะสามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้หรือไม่ ? มีหลักปฏิบัติอย่างไร ?
จะสามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ ฯ
มีหลักปฏิบัติตามความในมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ (มาตรา ๓๔ การโอนกรรมสิทธิ์ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง ให้ กระทำได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ เว้นแต่เป็นกรณีตามวรรคสอง ฯ


{getButton} $text={บทกำหนดโทษ} $color={#009933}
๑. ผู้ใดใส่ความคณะสงฆ์หรือคณะสงฆ์อื่นอันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียหรือความแตกแยก มีโทษอย่างไร ?
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒ หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ฯ


แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า
ADVERTISMENT