๑. | อุโบสถ แปลว่าอะไร ก. การจำพรรษา ข. การเข้าจำ ค. การจำศีล ง. การจำวัตร |
๒. | อุโบสถศีล หมายถึงศีลอะไร ก. ศีล ๕ ข. ศีล ๘ ค. ศีล ๑๐ ง. ศีล ๒๒๗ |
๓. | ผู้รักษาอุโบสถศีล พึงปฏิบัติตนอย่างไร ก. ดูหนัง ข. ฟังเพลง ค. ฟังเทศน์ ง. เล่นดนตรี |
๔. | ข้อใดไม่ตรงกับวันในปฏิชาครอุโบสถ ก. วันรับ ข. วันส่ง ค. วันรักษา ง. วันลา |
๕. | ขั้นตอนใดทำต่อจากการประกาศอุโบสถ ก. บูชาพระรัตนตรัย ข. อาราธนาศีล ค. รับสรณคมน์ ง. สมาทานศีล |
๖. | ศีลทำให้เกิดความเรียบร้อยทางวาจา ตรงกับข้อใด ก. คิดดี ข. พูดดี ค. ทำดี ง. ใจดี |
๗. | อชฺชโภนฺโต ปกฺขสฺส เป็นคำอะไร ก. บูชาพระ ข. อาราธนา ค. ประกาศ ง. สมาทาน |
๘. | ที่พึ่งสูงสุดของชาวพุทธ คือข้อใด ก. พระคัมภีร์ ข. พระสงฆ์ ค. พระไตรปิฎก ง. พระรัตนตรัย |
๙. | ข้อใดเป็นสาเหตุแห่งการขาดสรณะคมน์ ก. ทำลายเจดีย์ ข. ตัดเศียรพระ ค. เผาตำรา ง. ตาย |
๑๐. | ยุยงให้พระสงฆ์แตกแยกกัน เป็นความเศร้าหมองในด้านใด ก. ความไม่รู้ ข. ความรู้ผิด ค. ความสงสัย ง. ความไม่เอื้อเฟื้อ |
๑๑. | ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส กล่าวสรรเสริญคุณของใคร ก. พระพุทธ ข. พระธรรม ค. พระสงฆ์ ง. พระไตรปิฎำ |
๑๒. | โลกวิทู กล่าวสรรเสริญคุณของใคร ก. พระพุทธเจ้า ข. พระธรรม ค. พระสงฆ์ ง. พระอรหันต์ำ |
๑๓. | สรณะ มีความหมายว่ากำจัดสิ่งใด ก. ภัย ข. โรค ค. ศัตรู ง. คู่แข่ง |
๑๔. | สรณคมน์ หมายถึงการยอมรับสิ่งใดเป็นที่พึ่ง ก. ไตรรัตน์ ข. ไตรสิกขา ค. ไตรปิฎก ง. ไตรลักษณ์ |
๑๕. | ความเชื่อเช่นไร เป็นเหตุให้สรณคมน์เศร้าหมอง ก. กรรม ข. บาป ค. บุญ ง. โชคลาง |
๑๖. | ผู้สมาทานรักษาศีลอุโบสถ พึงงดเว้นเรื่องใด ก. เล่าชาดก ข. ฟังเทศน์ ค. ฟังเพลง ง. สวดมนต์ |
๑๗. | สถานที่ใดไม่เหมาะสมเพื่อเข้าจำอุโบสถ ก. วัด ข. ถ้ำ ค. ป่าช้า ง. บ่อน |
๑๘. | อุโบสถใดกำหนดให้รักษาตลอดวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ก. ปฏิชาครอุโบสถ ข. ปกติอุโบสถ ค. ปฏิหาริยอุโบสถ ง. อริยอุโบสถ |
๑๙. | การรักษาศีลอุโบสถ ถือเรื่องใดเป็นสำคัญ ก. อาหาร ข. เสื้อผ้า ค. ค่ารถ ง. จิตใจ |
๒๐. | วันอัฎฐมีในคำประกาศอุโบสถ หมายถึงวันกี่ค่ำ ก. ๗ ค่ำ ข. ๘ ค่ำ ค. ๑๔ ค่ำ ง. ๑๕ ค่ำ |
๒๑. | องค์ที่ทำให้อุโบสถศีลข้อปาณาติบาตขาด คือข้อใด ก. สัตว์มีชีวิต ข. รู้ว่าสัตว์มีชีวิต ค. จิตคิดจะฆ่า ง. สัตว์ตาย |
๒๒. | ปาณะในอุโบสถศีลข้อที่ ๑ หมายถึงอะไร ก. สัตว์มีชีวิต ข. สิ่งของ ค. เครื่องประดับ ง. เตียงตั่ง |
๒๓. | อุโบสถศีลข้อที่ ๑ ห้ามทำเรื่องใด ก. ฆ่าสัตว์ ข. ลักทรัพย์ ค. พูดเท็จ ง. ร้องเพลง |
๒๔. | อุโบสถศีลข้อใดสอนให้เห็นความสำคัญในทรัพย์สิน ก. ข้อที่ ๒ ข. ข้อที่ ๓ ค. ข้อที่ ๗ ง. ข้อที่ ๘ |
๒๕. | ข้อใดเป็นองค์ของอุโบสถศีลข้ออทินนาทาน ก. พยายามฆ่า ข. พยายามลัก ค. พยายามกลืน ง. พยายามดื่ม |
๒๖. | อุโบสถศีลข้อใดขาดเพราะใช้ให้ผู้อื่นทำ ก. ข้อที่ ๒ ข. ข้อที่ ๓ ค. ข้อที่ ๔ ง. ข้อที่ ๕ |
๒๗. | ข้อใดไม่ใช่องค์ของอุโบสถศีลข้ออทินนาทาน ก. ของมีเจ้าของ ข. จิตคิดจะลัก ค. พยายามลัก ง. จิตคิดจะเสพ |
๒๘. | อุโบสถศีลข้อใดห้ามล่วงละเมิดทรัพย์สินของคนอื่น ก. ข้อที่ ๒ ข. ข้อที่ ๔ ค. ข้อที่ ๖ ง. ข้อที่ ๘ |
๒๙. | ผู้รักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๓ ห้ามเรื่องใด ก. เสพกาม ข. พูดโกหก ค. ดื่มสุรา ง. ฟ้อนรำ |
๓๐. | ข้อใดเป็นองค์ของอุโบสถศีลข้อที่ ๓ ก. จิตคิดจะฆ่า ข. จิตคิดจะลัก ค. จิตคิดจะเสพ ง. จิตคิดจะดื่ม |
๓๑. | อุโบสถศีลข้อที่ ๓ ขาดลงเพราะประพฤติผิดทางใด ก. กาย ข. วาจา ค. ใจ ง. วาจา ใจ |
๓๒. | การไม่ประพฤติล่วงอสัทธรรม ตรงกับอุโบสถศีลข้อใด ก. ข้อที่ ๓ ข. ข้อที่ ๔ ค. ข้อที่ ๕ ง. ข้อที่ ๖ |
๓๓. | ผู้รักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๔ ไม่พึงสนทนากันเรื่องใด ก. ศีลธรรม ข. บุญบาป ค. ผลกรรม ง. ดวงชะตา |
๓๔. | อุโบสถศีลข้อที่ ๔ บัญญัติขึ้นเพื่อให้ระมัดระวังเรื่องใด ก. การพูด ข. การกิน ค. การแต่งตัว ง. การนอน |
๓๕. | อุโบสถศีลข้อใดขาดเพราะประพฤติผิดทางวาจา ก. ข้อที่ ๔ ข. ข้อที่ ๕ ค. ข้อที่ ๖ ง. ข้อที่ ๗ |
๓๖. | ข้อใเป็นองค์แห่งมุสาวาท ก. สัตว์มีชีวิต ข. เรื่องไม่จริง ค. พยายามดื่ม ง. ดูหรือฟัง |
๓๗. | เหตุแห่งความประมาทในอุโบสถศีลข้อที่ ๕ คือข้อใด ก. ฆ่าสัตว์ ข. ลักทรัพย์ ค. พูดปด ง. ดื่มน้ำเมา |
๓๘. | องค์ที่ทำให้อุโบสถศีลข้อที่ ๕ ขาด คือข้อใด ก. น้ำเมา ข. จิตคิดจะดื่ม ค. พยายามดื่ม ง. ดื่มล่วงลำคอ |
๓๙. | ที่นอนประเภทใดอนุญาตสำหรับผู้รักษาศีลอุโบสถ ก. ที่นอนยัดสำลี ข. ที่นอนยัดนุ่น ค. ที่นอนยัดใบไม้ ง. ที่นอนยัดขนแกะ |
๔๐. | หลังเที่ยงวันในอุโบสถศีลข้อที่ ๖ เรียกว่าอะไร ก. กาล ข. วิกาล ค. ยุค ง. สมัย |
๔๑. | อุโบสถศีลข้อที่ ๖ ควรรับประทานอาหารในเวลาใด ก. เช้าถึงเที่ยง ข. หลังเที่ยง ค. บ่ายถึงเย็น ง. กลางคืน |
๔๒. | อุโบสถศีลข้อที่ ๖ บัญญัติไว้เพื่อตัดความกังวลเรื่องใด ก. พูด ข. กิน ค. นั่ง ง. นอน |
๔๓. | ข้อใดเป็นองค์แห่งอุโบสถศีข้อที่ ๖ ก. สัตว์ตาย ข. เรื่องไม่จริง ค. กลืนกิน ง. ดูการละเล่น |
๔๔. | อุโบสถศีลข้อที่ ๗ บัญญัติไว้เพื่อตัดความกังวลเรื่องใด ก. สนทนา ข. อาหาร ค. แต่งตัว ง. ที่นอน |
๔๕. | ข้อใดเป็นองค์ของอุโบสถศีลข้อที่ ๗ ก. ของมึนเมา ข. กลืนกิน ค. ดูหรือฟัง ง. ที่นอนสูง |
๔๖. | ข้อใดเป็นข้าศึกต่อการรักษาศีลข้อที่ ๗ ก. สวดมนต์ ข. ให้พร ค. สอนธรรม ง. ฟ้อนรำ |
๔๗. | คำว่า คีตะ ในอุโบสถศีลข้อที่ ๗ หมายถึงอะไร ก. ฟ้อนรำ ข. ขับร้อง ค. ประโคม ง. ประดับ |
๔๘. | การทัดทรงดอกไม้ เป็นข้อห้ามในอุโบสถศีลข้อใด ก. ข้อที่ ๕ ข. ข้อที่ ๖ ค. ข้อที่ ๗ ง. ข้อที่ ๘ |
๔๙. | อุโบสถศีลข้อที่ ๘ เกี่ยวข้องกับกิริยาบถใด ก. ยืน ข. เดิน ค. นั่ง ง. วิ่ง |
๕๐. | ผู้รักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๘ ขาดเพราะทำเรื่องใด ก. ยืนบนโต๊ะ ข. เดินบนเตียง ค. นั่งบนตั่งสูง ง. นอนบนผ้าขาว |