๑. | ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า ตรงกับข้อใด ก. พระปัจเจกพุทธเจ้า ข. พระโสดาบัน ค. พระอนุพุทธะ ง. พระอนาคามี |
๒. | ผู้แรกเข้าถึงกระแสแห่งพระนิพพาน เป็นความหมายของข้อใด ก. พระโสดาบัน ข. พระสกทาคามี ค. พระอนาคามี ง. พระอรหันต์ |
๓. | ผู้ได้รับยกย่องว่าเลิศในทางนั้นๆ เรียกว่าอะไร ก. อริยบุคคล ข. สาวก ค. เอตทัคคะ ง. พหูสูต |
๔. | อัญญาสิ ในคำว่า อญฺญาสิ วต โภ โกญฑัญโญ หมายความว่าอย่างไร ก. ได้บรรลุแล้ว ข. ได้รู้แล้ว ค. ได้เห็นแล้ว ง. ได้ปลงแล้ว |
๕. | พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้รับยกย่องเป็นรัตตัญญูเพราะเหตุใด ก. รู้ธรรมก่อนใคร ข. บวชก่อนใคร ค. มีประสบการณ์มาก ง. มีความรู้มาก |
๖. | วาจาเช่นนี้ เราได้เคยพูดในปางก่อนแล้วหรือ ใครกล่าว ก. พระพุทธเจ้า ข. พระโกณฑัญญะ ค. พระอัสสชิ ง. พระสารีบุตร |
๗. | พระสาวกที่ได้รับยกย่องว่ามีบริวารมาก ชื่อว่าอะไร ก. พระอุรุเวลกัสสปะ ข. พระนทีกัสสปะ ค. พระคยากัสสปะ ง. พระมหากัสสปะ |
๘. | พระพุทธเจ้าทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร ณ ที่ใด ก. อุรุเวลาเสนานิคม ข. คยาสีสะ ค. เชตวัน ง. เวฬุวัน |
๙. | ใครเป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระศาสนาที่แคว้นมคธ ก. พระอัสสชิ ข. พระมหากัสสปะ ค. พระสารีบุตร ง. พระอุรุเวลกัสสปะ |
๑๐. | ผู้มีอายุ ท่านมีอินทรีย์ผ่องใส บวชจำเพราะใคร เป็นคำพูดของใคร ก. อชิตมาณพ ข. ปุณณกมาณพ ค. อุปติสสมาณพ ง. โกลิตมาณพ |
๑๑. | อุปติสสมาณพได้ดวงตาเห็นธรรม เพราะฟังธรรมจากใคร ก. พระพุทธเจ้า ข. พระมหานามะ ค. พระอัสสชิ ง. พระยสะ |
๑๒. | ปิปผลิมาณพเห็นโทษในการครองเรือนอย่างไร จึงออกบวช ก. ต้องรับผิดชอบมาก ข. ต้องคอยรับบาปคนอื่น ค. ต้องทำแต่บาปกรรม ง. ต้องพัวพันเรื่องกาม |
๑๓. | ข้อใดไม่ใช่ธุดงควัตรของพระมหากัสสปะ ก. ถือผ้าบังสุกุล ข. เที่ยวบิณฑบาต ค. อยู่ป่า ง. อยู่ป่าช้า |
๑๔. | วรรณะทั้ง ๔ ย่อมเสมอด้วยกรรมคือการกระทำ ใครกล่าว ก. พระมหากัสสปะ ข. พระมหากัจจายนะ ค. พระอานนท์ ง. พระอนุรุทธะ |
๑๕. | พระสาวกรูปใด บรรลุพระอรหันตก่อนบวช ก. พระอนุรุทธะ ข. พระมหากัสสปะ ค. พระมหากัจจายนะ ง. พระอานนท์ |
๑๖. | ใครเห็นว่าลัทธิบูชาไฟของตนไม่มีแก่นสาร จึงขอบวชในพระพุทธศาสนา ก. อุรุเวลกัสสปะ ข. ปิปผลิมาณพ ค. อุปติสสมาณพ ง. โกลิตมาณพ |
๑๗. | พระสาวกรูปใด ทำให้พระสารีบุตรได้ชื่อว่า เป็นผู้มีความกตัญญู ก. พระราธะ ข. พระราหุล ค. พระรัฐบาล ง. พระจุนทะ |
๑๘. | พระมหากัสสปะอุปสมบทแล้วกี่วัน จึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก. ๕ วัน ข. ๗ วัน ค. ๘ วัน ง. ๑๕ วัน |
๑๙. | พระสาวกรูปใด เป็นประธานทำสังคายนาเพื่อรักษพระศาสนาให้มั่นคงถาวร ก. พระมหากัสสปะ ข. พระอนุรุทธะ ค. พระอานนท์ ง. พระอุบาลี |
๒๐. | พระพุทธเจ้าแสดงโทษการพูดมุสาแก่ใคร ก. พระนันทะ ข. พระราหุล ค. พระอานนท์ ง. พระอุบาลี |
๒๑. | ราหุล เป็นพระนามที่ตั้งตามหลักใด ก. มงคลนาม ข. พิธีขนานนาม ค. ฤาษีตั้งให้ ง. คำอุทานของบิดา |
๒๒. | ลูกเศรษฐีเมืองโสเรยยะ คิดอยากได้ภรรยามีรูปงามเหมือนพระสาวกรูปใด ก. พระมหากัสสปะ ข. พระโมฆราช ค. พระมหากัจจายนะ ง. พระราธะ |
๒๓. | พระสาวกรูปใด ขอผ่อนปรนให้อุปสมบทในปัจจันตชนบทด้วยสงฆ์ ๕ รูป ก. พระโมฆราช ข. พระมหากัจจายนะ ค. พระอานนท์ ง. พระเรวตะ |
๒๔. | ข้อใด มิใช่เอตทัคคะของพระอานนท์ ก. แสดงธรรมไพเราะ ข. มีสติ ค. พหูสูต ง. มีความเพียร |
๒๕. | พระสวกรูปใด บรรลุพระอรหันต์ช้าเพราะมีกิจมาก ก. พระสารีบุตร ข. พระอานนท์ ค. พระโมคคัลลานะ ง. พระอนุรุทธะ |
๒๖. | พระสาวกรูปใด เป็นสหชาติคือเกิดวันเดียวกับพระพุทธเจ้า ก. พระภัททิยะ ข. พระนันนทะ ค. พระราหุล ง. พระกาฬุทายี |
๒๗. | พระสาวกรูปใด อธิษฐานให้ได้รับความรู้ทุกวันเท่ากับเม็ดทรายในกำมือ ก. พระราหุล ข. พระอนุรุทธะ ค. พระอานนท์ ง. พระนันทะ |
๒๘. | พระสาวกรูปใด มีความชำนาญรอบรู้ในพระวินัยปิฏก ก. พระมหากัสสปะ ข. พระอนุรุทธะ ค. พระอานนท์ ง. พระอุบาลี |
๒๙. | พระอานนท์ทูลขอพรว่า อย่าทรงไปในที่นิมนต์ เพราะเหตุใด ก. ถือธุดงค์ ข. ไม่เห็นแก่ลาภ ค. เบื่อหน่าย ง. ทุพพลภาพ |
๓๐. | ก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระอานนท์สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นใด ก. พระโสดาบัน ข. พระสกทาคามี ค. พระอนาคามี ง. พระอรหันต์ |
๓๑. | ภิกษุณีรูปใดได้ชื่อว่าเป็นอัครสาวิกาเบื้องซ้ายผู้ทรงฤทธิ์ ก. พระกีสาโคตมีเถรี ข. พระอุบลวรรณาเถรี ค. พระมหาปชาบดีโคตมี ง. พระปฏาจาราเถรี |
๓๒. | ภิกษุณีรูปใดได้ชื่อว่าเป็นภิกษุณีสาวิกาผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง ก. พระกีสาโคตมีเถรี ข. พระอุบลวรรณาเถรี ค. พระมหาปชาบดีโคตมี ง. พระปฏาจาราเถรี |
๓๓. | สามเณรรูปใดบรรลุพรระอรหันต์เมื่ออายุ ๗ ขวบ ก. บัณฑิตสามเณร ข. สังกิจจสามเณร ค. สุขสามเณร ง. สุมนสามเณร |
๓๔. | สามเณรรูปใดแสดงปาฏิหาริย์ปราบโจร และสหธรรมให้โจรกลับใจขอบวชได้ ก. บัณฑิตสามเณร ข. สังกิจจสามเณร ค. สุขสามเณร ง. สุมนสามเณร |
๓๕. | ผู้ที่สร้างวัดพระเชตวัน ถวายแก่พระพุทธเจ้าคือใคร ก. ธัมมิกอุบาสิกา ข. จิตตคฤหบดี ค. อนาถบิณฑิกเศรษฐี ง. นางวิสาขา |
๓๖. | ใครตัดสินอธิกรณ์ เรื่องภิกษุณีมารดาของพระกุมารกัสสปะ ก. พระมหากัสสปะ ข. พระสารีบุตร ค. พระอุบาลี ง. พระอานนท์ |
๓๗. | ฝนดอกไม้ทิพย์ ๔ สี ตกลงมาเป็นที่น่าอัศจรรย์ เนื่องจากมีบุคคลใดมาถวายความเคารพพระพุทธเจ้า ก. ธัมมิกอุบาสก ข. จิตตคฤหบดี ค. อนาถบิณฑิกเศรษฐี ง. นางวิสาขา |
๓๘. | อุบาสกผู้ใดที่เทวดาเชื้อเชิญให้เป็นสหายและนำไปอยู่สวรรค์ชั้นดุสิต ก. ธัมมิกอุบาสก ข. จิตตคฤหบดี ค. อนาถบิณฑิกเศรษฐี ง. นางวิสาขา |
๓๙. | พระสาวกรูปใด อยู่ในครรภ์มารดาถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ก. พระราหุล ข. พระสีวลี ค. พระพากุละ ง. พระกังขาเรวตะ |
๔๐. | อุบาสิกาใดที่เป็นผู้ริเริ่มการถวายผ้าอาบน้ำฝน ก. ธัมมิกอุบาสก ข. จิตตคฤหบดี ค. อนาถบิณฑิกเศรษฐี ง. นางวิสาขา |
๔๑. | การยินยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เรียกว่าอะไร ก. การขอขมา ข. การทำวัตร ค. สามีจิกรรม ง. ปวารณากรรม |
๔๒. | ข้อใดเป็นอนุภาพของพระปริตร ก. ร่ำรวยเงินทอง ข. อายุยืน ค. ขจัดทุกข์ภัยโรค ง. เจริญด้วยยศศักดิ์ |
๔๓. | ทักษิณานุประทาน มีความหมายตรงกับข้อใด ก. ทำบุญวันเกิด ข. ทำบุญอายุ ค. ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ง. ทำบุญให้ผู้ตาย |
๔๔. | การทำบุญสตมวาร หมายถึงการทำบุญครบวันตายกี่วัน ก. ๗ วัน ข. ๕๐ วัน ค. ๑๐๐ วัน ง. ๓๖๕ วัน |
๔๕. | การสวดมาติกาบังสุกุลในงานพระราชพิธี เรียกว่าอย่างไร ก. สวดแจง ข. สดับปกรณ์ ค. สวดมาติกา ง. สวดพระอภิธรรม |
๔๖. | เทศน์มหาชาติ เป็นการเทศน์ชาดกใด ก. มโหสถ ข. สุวรรณสาม ค. มหาเวสสันดร ง. มหาชนก |
๔๗. | การทำบุญต่อนาม หมายถึงอะไร ก. งานทำบุญในบั้นปลายชีวิต ข. งานทำบุญที่ญาติจัดให้ผู้ป่วย ค. งานทำบุญครบรอบอายุ ง. งานทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับ |
๔๘. | ผ้าป่าในสมัยพุทธกาล คือผ้าชนิดใด ก. ผ้าวัสสิกสาฏก ข. ผ้าอาบน้ำฝน ค. ผ้าบังสุกุลจีวร ง. ผ้าอัจเจกจีวร |
๔๙. | การทอดกฐิน หมดเขตกลางเดือนใด ก. เดือน ๑๑ ข. เดือน ๑๒ ค. เดือนอ้าย ง. เดือนยี่ |
๕๐. | เวจกุฎี หมายถึงสถานที่ใด ก. ห้องนอน ข. ห้องรับแขก ค. ห้องพยาบาล ง. ห้องสุขา |