สุภาษิตที่ ๒ ธรรมศึกษาชั้นโท ระดับประถมศึกษา

<h1>ขันติย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น...</h1>

{getButton} $text={ที่มาสุภาษิต}$color={#009933}
(สํ.ม. ๒๒๒) = หนังสือสวดมนต์ฉบับหลวง


{getButton} $text={ประเด็นของสุภาษิต} $color={#009933}
- ขันติ คืออะไร
- ขันติตัดรากบาปได้อย่างไร
- ผู้มีขันติขุดรากแห่งความติเตียนและการทะเลาะกันได้อย่างไร


{getButton} $text={หลักธรรมประกอบ} $color={#009933}
- ธรรมอันทำให้งาม ๒
- กุศลมูลและอกุศลมูล ๓
- ปธาน ๔
- เรื่องอื่นๆ (ที่เกี่ยวข้อง)


{getButton} $text={แนวนำมาเขียนอธิบาย} $color={#009933}
ขันติ คืออะไร
ขันติ คือ ความอดทน อดกลั้นต่อสิ่งที่มากระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่แสดงอาการทุกข์ร้อน ความโกรธ ความไม่พอใจหรือฉุนเฉียวออกมาให้เห็น จัดตามเหตุที่ควรอดทนเป็น ๔ ประเภทคือ

๑. อดทนต่อความยากลำบากตรากตรำ
คือ ความอดทนต่อความทุกข์ยากลำบากในการทำงานอันเป็นสัมมาอาชีพ ในการศึกษาเล่าเรีบยน ไม่แสดงอาการท้อแท้เหนื่อยหน่าย เช่น ทนร้อน ทนหนาว ทรหิวกระหายเป็น

๒. อดทนต่อทุกขเวทนา
คือ อดทนต่อความเจ็บป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บทางกาย ไม่แสดงอาการทุรนทุรายจนเกินเหตุ

๓. อดททนต่อความเจ็บใจ
คือ อดทนต่อการทำล่วงเกินของคนอื่น เช่น อดทนต่อคำด่า คำเสียดสี หรือทนต่ออารมณ์ที่ทำให้เกิดความเจ็บใจต่างๆ

๔. อดทนต่ออำนาจของกิเลส
คือ อดทนต่ออารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามายั่วยวนให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลงทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันจะนำไปสู่การกระทำที่ผิดศีลธรรม

ขันติตัดรากบาปได้อย่างไร
คือ ผู้ที่มีความอดทนอดกลั้นต่ออำนาจกิเลส ย่อมตัดรากถอนโคนบาปคืออกุศลทั้ง ๓ มีโลภะ ความโลภอยากได้ของผู้อื่น โทสะ ความคิดประทุษร้าย และโมหะ ความหลงงมงายอันเป็นเหตุให้เข้าใจผิด รู้ผิดได้ เพราะเมื่อฝึกความอดทนจนเกิดมีในตนแล้ว แม้ว่าจะเกิดความโลภ โกรธ หลง ก็อดกลั้นใจไม่ให้ทำตามอำนาจของบาปธรรมเหล่านั้นได้

ผู้มีขันติขุดรากแห่งความติเตียนและการทะเลาะกันได้อย่างไร
คนที่มีขันติเพราะอดทนต่อการไม่ทำชั่วทางกาย วาจา ใจ จึงได้รับอานิสงส์คือ ตนเองก็ตำหนิติเตียนตนเองไม่ได้ และย่อมไม่คิดก่อเวรก่อภัยกับใคร ทำให้การทะเลาะวิวาทอันเกิดจากความโกรธก็ไม่มี รวมความว่า ผู้มีความอดทนย่อมตักรากของอกุศลมูล คำติเตียนทั้งจากตนและผู้อื่น การทะเลาะวิวาทกับคนอื่นได้



{getButton} $text={ตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม} $color={#ff0066}
<h3>ตัวอย่างการเขียนอธิบายสุภาษิตที่ ๒ ธ.ศ.ชั้นโท</h3>


{getButton} $text={ให้เชื่อมด้วยสุภาษิต} $color={#0099ff}
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๑ ธ.ศ.ชั้นโท ประถมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๒ ธ.ศ.ชั้นโท ประถมศึกษา</h3>

สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า
ADVERTISMENT