สุภาษิตที่ ๔ ธรรมศึกษาชั้นเอก ระดับมัธยมศึกษา
ตัวเต็ม: ขุททกนิกาย ธรรมบท
- เรื่องอื่นๆ (ที่เกี่ยวข้อง)
ควรปฏิบัติต่อกันด้วยความปรารถนาดี คือว่ากล่าวตักเตือนกัน เมื่อเห็นคนอื่นประพฤติผิด ออกนอกลู่นอกทาง มีความประมาท เป็นไปในทางไม่ถูกไม่ควร ก็พากันช่วยชี้นำว่าตักเตือนและให้กำลังใจ ส่วนผู้ที่ถูกว่ากล่าวตักเตือนก็ควรนำข้อที่คนอื่นแนะนำตน ไปพิจารณาแล้วปรับปรุงตน ท่านกล่าวว่าผู้ที่ชี้นำชักชวนให้ผู้อื่นเป็นคนดี นับว่าเป็นการชี้ทางสววรค์ให้คนอื่น และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ผู้ชี้โทษเป็นดุจผู้บอกขุมทรัพย์ และพระองค์ก็สอนให้คบกับบุคคลนั้นไว้เป็นมิตร
การเตือนสติกัน
คือ การบอกให้ทราบถึงความไม่ถูกต้องในเรื่องนั้นๆ
การแนะนำกัน
คือ แนะนำให้มองเห็นว่าอะไรควร อะไรไม่ควร อะไรทำแล้วจึงจะเจริญ และทำอะไรถึงทำให้เกิดความเสื่อม
การห้ามปรามกัน
คือ เมื่อเห็นอีกฝ่ายกำลังประกอบกรรมชั่ว ก็พูดชี้ให้เห็นถึงทุกข์ภัยที่จะเกิดตามมาจากกระทำนั้นๆ หรือพาให้พ้นไปจากสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นการห้ามปรามเช่นกัน
สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}