เก็งข้อสอบวิชาธรรมวิจารณ์ ธ.ศ.ชั้นเอก (ชุดที่ ๑)
๑. | นิพพิทา มีความหมายตรงกับข้อใด ก. ความดับทุกข์ ข. ความหน่ายในทุกข์ ค. ความหน่ายในอัตภาพ ง. ความหน่ายในอาหาร |
๒. | สู่ทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ คำว่า สู่ทั้งหลาย หมายถึงใคร ก. หมู่สัตว์ ข. หมู่พุทธบริษัท ค. หมู่ฆราวาส ง. หมู่พระภิกษุ |
๓. | พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ คำว่า ผู้รู้ หมายถึงใคร ก. คนมีการศึกษา ข. คนมีวิสัยทัศน์ ค. คนมีสติ ง. คนเห็นโลกตามจริง |
๔. | ผู้ข้องอยู่ในโลก มีอาการเช่นใด ก. ติดสิ่งล่อใจ ข. ติดข่าวสาร ค. ติดสิ่งเสพติด ง. ติดเพื่อน |
๕. | รูป เสียง กลิ่น รส ที่น่าปรารถนา จัดเป็นอะไร ก. กิเลสกาม ข. วัตถุกาม ค. มาร ง. กิเลสตัณหา |
๖. | เสียงประเภทใด จัดเป็นบ่วงแห่งมาร ก. เสียงสรรเสริญ ข. เสียงผรุสวาท ค. เสียงนินทา ง. เสียงมุสวาท |
๗. | การสำรวมอินทรีย์ ต้องเริ่มที่ใคร ก. พระสงฆ์ ข. ครูอาจารย์ ค. ตนเอง ง. นักเรียน |
๘. | เห็นสังขารอย่างไร จึงหน่ายในทุกข์ ก. เห็นด้วยตา ข. เห็นด้วยสมาธิ ค. เห็นด้วยปัญญา ง. เห็นด้วยฌาน |
๙. | อนิจฺจตา กำหนดรู้ได้ด้วยอาการอย่างไร ก. เกิดขึ้นแล้วดับไป ข. ไม่อยู่ในอำนาจ ค. ทนได้ยาก ง. เป็นสภาพคงที่ |
๑๐. | ทุกฺขตา มีลักษณะเช่นไร ก. หาเจ้าของมิได้ ข. ไม่ใช่ตัวตน ค. ไม่เที่ยง ง. ทนได้ยาก |
๑๑. | ข้อใดจัดเป็นทุกข์ประจำสังขาร ก. เกิด แก่ ตาย ข. โศกเศร้า ค. หิวกระหาย ง. เจ็บไข้ |
๑๒. | ปกิณณกทุกข์ ได้แก่ข้อใด ก. เกิด แก่ ตาย ข. เสียใจ ค. หนาวร้อน ง. เจ็บไข้ |
๑๓. | ข้อใดจัดเป็นนิพัทธทุกข์ ก. กังวลใจ ข. กลัวแพ้คดี ค. คับแค้นใจ ง. ปวดปัสสาวะ |
๑๔. | ข้อใดจัดเป็นสันตาปทุกข์ ก. ถูกแดดเผา ข. ถูกกิเลสเผา ค. ถูกไฟเผา ง. ถูกความหิวเผา |
๑๕. | ข้อใดจัดเป็นวิปากทุกข์ ก. ค้าความ ข. แจ้งความ ค. กลัวแพ้คดี ง. ถูกจองจำ |
๑๖. | เสื่อมยศ จัดเข้าในทุกข์ประเภทใด ก. สันตาปทุกข์ ข. นิพัทธทุกข์ ค. สหคตทุกข์ ง. วิวาทมูลกทุกข์ |
๑๗. | อนัตตลักษณะ ตรงกับข้อใด ก. ไม่อยู่ในอำนาจ ข. หาเจ้าของมิได้ ค. แย้งต่ออัตตา ง. ถูกทุกข้อ |
๑๘. | การไม่เห็นสังขารเป็นอนัตตา เพราะอะไรปิดบังไว้ ก. นิจจสัญญา ข. ฆนสัญญา ค. สันตติ ง. อิริยาบถ |
๑๙. | เห็นสังขารเป็นอนัตตา มีประโยชน์อย่างไร ก. ละความอยาก ข. ละความถือมั่น ค. ละความโกรธ ง. ละความโลภ |
๒๐. | วิราคะ ตรงกับข้อใด ก. สิ้นกิลเส ข. สิ้นวัฎฎะ ค. สิ้นอาลัย ง. สิ้นกำหนัด |
๒๑. | คำว่า ธรรมยังความเมาให้สร่างนั้น หมายถึงเมาในอะไร ก. ลาภยศสรรเสริญ ข. สุราเมรัย ค. ความรัก ง. สิ่งเสพติดให้โทษ |
๒๒. | ข้อใดไม่ใช่ไวพจน์แห่งวิราคะ ก. นิพพาน ข. นิโรธ ค. อโลภะ ง. ตัณหักขยะ |
๒๓. | เพราะสิ้นกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้นจากอะไร ก. ตัณหา ข. อาสวะ ค. ราคะ ง. นิวรณ์ |
๒๔. | วิมุตติข้อใด จัดเป็นโลกิยะ ก. ตทังควิมุตติ ข. สมุจเฉทวิมุตติ ค. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ง. นิสสรณวิมุตติ |
๒๕. | วิมุตติข้อใ จัดเป็นโลกุตตระ ก. สมุจเฉทวิมุตติ ข. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ค. นิสสรณวิมุตติ ง. ถูกทุกข้อ |
๒๖. | หลุดพ้นด้วยอริยมรรค จัดเป็นวิมุตติใด ก. ตทังควิมุตติ ข. สมุจเฉทวิมุตติ ค. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ง. นิสสรณวิมุตติ |
๒๗. | พิจารณาเห็นสังขารเป็นทุกข์ จัดเป็นญาณใด ก. อาทีนวญาณ ข. อุทยัพพยญาณ ค. ภยตูปัฎฐานญาณ ง. นิพพิทาญาณ |
๒๘. | พิจารณาเห็นสังขารอย่างไร จัดเป็นภยตูปัฎฐานญาณ ก. เห็นเป็นทุกข์ ข. เห็นเป็นของย่อยยับ ค. เห็นความเกิดดับ ง. เห็นเป็นของน่ากลัว |
๒๙. | อริยมรรคข้อใดจัดเข้าในสีลวิสุทธิ ก. สัมมาวาจา ข. สัมมาวายามะ ค. สัมมาสติ ง. สัมมาสมาธิ |
๓๐. | อริยมรรคข้อใดจัดเข้าในจิตตวิสุทธิ ก. สัมมาวาจา ข. สัมมากัมมันตะ ค. สัมมาอาชีวะ ง. สัมมาวายามะ |
๓๑. | พิจารณาเห็นสังขารเป็นไตรลักษณ์ จัดเป็นวิสุทธิใด ก. สีลวิสุทธิ ข. จิตตวิสุทธิ ค. ทิฎฐิวิสุทธิ ง. กังขาวิตรณวิสุทธิ |
๓๒. | ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามความสงสัย จัดเป็นวิสุทธิใด ก. สีลวิสุทธิ ข. จิตตวิสุทธิ ค. ทิฎฐิวิสุทธิ ง. กังขาวิตรณวิสุทธิ |
๓๓. | สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบย่อมไม่มี หมายถึงสงบจากอะไร ก. เวรภัย ข. กิเลส ค. ความวุ่นวาย ง. สงคราม |
๓๔. | ผู้เพ่งความสงบพึงละโลกามิสเสีย คำว่า โลกามิส หมายถึงอะไร ก. กามคุณ ข. กามกิเลส ค. กามฉันทะ ง. กามราคะ |
๓๕. | ข้อใดทำให้เกิดสันติภายนอก ก. ให้ทาน ข. รักษาศีล ค. เจริญภาวนา ง. เจริญเมตตา |
๓๖. | จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คืออะไร ก. เกิดในสวรรค์ ข. เกิดในพรหมโลก ค. เข้าถึงนิพพาน ง. เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า |
๓๗. | บาลีว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยืนยันนิพพานว่า ก. เป็นอนัตตา ข. เป็นอัตตา ค. เป็นสภาวะสูญ ง. เป็นสภาวะเที่ยง |
๓๘. | ปฏิบัติอย่างไรชื่อว่าเข้าใกล้นิพพาน ก. รักษาศีลประจำ ข. ฟังธรรมเป็นนิตย์ ค. ฝึกจิตสม่ำเสมอ ง. เห็นภัยในความประมาท |
๓๙. | คำว่า นิพพานมิใช่โลกนี้หรือโลกอื่นนั้น ส่องความว่านิพพานเป็น ก. โลกทิพย์ ข. โลกพิเศษ ค. โลกสมมติ ง. ไม่มีข้อถูก |
๔๐. | ข้อใดกล่าวถึงสอุปาทิเสสนิพพานได้ถูกต้อง ก. ปฏิบัติเพื่อละกิเลส ข. สิ้นกิเลส สิ้นชีวิต ค. สิ้นกิเลส มีชีวิตอยู่ ง. มีกิเลส มีชีวิตอยู่ |
๔๑. | การบรรลุนิพพานมีผลอย่างไร ก. เพลิดเพลินอย่างยิ่ง ข. เป็นสุขอย่างยิ่ง ค. ยินดีอย่างยิ่ง ง. รื่นรมย์อย่างยิ่ง |
๔๒. | สมถกัมมัฎฐาน มีความหมายตรงกับข้อใด ก. การกำจัดกิเลส ข. การละสังโยชน์ ค. การรู้แจ้งเห็นจริง ง. การทำใจให้สงบ |
๔๓. | ข้อใดเป็นมูลกัมมัฎฐาน ก. ดิน น้ำ ลม ไฟ ข. รูป เสียง กลิ่น รส ค. ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ง. ตา หู จมุก ลิ้น กาย |
๔๔. | การเจริญมูลกัมมัฎฐาน กำจัดนิวรณ์ใด ก. กามฉันทะ ข. พยาบาท ค. ถีนมิทธะ ง. วิจิกิจฉา |
๔๕. | คนโกรธง่าย ควรเจริญกัมมัฎฐานข้อใด ก. กายคตาสติ ข. อสุภกัมมัฎฐาน ค. เมตตาหรหมวิหาร ง. อานาปานัสสติ |
๔๖. | คนรักง่ายหน่ายเร็ว ควรเจริญกัมมัฎฐานข้อใด ก. สีลานุสสติ ข. อสุภกัมมัฎฐาน ค. เมตตาพรหมวิหาร ง. กสิน |
๔๗. | การเจริญมรณัสสติ มีประโยชน์อย่างไร ก. เกิดความไม่ประมาท ข. เกิดความทุกข์ ค. เกิดความวางเฉย ง. เกิดความสลดใจ |
๔๘. | เห็นแจ้งอะไร จัดเป็นวิปัสสนา ก. รูป ข. นาม ค. เวทนา ง. นามรูป |
๔๙. | ข้อใเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ก. พรหมวิหาร ข. นามรูป ค. อสุภะ ง. กสิน |
๕๐. | พิจารณากายอย่างไร จึงจัดเป็นวิปัสสนา ก. ปฏิกูล ข. ไม่สะอาด ค. น่าเกลียด ง. ไม่เที่ยง |