สุภาษิตที่ ๖ ธรรมศึกษาชั้นเอก ระดับมัธยมศึกษา

<h1>ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง รู้ข้อนั้นตามเป็นจริงแล้ว ดับเสียได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง</h1>

{getButton} $text={ที่มาสุภาษิต}$color={#009933}
ตัวย่อ: (ขุ.ธ. ๒๕/๔๒)
ตัวเต็ม: ขุททกนิกาย ธรรมบท


{getButton} $text={ประเด็นของสุภาษิต} $color={#009933}
- ทำไมจึงจัดความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง
- เพราะเหตุไรสังขารจึงเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
- ดับเสียได้เป็นสุขอย่างยิ่งหมายถึงอะไร



{getButton} $text={หลักธรรมประกอบ} $color={#009933}
- ขันธ์ ๕
- เรื่องอื่นๆ (ที่เกี่ยวข้อง)


{getButton} $text={แนวนำมาเขียนอธิบาย} $color={#009933}
ทำไมความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง
เพราะว่า โรคความหิวนี้ เกิดขึ้นกับคนทุกคน เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวัน วันหนึ่งอาจเกิดความหิวหลายๆ ครั้ง เมื่อเกิดแล้วก็ต้องรักษาอยู่เป็นนิตย์ร่ำไปตลอดกาลไม่สิ้นสุด ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง

สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
สังขาร คือขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ชื่อว่าเป็นทุกอย่างยิ่ง เพราะว่าขันธ์ทั้ง ๕ นี้ตกอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ คืออนิจจัง เป็นสิ่งไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา, ทุกขังเป็นทุกข์ ไม่อาจอยู่ในสภาพเดิมได้ และอนัตตตา ไม่ใช่ของตน ไม่อยู่ในอำนาจของตนที่จะสามารถบังคับบัญชาได้ บุคคลอาศัยขันธ์เหล่านี้จึงประสบกับทุกข์ใหญ่ คือความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ตลอดถึงทุกข์ต่างๆ เช่น เสียใจ เศร้าใจ ผิดหวัง พลัดพราก เป็นต้น

ดับเสียได้จึงเป็นสุข
เมื่อรู้ว่าสังขารเป็นทุกข์ จึงรีบขวนขวายทำพระนิพพานให้เกิดขึ้น ด้วยการประพฤติปฏิบัติตนตามมรรคมีองค์ ๘ หรือไตรสิกขา จึงจะสามารถดับทุกข์ทั้งปวงได้อย่างสิ้นเชิง



{getButton} $text={ตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม} $color={#ff0066}
<h3>ตัวอย่างการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมชั้นเอก ๖ ระดับมัธยมศึกษา</h3>

{getButton} $text={เชื่อมด้วยสุภาษิต} $color={#3daf2c}
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๑ ธ.ศ.ชั้นเอก ระดับมัธยมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๒ ธ.ศ.ชั้นเอก ระดับมัธยมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๓ ธ.ศ.ชั้นเอก ระดับมัธยมศึกษา</h3>

สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า