สุภาษิตที่ ๑๐ ธรรมศึกษาชั้นเอก ระดับประถมศึกษา

<h1>ผู้ให้ของชอบใจย่อมได้ของชอบใจ, ผู้ให้ของเลิศย่อมได้ของเลิศ, ผู้ให้ของดีย่อมได้ของดี,ผู้ให้ของประเสริฐย่อมถึงฐานะอันประเสริฐ</h1>

{getButton} $text={ที่มาสุภาษิต}$color={#009933}
(องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๕๖) = อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต


{getButton} $text={ประเด็นของสุภาษิต} $color={#009933}
- ของชอบใจ ของเลิศ ของดี ของประเสริฐคือของเช่นไร
- ผู้ให้ของเช่นนั้นย่อมถึงฐานะอันประเสริฐอย่างไร


{getButton} $text={หลักธรรมประกอบ} $color={#009933}
- ทาน ๒
- เรื่องอื่นๆ (ที่เกี่ยวข้อง)


{getButton} $text={แนวนำมาเขียนอธิบาย} $color={#009933}
ของชอบใจ
คือ ของที่ผู้รับไปเขาถูกใจ ชอบใจ

ของเลิศ
คือ ให้ของที่ดีที่สุด ของที่คัดสรรแล้วอย่างดี

ของดี
คือ ของที่ใช้ประโยชน์ได้ และไม่เสียหาย

ของประเสริฐ
คือ ของที่ให้ด้วยความเต็มใจ ให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทั้งก่อนให้ กำลังให้ และหลังจากให้ไปแล้ว

ย่อมถึงฐานะอันประเสริฐ
คือเป็นผู้ไม่ตกต่ำ ไม่ตกไปในอบายภูมิ เมื่อตายไปย่อมเข้าสู่สุคติภพ มีโลกสวรรค์ เป็นต้น และเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอายุ คือมีอายุยืน ถึงพร้อมด้วยชื่อเสียง คือมียศถาบรรดาศักดิ์ เป็นต้น

ของดีเลิศ
๑. ต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ คือได้มาด้วยการประกอบการงานสุจริตไม่ผิดศีลธรรม ๒.ต้องเป็นของที่ไม่ผ่านการใช้สอย และ ๓.ต้องเป็นสิ่งของที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้รับ คือผู้รับรับไปแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ยิ่งมีประโยชน์มาก ก็ยิ่งมีอานิสงส์มาก

วัตถุอันเลิศ
คือ สิ่งของที่จะให้แก่ผู้รับไม่เป็นพิษภัยต่อเขา และเป็นของที่ยังไม่ได้ผ่านการใช้สอยหรือบริโภคมาก่อน เช่นข้าวปลาอาหาร ก็เป็นข้าวเป็นอาหารทำขึ้นเป็นครั้งแรก และเป็นของที่ได้มาในทางที่ชอบธรรม



{getButton} $text={ตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม} $color={#ff0066}
<h3>ตัวอย่างการเขียนอธิบายสุภาษิตกระทู้ธรรมชั้นเอก ๑๐</h3>

{getButton} $text={เชื่อมด้วยสุภาษิต} $color={#3daf2c}
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๑ ธ.ศ.ชั้นเอก ประถมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๒ ธ.ศ.ชั้นเอก ประถมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๓ ธ.ศ.ชั้นเอก ประถมศึกษา</h3>

สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า
ADVERTISMENT