สุภาษิตที่ ๒ ธรรมศึกษาชั้นเอก ระดับประถมศึกษา

<h1>สิ่งที่รัก (อื่น) เสมอด้วยตนไม่มี,ทรัพย์ (อื่น) เสมอด้วยข้าวเปลือกไม่มี, แสงสว่าง (อื่น) เสมอด้วยปัญญาไม่มี, ฝนแล เป็นสระอย่างยิ่ง</h1>

{getButton} $text={ที่มาสุภาษิต}$color={#009933}
(สํ.ส. ๑๕/๙) = สังยุตตนิกาย สคาถวรรค


{getButton} $text={ประเด็นของสุภาษิต} $color={#009933}
- บรรดาของรักทั้หลายทำไมตนจึงชื่อว่าเป็นที่รักสูงสุด
- บรรดาทรัพย์ทั้งหลายทำไมข้าวเปลือกจึงชื่อว่ามีค่ามากที่สุด
- บรรดาแสงสว่างในโลกนี้ทำไมปัญญาชื่อว่ามีแสงสว่างยิ่งกว่าสิ่งอื่น
- ฝนทำไมจึงชื่อว่าเป็นสระอย่างยิ่ง


{getButton} $text={แนวนำมาเขียนอธิบาย} $color={#009933}
สิ่งที่รัก (อื่น) เสมอด้วยตนไม่มี
หมายความว่า ธรรมดาของสัตว์โลก แม้จะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อยู่กับสิ่งรอบข้างหรือรอบตัวมากมายหลายประการเพียงใดก็ตาม ทุกชีวิตต่างก็รักตัวกลัวตายเป็นที่สุดเหมือนกันทุกผู้ทุกนาม ตนจึงได้ชื่อว่าเป็นที่รักที่สุดของตน

ทรัพย์ (อื่น) เสมอด้วยข้าวเปลือก ไม่มี
ความหมายโดยรวมได้แก่ อาหาร เพราะมนุษย์และสัตว์ย่อมดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยอาหาร ถ้าไม่มีอาหารชีวิตก็ไม่สามารถจะดำเนินไปได้ ข้าวหรืออาหารจึงมีความสำคัญมากยิ่งกว่าทรัพย์ใดๆ มนุษย์ที่หิวกระหายย่อมสละทรัพย์อย่างอื่นเพื่อแลกกับอาหารแม้เพียงน้อยนิด สรุปแล้วขาดทรัพย์อย่างอื่นไม่ตาย แต่ถ้าขาดอาหารต้องตายแน่นอน

แสงสว่าง (อื่น) เสมอด้วยปัญญา ไม่มี
แสงสว่างทั้งหลายมีแสงสว่างจากดวงอาทิตย์เป็นต้น ย่อมสามารถส่องสว่างได้ในบางที่บางเวลาเท่านั้น และเป็นประโยชน์แก่คนที่มองเห็นได้เท่านั้น แต่สำหรับแสงแห่งปัญญาย่อมส่องสว่างได้ในทุกที่ ทุกสถาน ทุกกาล ทุกเมื่อ เป็นประโยชน์แก่คนที่มองเห็นปกติหรือแม้แต่คนที่ตาบอดด้วย และแสงแห่งปัญญานั้นยังทำให้บุคคลเห็นแจ้งในสัจธรรมของชีวิตและขจัดความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งปวงได้ เช่นปัญญาในการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย

ฝนแลเป็นสระอย่างยิ่ง
หมายความว่า บรรดาน้ำในแห่งน้ำต่างๆ เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง แม้น้ำ ทะเล มหาสมุทร เป็นต้นที่เราได้ดื่มได้กินได้ใช้สอย ล้วนได้มาจากฝนทั้งสิ้น แต่แหล่งน้ำที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ย่อมใช้ประโยชน์ได้ในขอบเขตจำกัดและมีวันที่จะเหือดแห้งไปได้ แต่น้ำที่ได้จากฝนไม่มีขอบเขตจำกัด ตกในที่ใดก็ใช้ประโยชน์ได้และไม่มีวันหมด ท่านจึงกล่าวว่า ฝนเป็นสระ (แหล่งน้ำ) อย่างยิ่ง ที่สำคัญต่อมนุษย์และสัตว์โลกทั้งปวง



{getButton} $text={ตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม} $color={#ff0066}
<h3>ตัวอย่างการเขียนอธิบายสุภาษิตกระทู้ธรรมชั้นเอก ๒</h3>

{getButton} $text={เชื่อมด้วยสุภาษิต} $color={#3daf2c}
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๑ ธ.ศ.ชั้นเอก ประถมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๒ ธ.ศ.ชั้นเอก ประถมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๓ ธ.ศ.ชั้นเอก ประถมศึกษา</h3>

สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า
ADVERTISMENT