สุภาษิตที่ ๑ ธรรมศึกษาชั้นเอก ระดับมัธยมศึกษา

<h1>ผู้หมั่นในกานงาน ไม่ประมาท เป็นผู้รอบคอบ จัดการงานเรียบร้อย จึงควรอยู่ในราชการ</h1>

{getButton} $text={ที่มาสุภาษิต}$color={#009933}
ตัวย่อ: (ขุ.ชา.มหา. ๒๘/๓๓๙)
ตัวเต็ม: ขุททกนิกาย ชาดก มหานิบาต


{getButton} $text={ประเด็นของสุภาษิต} $color={#009933}
- ผู้หมั่นในการงานมีลักษณะอย่างไร
- ไม่ประมาทเป็นผู้รอบคอบจัดการงานเรียบร้อยคืออย่างไร
- ทำไมจึงควรอยู่ในราชการ


{getButton} $text={หลักธรรมประกอบ} $color={#009933}
- สติสัมปชัญญะ
- ความไม่ประมาท
- เรื่องอื่นๆ (ที่เกี่ยวข้อง)


{getButton} $text={แนวนำมาเขียนอธิบาย} $color={#009933}
๑. ผู้หมั่นในการงาน
คือ ผู้ทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียร ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค และข้อขัดข้องอันจะเกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน ไม่ทิ้งงานให้เสียกลางคัน เป็นต้น

๒. ไม่ประมาท
คือ ทำงานด้วยความมีสติ ระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายแก่งานที่ทำ มีสติสัมปชัญญะคอยกำกับอยู่ตลอดเวลา เหตุนี้เมื่อทำงานด้วยความไม่ประมาท จึงทำให้งานออกมาประสบความสำเร็จเรียบร้อยไม่ผิดพลาด

๓. ความเป็นผู้รอบคอบ
คือ รู้รายละเอียดความสำคัญของงานที่ทำ ว่างานไหนควรที่จะทำก่อน งานไหนควรทำทีหลัง งานไหนสำคัญมาก งานไหนสำคัญน้อย แล้วไม่ปล่อยงานให้คั่งค้างเป็นดินพอกหางหมู

๔. จัดการงานให้เรียบร้อย
คือ มีความเป็นระเบียบ จัดการงานเป็นสัดส่วนสะอาดเรียบร้อยงามตา ไม่รกสกปรก

ทำไมจึงควรอยู่ในราชการ
เพราะว่า คนที่มีความขยันหมั่นเพียร ไม่ประมาทในการทำงาน เป็นผู้รอบคอบในการทำงาน และจัดการงานให้เรียบร้อย คุณสมบัติทั้ง ๔ ประการนี้เป็นคุณธรรมประจำของข้าราชการ ของผู้ที่มีหน้าที่ทำงานสนองแผ่นดิน คอยดูแลรับใช้ประชาชน ฉะนั้น จึงเหมาะควรที่จะเป็นข้าราชการ



{getButton} $text={ตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม} $color={#ff0066}
<h3>ตัวอย่างการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมชั้นเอก ระดับมัธยมศึกษา ๑</h3>

{getButton} $text={เชื่อมด้วยสุภาษิต} $color={#3daf2c}
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๑ ธ.ศ.ชั้นเอก ระดับมัธยมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๒ ธ.ศ.ชั้นเอก ระดับมัธยมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๓ ธ.ศ.ชั้นเอก ระดับมัธยมศึกษา</h3>

สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า
ADVERTISMENT