สุภาษิตที่ ๑ ธรรมศึกษาชั้นโท ระดับประถมศึกษา

<h1>ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น</h1>

{getButton} $text={ที่มาสุภาษิต}$color={#009933}
(สํ.ม. ๒๒๒) = หนังสือสวดมนต์ฉบับหลวง


{getButton} $text={ประเด็นของสุภาษิต} $color={#009933}
- ความหมายของขันติคืออะไร
- ทำไมคนมีขันติจึงนำประโยชน์มาให้ตนและผู้อื่น
- ผู้มีขันติขึ้นสู่ไปทางสวรรค์และนิพพานอย่างไร


{getButton} $text={หลักธรรมประกอบ} $color={#009933}
- ธรรมอันทำให้งาม ๒
- กุศลมูลและอกุศลมูล ๓
- ปธาน ๔


{getButton} $text={แนวนำมาเขียนอธิบาย} $color={#009933}
ความหมายของขันติคืออะไร
ขันติ คือ ความอดทน อดกลั้นต่อสิ่งที่มากระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่แสดงอาการทุกข์ร้อน ความโกรธ ความไม่พอใจหรือฉุนเฉียวออกมาให้เห็น จัดตามเหตุที่ควรอดทนเป็น ๔ ประเภทคือ

๑. อดทนต่อความยากลำบากตรากตรำ
คือ ความอดทนต่อความทุกข์ยากลำบากในการทำงานอันเป็นสัมมาอาชีพ ในการศึกษาเล่าเรีบยน ไม่แสดงอาการท้อแท้เหนื่อยหน่าย เช่น ทนร้อน ทนหนาว ทรหิวกระหายเป็น

๒. อดทนต่อทุกขเวทนา
คือ อดทนต่อความเจ็บป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บทางกาย ไม่แสดงอาการทุรนทุรายจนเกินเหตุ

๓. อดททนต่อความเจ็บใจ
คือ อดทนต่อการทำล่วงเกินของคนอื่น เช่น อดทนต่อคำด่า คำเสียดสี หรือทนต่ออารมณ์ที่ทำให้เกิดความเจ็บใจต่างๆ

๔. อดทนต่ออำนาจของกิเลส
คือ อดทนต่ออารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามายั่วยวนให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลงทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันจะนำไปสู่การกระทำที่ผิดศีลธรรม

ผู้มีขันติชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์
เพราะคนที่มีความอดทนต่อสิ่งต่างๆ ที่มากระทบได้ ย่อมไม่ก่อเวรก่อภัยกับใคร

ผู้มีขันติชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางนิพพาน
เพราะความอดทนนี้เป็นตบะ คือความเพียรเครื่องเผากิเลส กล่าวคือเพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรให้กุศลเกิดมีขึ้น และเพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญต่อไป เมื่อมีความอดทนเช่นนี้ย่อมเป็นหนทางไปสู่พระนิพพาน



{getButton} $text={ตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม} $color={#ff0066}
<h3>ตัวอย่างการเขียนอธิบายสุภาษิตธรรมศึกษาชั้นโท ๑</h3>


{getButton} $text={ให้เชื่อมด้วยสุภาษิต} $color={#0099ff}
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๑ ธ.ศ.ชั้นโท ประถมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๒ ธ.ศ.ชั้นโท ประถมศึกษา</h3>

สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า
ADVERTISMENT