สุภาษิตที่ ๑๐ ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับประถมศึกษา

<h1>สติมา สุขเมธติ คนมีสติ ย่อมได้รับความสุข</h1>

{getButton} $text={ที่มาสุภาษิต}$color={#009933}
(สํ.ส. ๑๕/๓๐๖) = สังยุตตนิกาย สคาถวรรค


{getButton} $text={ประเด็นของสุภาษิต} $color={#009933}
- สติ คืออะไร
- คนผู้มีสติ คืออย่างไร
- คนมีสติย่อมได้รับความสุขอย่างไร


{getButton} $text={หลักธรรมประกอบ} $color={#009933}
- ธรรมมีอุปการะมาก ๒
- ความไม่ประมาท
- เรื่องอื่นๆ (ที่เกี่ยวข้อง)


{getButton} $text={แนวนำมาเขียนอธิบาย} $color={#009933}
สติ คืออะไร
สติ คือ ความระลึกได้ หมายถึง ความระลึกนึกขึ้นได้ ฉุกคิดขึ้นได้ถึงสิ่งที่ทำ พูด คิด เป็นอาการที่จิตไม่หลงลืม มีใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำอยู่ตลอดเวลา

หน้าที่ของสติ คือ จดจำสิ่งต่างๆ ได้ไม่ลืมหลง และกำจัดความประมาท

สติสามารถระลึกได้ ๓ กาล
๑.ระลึกถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว เช่น ระลึกถึงการงานที่ทำ ถ้อยคำที่พูดแล้วได้
๒.ระลึกถึงสิ่งที่เป็นปัจจุบันได้ เช่นระลึกถึงการงานที่กระทำอยู่ หรือกำหนดระลึกถึงลมหายใจเข้าออก
๓.ระลึกถึงสิ่งอันมีขึ้นในภายหน้า เช่นระลึกถึงความตายอันจะมีแก่ตนในภายข้างหน้า

สติ มีลักษณะให้รู้ได้ ๒ อย่าง
๑.การเตือนใจ คือสติจะค่อยเตือนใจว่า สิ่นนั้นดี สิ่งนั้นไม่ดี สิ่งมีประโยชน์ สิ่งนั้นไม่มีประโยชน์
๒.การรับเอาแต่สิ่งที่ดี คือสติจะค่อยเตือนใจให้รับเอาแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์เท่านั้นเข้ามาสู่ชีวิตของตน

คนผู้สติย่อมได้รับความสุขอย่างไร
เพราะว่าคนมีสติ ระลึกได้ไม่ว่าจะทำ จะพูด จะคิด ก็มีสติควบคุมไม่ให้ผิดพลาด และทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นบุญกุศลแก่ตนเอง คนมีสติจึงชื่อว่า ได้รับความสุข



{getButton} $text={ตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม} $color={#ff0066}
<h3>ตัวอย่างการเขียนอธิบายสุภาษิตกระทู้ธรรมชั้นตรี ๑๐</h3>

สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า