สุภาษิตที่ ๗ ธรรมศึกษาชั้นเอก ระดับมัธยมศึกษา

<h1>ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย และเห็นการปรารภความเพียรเป็นความปลอดภัย แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุศาสนี</h1>

{getButton} $text={ที่มาสุภาษิต}$color={#009933}
ตัวย่อ: (ขุ.จริยา. ๒๒/๕๙๕)
ตัวเต็ม: ขุททกนิกาย จริยาปิฎก


{getButton} $text={ประเด็นของสุภาษิต} $color={#009933}
- ความเกียจคร้าน คืออะไร
- ความเกียจคร้านเป็นภัยอย่างไร
- ความเพียร คืออะไร
- ความเพียรเป็นความปลอดภัยอย่างไร
- ความเพียรชื่อว่าเป็นพุทธานุศาสนีอย่างไร


{getButton} $text={หลักธรรมประกอบ} $color={#009933}
- ปธาน ๔
- ความเพียร
- เรื่องอื่นๆ (ที่เกี่ยวข้อง)


{getButton} $text={แนวนำมาเขียนอธิบาย} $color={#009933}
ความเกียจคร้าน คืออะไร
คือ ความไม่อยากจะทำงานใด ๆ อยากอยู่เฉยๆ สบายๆ แต่ไม่ทำงาน หรือทำก็ทำไม่เต็มความสามารถ ทำบ้างไม่ทำบ้าง เป็นต้น

ความเกียจคร้านเป็นภัยอย่างไร
คือ ทำให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ชีวิตพบกับความล้มเหลว สุดท้ายไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ ไม่มีใครอยากให้ช่วยงานเพราะรู้อุปนิสัยของเขาว่ามีความเกียจคร้าน

ความเพียร คืออะไร
คือ ความขยัน มีความตั้งใจมั่นที่จะทำหน้าที่ของตนให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ทำให้ตนและผู้อื่นได้รับผลคือความสุขด้วยกันทั้งนั้น

ความเพียรเป็นความปลอดภัยอย่างไร
คือ ทำให้ตนสามารถพ้นทุกข์ได้ ด้วยการตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยไม่เกียจคร้าน จนสามารถบรรลุธรรมหลุดพ้นจากทุกข์ในวัฏสงสารได้

ความเพียรเป็นพุทธานุศาสนีอย่างไร
คือ พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญการกระทำความเพียร เพราะความเพียรที่กระทำแล้ว ย่อมนำพาให้ถึงความสำเร็จทุกประการ แม้พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ก็เพราะความเพียร ความเพียรจึงเป็นพุทธานุศาสนี คือคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยแท้จริง



{getButton} $text={ตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม} $color={#ff0066}
<h3>ตัวอย่างการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมชั้นเอก ๗ ระดับมัธยมศึกษา</h3>

{getButton} $text={เชื่อมด้วยสุภาษิต} $color={#3daf2c}
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๑ ธ.ศ.ชั้นเอก ระดับมัธยมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๒ ธ.ศ.ชั้นเอก ระดับมัธยมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๓ ธ.ศ.ชั้นเอก ระดับมัธยมศึกษา</h3>

สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า
ADVERTISMENT