สุภาษิตที่ ๖ ธรรมศึกษาชั้นโท ระดับมัธยมศึกษา

<h1>ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดีทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน แต่ไม่รู้สึก (คุณของเขา) ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมฉิบหาย </h1>

{getButton} $text={ที่มาสุภาษิต}$color={#009933}
(ขุ.ชา.สตฺตก ๒๗/๒๒๘) = ขุททกนิกาย ชาดก สัตตกนิบาต


{getButton} $text={ประเด็นของสุภาษิต} $color={#009933}
- ลักษณะของคนอกตัญญูเป็นเช่นไร
- ทำไมจึงเสื่อมจากประโยชน์ที่ต้องการ



{getButton} $text={หลักธรรมประกอบ} $color={#009933}
- กตัญญู
- บุคคลหาได้ยาก ๒
- เรื่องอื่นๆ (ที่เกี่ยงข้อง)


{getButton} $text={แนวนำมาเขียนอธิบาย} $color={#009933}
คนอกตัญญู
คือ ผู้ที่ระลึกไม่ได้ว่าใครเคยทำดี เคยช่วยเหลือเกื้อกูลตนมาก่อน นอกจากลืมเรื่องที่ผู้อื่นเคยทำให้แก่ตนแล้ว ยังไม่คิดจะตอบแทนความดีของผู้อื่นด้วย ดังที่ท่านกล่าวว่า แม้จะยกแผ่นดินทั้งหมดให้คนอกตัญญู ก็ทำให้เขายินดีพอใจไม่ได้

ผลของการเป็นคนอกตัญญู
คือ ย่อมเสื่อมจากประโยชน์ต่างๆ เช่น ไม่มีใครอยากจะคบหา ยามทุกข์เดือดร้อนก็ไม่มีผู้ช่วยเหลือ เป็นที่ติฉินนินทาของคนอื่น เป็นต้น เพราะคนอื่นไม่อาจจะไว้ใจอุปนิสัยของเขาได้

ผลของการเป็นคนกตัญญูรู้คุณ
คือ ผลของการเป็นคนกตัญญูรู้คุณคนมีมากมาย เช่น ใครๆ ก็อยากจะคบหาไว้เป็นมิตร ยามเดือดร้อนก็มีคนช่วยเหลือ เพราะคนอื่นเขามั่นใจได้ว่า หากทำดีทำประโยชน์กับคนกตัญญูรู้คุณแล้วย่อมไม่สูญเปล่าอย่างแน่นอน



{getButton} $text={ตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม} $color={#ff0066}
<h3>ตัวอย่างการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมชั้นโท ๖</h3>


{getButton} $text={ให้เชื่อมด้วยสุภาษิต} $color={#0099ff}
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๑ ธ.ศ.ชั้นโท มัธยมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๒ ธ.ศ.ชั้นโท มัธยมศึกษา</h3>

สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า