สุภาษิตที่ ๑๐ ธรรมศึกษาชั้นโท ระดับประถมศึกษา

<h1>คบคนเช่นใดเป็นมิตร และสมคบคนเช่นใด เขาก็เป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น</h1>

{getButton} $text={ที่มาสุภาษิต}$color={#009933}
(ขุ.ชา.วีส. ๒๗/๔๓๗) = ขุททกนิกาย ชาดก วีสตินิบาต


{getButton} $text={ประเด็นของสุภาษิต} $color={#009933}
- คบคนเช่นใดไว้เป็นมิตรก็ย่อมมีนิสัยเป็นอย่างนั้น
- เราควรคบคนเช่นใดไว้เป็นมิตร
- มิตรเช่นใดควรคบและไม่ควรคบ


{getButton} $text={หลักธรรมประกอบ} $color={#009933}
- มิตรแท้ ๔
- มิตรเทียม ๔
- เรื่องอื่นๆ (ที่เกี่ยงข้อง)


{getButton} $text={แนวนำมาเขียนอธิบาย} $color={#009933}
การคบ หมายถึงอย่างไร
การคบ หมายถึง การไปมาหาสู่กัน การอยู่ร่วมกัน

การสมคบ หมายถึงอย่างไร
การสมคบ หมายถึง การร่วมกันคิด ร่วมกันปรึกษาหารือ ไม่ว่าจะเป็นการคบหรือสมาคมล้วนมีความสำคัญต่อการตัดสินใจที่จะเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นทั้งสิ้น เป็นต้น

มิตร เป็นเช่นไร
มิตร หมายถึง บุคคลที่มีความสนิทชิดเชื้อ คนที่ต้องการความสุขที่ยั่งยืนต้องเว้นจากการคบมิตรที่ชั่ว เพราะมิตรที่ชั่วไม่อาจนับได้ว่าเป็นมิตร เป็นแต่คนเทียมมิตรเท่านั้น ซึ่งมีลักษณะคือ เป็นคนมีนิสัยชอบปอกลอก ดีแต่พูด เป็นคนหัวประจบ และชอบชักชวนไปในทางเสียหาย

ผลของการคบคนดี
เป็นเหตุนำความสุขความเจริญมาให้ เพราะคนดีมีคุณธรรมมักจะแนะนำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ชักนำไปในทางเสียหาย ซึ่งหากเราทำตามคำที่ท่านบอกกล่าวชีวิตก็จะพบกับความสุขทั้งในปัจจุบันโลกและในสัมปรายภพ ตายไปก็เข้าสู่สุคติ

เหตุที่สอนไม่ให้คบคนพาล
๑) ชอบแนะนำไปในทางที่ไม่ควร คือชักจูงชักชวนไปในทางที่จะเกิดแต่ความเสียหาย
๒) ชอบยุ่งไม่เข้าเรื่อง คือมักแส่เข้าไปยุ่งแต่เรื่องของคนอื่น
๓) ชอบนำไปในทางผิด คือเมื่อชักจูงเขาได้แล้วก็จะเป็นผู้นำในการทำความผิดเอง ผู้หลงเชื่อก็จะกลายเป็นลูกมือในการกระทำความผิดนั้นๆ
๔) ชอบอวดดื้อถือดี คือเป็นคนว่ายากสอนยากและไร้เหตุผล แม้จะพูดบอกดีๆ ก็โกรธไม่ยอมรับฟัง
๕) ชอบขาดระเบียบวินัย คือเป็นคนเอาแต่ใจตัวเอง

บัณฑิตให้เลือกคบสัตบุรุษ
เพราะสัตบุรุษนั้นจะทำ พูด คิดอะไรก็ล้วนแล้วเป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น เมื่อตัวเขามีความประพฤติเช่นนี้เวลาจะแนะนำบุคคลอื่นเขาก็จะถ่ายแต่สิ่งที่ดีๆให้เสมอ จะไม่แนะนำไปในทางที่เสียหาย คนที่คบกับสัตบุรุษคือคนดีจึงมีโอกาสที่จะได้ดีตาม เพราะถ้าทำตามที่คนดีสั่งสอนก็ย่อมประสบความสำเร็จในชีวิต หลังจากตายไปก็ไม่ต้องเดือดร้อนเพราะผลกรรม เป็นต้น



{getButton} $text={ตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม} $color={#ff0066}
<h3>ตัวอย่างการเขียนอธิบายสุภาษิตกระทู้ธรรมชั้นโท ๑๐</h3>


{getButton} $text={ให้เชื่อมด้วยสุภาษิต} $color={#0099ff}
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๑ ธ.ศ.ชั้นโท ประถมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๒ ธ.ศ.ชั้นโท ประถมศึกษา</h3>

สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า