สุภาษิตที่ ๓ ธรรมศึกษาชั้นเอก ระดับมัธยมศึกษา

<h1>ผู้อื่นทำความดีให้ ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน แต่ไม่สำนึกถึง (บุญคุณ) เมื่อมีกิจเกิดขึ้นในภายหลัง จะหาผู้ช่วยทำไม่ได้</h1>

{getButton} $text={ที่มาสุภาษิต}$color={#009933}
ตัวย่อ: (ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๒๙)
ตัวเต็ม: ขุททกนิกาย ชาดก เอกนิบาต


{getButton} $text={ประเด็นของสุภาษิต} $color={#009933}
- คนที่ไม่สำนึกถึงบุญคุณของคนอื่นมีลักษณะอย่างไร
- เหตุใดจึงหาคนช่วยทำกิจไม่ได้


{getButton} $text={หลักธรรมประกอบ} $color={#009933}
- บุคคลหาได้ยาก ๒
- เรื่องอื่นๆ (ที่เกี่ยวข้อง)


{getButton} $text={แนวนำมาเขียนอธิบาย} $color={#009933}
คนที่ไม่สำนึกถึงบุญคุณคนอื่น
คือ คนเนรคุณไมรู้คุณคน ท่านเรียกว่า คนอกตัญญู คือคนที่ระลึกไม่ได้ว่าใครเคยทำดี เคยช่วยเหลือเกื้อกูลตนมาก่อน นอกจากลืมเรื่องที่คนอื่นเคยทำให้แก่ตนแล้ว ยังไม่ปรารถนาจะตอบแทนความดีของผู้อื่นด้วย ซึ่งคนอกตัญญูนั้นถึงใครจะให้แผ่นดินทั้งหมดแก่เขา ก็ไม่อาจทำให้เขารู้จักรู้บุญคุณได้

เมื่อมีกิจเกิดขึ้นเหตุใดจึงหาคนช่วยไม่ได้
เพราะ คนที่ไม่รู้จักบุญคุณคนนี้ย่อมมองไม่เห็นความดีของคนอื่นว่า เขาเคยให้ข้าว ให้น้ำ ให้ที่พักอาศัย ให้เงินทองของมีค่าในเวลาที่ตนลำบาก แต่ภายหลังเมื่อตนได้ดิบได้ดี ตั้งเนื้อตั้งตัวได้หรือสุขสบายแล้ว ก็ลืมบุญคุณของคนที่เคยช่วยเหลือ ดังนั้น คนเนรคุณเช่นนี้ย่อมเป็นที่รังเกียจ ถูกติฉินนินทาของคนทั่วไปในสังคม ต่อไปเมื่อถึงคราวที่ตนลำบาก มีความจำเป็นต้องอาศัยไหว้วานคนอื่นให้ช่วยเหลือ เขาก็จะถูกคนอื่นเมินเฉยบ่ายหน้าหนี ไม่ได้รับความช่วยเหลือ หาคนที่จะช่วยเหลืองานนั้นไม่ได้

เมื่อรู้โทษของการเนรคุณควรทำอย่างไร
ก็ควรประพฤติตนให้เป็นคนกตัญญูรู้คุณ ตอบแทนบุญคุณตอบกลับ ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ทำประโยชน์ให้แก่ตน เพราะการกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี และคนดีย่อมเป็นที่ต้องการของคนทั้งโลก ใครๆก็อยากจะคบหาสมาคมกับคนดีด้วยกันทั้งนั้น



{getButton} $text={ตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม} $color={#ff0066}
<h3>ตัวอย่างการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมชั้นเอก ๓ ระดับมัธยมศึกษา</h3>

{getButton} $text={เชื่อมด้วยสุภาษิต} $color={#3daf2c}
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๑ ธ.ศ.ชั้นเอก ระดับมัธยมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๒ ธ.ศ.ชั้นเอก ระดับมัธยมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๓ ธ.ศ.ชั้นเอก ระดับมัธยมศึกษา</h3>

สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า
ADVERTISMENT