สุภาษิตที่ ๙ ธรรมศึกษาชั้นเอก ระดับประถมศึกษา
- ทำไมผู้ให้ผ้าชื่อว่าให้ผิวพรรณ
- ทำไมผู้ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข
- ทำไมผู้ให้ประทีปชื่อว่าให้จักษุ
- เรื่องอื่นๆ (ที่เกี่ยวข้อง)
คือ การให้ การสงเคราะห์ช่วยเหลือแบ่งปันแก่กันและกัน เป็นเรื่องที่ดีงาม เป็นสิ่งที่ควรทำ เป็นการแสดงถึงความเป็นผู้มีน้ำใจมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คนที่ให้อะไรก่คนอื่นได้นั้น นับว่าเป็นคนที่น่ายกย่องนับถือ เพราะทำสิ่งที่ทำได้ยาก ต้องมีใจเสียสละจริงๆ จึงจะทำได้
ทาน แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
คือ ๑.อามิสทาน การให้วัตถุสิ่งของ เรียกว่า ทานวัตถุ เช่น อาหาร น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม สบู ยาสีฟัน ที่นอน ที่อยู่อาศัย ประทีปโคมไฟ เป็นต้น และ ๒. ธรรมทาน การให้ความรู้ ให้ข้อแนะนำในการดำเนินชีวิต เพื่อชักนำบุคคลให้เว้นจากความชั่ว ให้ทำแต่ความดี ประพฤติตนสุจริตยุติธรรม เป็นต้น
ผู้ให้ข้าว ชื่อว่าให้กำลัง
คำว่า ข้าว หมายเอาอาหารทุกชนิดที่หล่อเลี้ยงร่างกายให้เป็นอยู่ได้ เพราะหากขาดอาหารในการดำเนินชีวิตย่อมไม่อาจอยู่ได้ แต่ถ้ามีอาหารในการรับประทานชีวิตก็ดำเนินไปได้ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ เหตุนี้ผู้ให้ข้าวจึงชื่อว่า ให้กำลัง
ผู้ให้ผ้า ชื่อว่าให้ผิวพรรณ
คำว่า ผ้า ในที่นี้หมายถึงเครื่องนุ่งห่มสำหรับปกปิดอวัยวะที่ก่อให้เกิดความละอาย ป้องกันความหนาวร้อน แดด ลม ฝน อันตรายจากสัตว์ มีเหลือบ ยุง ริ้น ไร เป็นต้น เพราะเหตุป้องกันอันตรายดังกล่าวแล้ว จึงทำให้มีผิวพรรณผ่องใส มีสง่าราศรี เป็นเครื่องประดับร่างกายทำให้น่าดูน่าชมแก่ผู้พบเห็น เหตุนี้ผู้ให้ผ้าจึงชื่อว่า ให้ผิวพรรณ
ผู้ให้ยานพหนะ ชื่อว่าให้ความสุข
คำว่า ยานพาหนะ ไม่ว่าจะเป็นรถ เรือ ม้า เครื่องบิน เป็นต้น อำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางทั้งใกล้และไกล ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อย ช่วยให้ถึงที่หมายได้เร็วขึ้น ไม่ต้องลำบากในการเดินทาง มีความสะดวกสบาย เช่นนี้ผู้ให้ยานพาหนะจึงชื่อว่า ให้ความสุข
ผู้ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่าให้จักษุ
เพราะธรรมดาดวงตาของเราต้องอาศัยแสงสว่าง เช่น จากดวงอาทิตย์ แสงจากไฟฟ้า เป็นต้น จึงจะมองเห็นได้ ถ้าปราศจากแสงสว่างแล้วดวงตาก็ไม่อาจจะใช้การได้โดยเฉพาะในเวลากลางคืนหรือในที่มืด แต่ถ้าได้แสงสว่างจากประทีปหรือดวงไฟ ก็จะสามารถมองเห็นได้ แม้แต่ในที่มืดก็ทำให้มองเห็น เหตุนี้ผู้ให้ประทีปโคมไฟจึงชื่อว่า ให้จักษุ
สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}