สุภาษิตที่ ๙ ธรรมศึกษาชั้นเอก ระดับมัธยมศึกษา

<h1>ผู้ใดเกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี แต่ผู้ปรารภความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้นั้น</h1>

{getButton} $text={ที่มาสุภาษิต}$color={#009933}
ตัวย่อ: (ขุ.ธ. ๑๕/๓๐)
ตัวเต็ม: ขุททกนิกาย ธรรมบท


{getButton} $text={ประเด็นของสุภาษิต} $color={#009933}
- ผู้ปรารถความเพียรมั่นคงมีลักษณะเช่นไร
- ทำไมผู้ปรารถความเพียรมีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวจึงประเสริฐกว่าผู้เกียจคร้านมีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี



{getButton} $text={หลักธรรมประกอบ} $color={#009933}
- ปธาน ๔
- ความเพียร
- เรื่องอื่นๆ (ที่เกี่ยวข้อง)


{getButton} $text={แนวนำมาเขียนอธิบาย} $color={#009933}
ผู้ปรารภความเพียรมั่นคง
คือ ผู้ที่ประกอบด้วยความเพียรในกุศลธรรม ในการประพฤติปฏิบัติธรรม เจริญกรรมฐานเพื่อดับกิเลสหลุดพ้นจากทุกข์

ผู้เกียจคร้าน
คือ ผู้ที่มีนิสัยไม่อยากจะทำงาน ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์

มีความเพียรเลว
คือ ชอบประกอบในสิ่งที่เป็นอกุศล เช่น ลักขโมย ประทุษร้าย เบียดเบียนคนและสัตว์ให้ได้รัลความลำบาก สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและคนอื่น เป็นต้น

ผู้ปรารภความเพียรมีชีวิตอยู่แค่วันเดียวดีกว่า ผู้เกียจคร้านมีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี
เพราะผู้ที่เกียจคร้านถึงจะมีชีวิตตั้งร้อยปีก็ไม่มีคุณมีประโยชน์อันใด ที่สำคัญไม่มีใครเขาต้องการ เป็นที่เมินหน้าของคนทั้งหลาย ส่วนผู้ที่มีความเพียร ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลในธรรม มีชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท แม้ว่าจะมีชีวิตอยู่แค่วันเดียวก็ประเสริฐกว่า และย่อมมีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า



{getButton} $text={ตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม} $color={#ff0066}
<h3>ตัวอย่างการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมชั้นเอก ๙ ระดับมัธยมศึกษา</h3>

{getButton} $text={เชื่อมด้วยสุภาษิต} $color={#3daf2c}
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๑ ธ.ศ.ชั้นเอก ระดับมัธยมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๒ ธ.ศ.ชั้นเอก ระดับมัธยมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๓ ธ.ศ.ชั้นเอก ระดับมัธยมศึกษา</h3>

สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}