๑. | ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิตเรียกว่าอะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? เรียกว่า นิสสัย ฯ มี ๔ อย่าง ฯ คือ ๑) เที่ยวบิณฑบาต ๒) นุ่มห่มผ้าบังสุกุล ๓) อยู่โคนต้นไม้ ๔) ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ฯ |
๒. | อกรณียกิจ คือกิจที่บรรพชิตไม่ควรทำ มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? มี ๔ อย่าง ฯ คือ ๑) เสพเมถุน ๒) ลักของเขา ๓) ฆ่าสัตว์ ๔) พูดอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน ฯ |
๓. | ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงชื่อว่า มีศีล ? ภิกษุสำรวมกายวาจาให้เรียบร้อย เว้นข้อที่ทรงห้าม ทำตามข้อที่ทรงอนุญาต จึงชื่อว่า มีศีล ฯ |
๔. | ภิกษุปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญาดีแล้ว จะได้รับประโยชน์อย่างไร ? ย่อมได้รับประโยชน์ คือ ปฏิบัติศีล ทำให้เป็นผู้มีกาย วาจาเรียบร้อย ปฏิบัติสมาธิ ทำให้ใจสงบมั่นคง ไม่ฟุ้งซ่าน ปฏิบัติปัญญา ทำให้รอบรู้ในกองสังขาร ฯ |
๑. | พระวินัย คืออะไร ? ภิกษุรักษาพระวินัยแล้ว ย่อมได้อานิสงส์อะไร ? พระวินัย คือ พระพุทธบัญญัติและอภิสมาจาร ฯ ภิกษุรักษาวินัยดีแล้วได้อานิสงส์ ๓ ประการ คือ ๑) ไม่เกิดวิปฏิสาร คือไม่เดือดร้อนใจในภายหลัง ๒) ได้รับความแช่มชื่นใจ เพราะรู้สึกว่าตนประพฤติดีงามแล้ว ๓) มีความองอาจในหมู่ภิกษุผู้มีศีล ฯ |
๒. | อาบัติ คืออะไร ? ว่าโดยชื่อมีอะไรบ้าง ? อาบัติ คือโทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม ฯ มี ๑. ปาราชิก ๒. สังฆาทิเสส ๓. ถุลลัจจัย ๔.ปาจิตตีย์ ๕. ปาฎิเทสนียะ ๖. ทุกกฎ ๗. ทุพภาสิต ฯ |
๓. | อาการที่ภิกษุต้องอาบัติ มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? มี ๖ อย่าง ฯ คือ ๑) ต้องด้วยไม่ละอาย ๒) ต้องด้วยไม่รู้ว่าสิ่งนี้จะเป็นอาบัติ ๓) ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำลง ๔) ต้องด้วยสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร ๕) ต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร ๖) ต้องด้วยลืมสติ ฯ |
๔. | อาการที่ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่างนั้น อย่างไหนเสียหายมากที่สุด ? ต้องด้วยไม่ละอาย จัดว่าเสียหายมากที่สุด ฯ |
๕. | อเตกิจฉา และสเตกิจฉา ได้แก่อาบัติอะไร ? ทั้ง ๒ อย่างนั้น ภิกษุต้องเข้าแล้ว จะเกิดโทษอย่างไร ? อเตกิจฉา คือ อาบัติที่แก้ไขไม่ได้ ได้แก่ ปาราชิก ๔ ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุ ฯ สเตกิจฉา คือ อาบัติที่แก้ไขได้ ได้แก่ สังฆาทิเสส ๑๓ และอาบัติอีก ๕ ที่เหลือ ฯ สังฆาทิเสสต้องอยู่กรรมจึงพ้นได้ อาบัติอีก ๕ ที่เหลือพึงแสดงต่อหน้าสงฆ์หรือคณะ หรือรูปใดรูปหนึ่งจึงพ้นได้ ฯ |
๖. | พุทธบัญญัติและอภิสมาจาร คืออะไร ? ทั้ง ๒ รวมเรียกว่าอะไร ? พุทธบัญญัติ คือ ข้อห้ามที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งขึ้น เพื่อป้องกันความประพฤติเสียหาย และวางโทษแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดด้วยปรับอาบัติหนักบ้าง เบาบ้าง, อภิสมาจาร คือ ขนมธรรมเนียมที่ทรงแต่งตั้งขึ้น เพื่อชักนำความประพฤติของภิกษุสงฆ์ให้ดีงาม ฯ ทั้ง ๒ อย่างนี้รวมเรียกว่า พระวินัย ฯ |
๗. | อาบัติที่เป็นโลกวัชชะและที่เป็นปัณณัตติวัชชะ หมายความว่าอย่างไร ? จงยกตัวอย่างมาประกอบด้วย อาบัติที่เป็นโลกวัชชะ หมายถึง อาบัติที่มีโทษซึ่งภิกษุทำเป็นความผิด ความเสียหาย และคนสามัญทำก็เป็นความผิดความเสียหายเหมือนกัน เช่น ทำโจรกรรม เป็นต้น อาบัติที่เป็นปัณณัตติวัชชะ หมายถึง อาบัติที่มีโทษเฉพาะภิกษุทำ แต่คนสามัญทำไม่เป็นความผิด ความเสียหาย เช่น ขุดดิน เป็นต้น ฯ |
๑. | สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์มีเท่าไร ? สิกขาบทว่าด้วยปาราชิกมีอะไร ? มี ๒๒๗ สิกขาบท ฯ สิกขาบทว่าด้วยปาราชิกมี ๔ อย่าง คือ ๑) เสพเมถุน ๒) ภิกษุถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ได้ราคา ๕ มาสก ๓) ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตาย ๔) ภิกษุอวดอุตตริมนุสสธรรม ที่ไม่มีในตน ฯ |
๒. | สิกขากับสิกขาบท ต่างกันอย่างไร ? อย่างไหนมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? สิกขา คือ ข้อที่ภิกษุต้องศึกษา มี ๓ ได้แก่ สีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา สิกขาบท คือ พระบัญญัติมาตราหนึ่งๆ เป็นสิกขาบทหนึ่งๆ มี ๒๒๗ สิกขาบท ได้แก่ ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ปาจิตตีย์ ๙๒ ปาฎิเทสนียะ ๔ เสขิยวัตร ๗๕ และอธิกรณสมถะ ๗ ฯ |
๓. | อะไรเรียกว่า สิกขาบท ? มาจากไหน ? พระบัญญัติมาตราหนึ่งๆ เรียกว่า สิกขาบท ฯ มาในพระปาติโมกข์ ๑ มานอกพระปาติโมกข์ ๑ ฯ |
๔. | ปาราชิก ๔ สิกขาบท เป็นสจิตตกะหรืออจิตตกะ ? เพราะเหตุใด ? ปาราชิกทั้ง ๔ สิกขาบท เป็นสจิตตกะ ฯ เพราะต้องด้วยจงใจ เกิดขึ้นโดยเจตนาเป็นสมุฏฐาน ฯ |
๑. | ปาราชิก ๔ สิกขาบท เป็นสจิตตกะหรืออจิตตกะ ? เพราะเหตุใด ? ปาราชิกทั้ง ๔ สิกขาบท เป็นสจิตตกะ ฯ เพราะต้องด้วยจงใจ เกิดขึ้นโดยเจตนาเป็นสมุฏฐาน ฯ |
๒. | ภิกษุทำคนอื่นให้ถึงแก่ความตาย ต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ? ถ้าไม่จงใจ ไม่เป็นอาบัติ แต่ถ้าจงใจประสงค์จะให้เขาตาย เป็นอาบัติปาราชิก ฯ |
๓. | ภิกษุแกล้งฆ่าสัตว์ให้ตาย ต้องอาบัติ ? ฆ่ามนุษย์ให้ตาย ต้องอาบัติปาราชิก ฆ่าอมนุษย์ให้ตาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฆ่าสัตว์เดรัจฉานให้ตาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ |
๔. | ภิกษุโจทย์ภิกษุอื่นด้วยอาบัติไม่มีมูล เป็นอาบัติอะไรบ้าง ? โจทย์ด้วยอาบัติปาราชิก เป็นอาบัติสังฆาทิเสส โจทย์ด้วยอาบัตินอกนี้ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ฯ |
๕. | ในอทินนาทานสิกขาบท กำหนดราคาทรัพย์ เป็นวัตถุแห่งอาบัติไว้อย่างไรบ้าง ? ทรัพย์มีราคาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป เป็นวัตถุแห่งอาบัติปาราชิก ทรัพย์มีราคาต่ำกว่า ๕ มาสก แต่สูงกว่า ๑ มาสก เป็นวัตถุแห่งอาบัติถุลลัจจัย ทรัพย์มีราคาตั้งแต่ ๑ มาสกลงไป เป็นวัตถุแห่งอาบัติทุกกฎ |
๖. | สังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ คือทรัพย์เช่นไร ? ภิกษุจะต้องอาบัติถึงที่สุดในเพราะลักทรัพย์ทั้ง ๒ อย่างนั้นเมื่อใด ? สังหาริมทรัพย์ ได้แก่ทรัพย์หรือสิ่งของที่เคลื่อนที่ได้ เช่น สัตว์ เงิน ทอง เป็นต้น อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ทรัพย์หรือสิ่งของที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น ที่ดิน ต้นไม้ เรือน เป็นต้น สำหรับสังหาริมทรัพย์ ภิกษุจะต้องอาบัติถึงที่สุด เมื่อทรัพย์นั้นเคลื่อนจากที่เดิม สำหรับอสังหาริมทรัพย์ ภิกษุจะต้องอาบัติถึงที่สุด ในเมื่อเจ้าของทอดกรรมสิทธิ์ ฯ |
๗. | พูดอย่างไรเรียกว่า อวดอุตตริมนุสสธรรม ? พูดอวดคุณพิเศษอันยิ่งของมนุษย์ เช่น ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค ผล นิพพาน เรียกว่า อวดอุตตริมนุสสธรรม ฯ |
๑. | ภิกษุมีความกำหนัด จับต้องกายอนุปสัมบัน ต้องอาบัติอะไร ๑) อนุปสัมบันเป็นหญิง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒) อนุปสัมบันเป็นบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓) อนุปสัมบันเป็นชาย ต้องอาบัติทุกกฎ ฯ |
๒. | คำว่า อาบัติไม่มีมูล กำหนดโดยอาการอย่างไร ? ภิกษุโจทย์ภิกษุด้วยอาบัติไม่มีมูลต้องอาบัติอะไร ? กำหนดโดยอาการ ๓ คือ ไม่ได้เห็นเอง ๑ ไม่ได้ยินเอง ๑ ไม่ได้เกิดรังเกียจสงสัย ๑ ว่าภิกษุนั้นต้องอาบัติชื่อนั้น ฯ โจทย์ด้วยอาบัติปาราชิก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส โจทย์ด้วยอาบัติอื่นนอกจากอาบัติปาราชิก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ |
๓. | ภิกษุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน ตามสิกขาบทที่ ๕ แห่งสังฆาทิเสส หมายถึงการทำอย่างไร ? หมายถึง การที่ภิกษุบอกความประสงค์ของชายแก่หญิง หรือบอกความประสงค์ของหญิงแก่ชาย ในความเป็นผัวเมีย ฯ |
๔. | ภิกษุจับต้องกายมารดาในเวลาพยาบาลไข้ด้วยจิตกตัญญู ปรับเป็นอาบัติทุกกฎผิดหรือถูก เพราะเหตุไร ? ถูก เป็นอาบัติทุกกฎ เพราะมารดาเป็นวัตถุอนามาส ฯ |
๕. | คำว่า “ภิกษุประทุษร้ายตระกูล” ในสิกขาบทที่ ๑๓ แห่งสังฆาทิเสส หมายถึงการทำอย่างไร ? หมายถึง การที่ภิกษุประจบคฤหัสถ์ ยอมตนให้เขาใช้สอย เช่น เดินส่งข่าวให้เขาเป็นต้น หรือ ด้วยการเอาเปรียบโดยเชิงให้สิ่งเล็กน้อยด้วยหวังได้มาก ฯ |
๖. | สังฆาทิเสสมีกี่สิกขาบท ? ภิกษุต้องอาบัตินี้จะพ้นได้ด้วยวิธีอย่างไร ? มี ๑๓ สิกขาบท ฯ พ้นได้ด้วยวิธีอยู่กรรม ที่เรียกว่า วุฏฐานคามินี ฯ |
๑. | ผ้าไตรจีวร ที่ทรงอนุญาตให้ภิกษุอธิษฐานไว้ใช้มีกี่อย่าง? อะไรบ้าง ? มี ๓ อย่าง ฯ คือ ๑) สังฆาฏิ (ผ้าคลุม) ๒) อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม) ๓) อันตราสก (ผ้านุ่ง) ฯ |
๒. | อติเรกจีวร และผ้าจำนำพรรษา ได้แก่ผ้าเช่นไร ? อติเรกจีวร ได้แก่ผ้ายาว ๘ นิ้ว กว้าง ๔ นิ้วขึ้นไป พอใช้ประกอบเข้าเป็นเครื่องนุ่มห่มได้ นอกจากผ้าที่อธิษฐาน ผ้าจำนำพรรษา ได้แก่ผ้าที่ทายกถวายแก่ภิกษุผู้ปวารณาออกพรรษาแล้ว ฯ |
๓. | จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้ ๑) อติเรกจีวร ๒) จีวรกาล ๓) อนุปสัมบัน ? ๑) อติเรกจีวร หมายถึง จีวรที่ไม่ใช่จีวรอธิษฐาน ๒) จีวรกาล หมายถึง คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร (คืออยู่จำพรรษาแล้ว ถ้าไม่ได้กรานกฐินนับแต่วันปวารณาไป ๑ เดือน ถ้าได้กรานกฐิน เพิ่มออกไปอีก ๔ เดือนในฤดูหนาว ) ๓) อนุปสัมบัน หมายถึง บุคคลที่มิใช่ภิกษุ ฯ |
๔. | เภสัช ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? ภิกษุรับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้กี่วัน ? ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ฯ เก็บไว้ได้ ๗ วัน ฯ |
๑. | ภิกษุนอนในที่มุงที่บังอันเดียวกับอนุปสัมบันเป็นอาบัติหรือไม่อย่างไร ? ถ้าเป็นชาย เกินกว่า ๓ คืน เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าเป็นหญิง แม้ในคืนแรก เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ฯ |
๒. | พูดอย่างไร ชื่อว่าส่อเสียดภิกษุ ? ภิกษุพูดอย่างนั้นต้องอาบัติอะไร ? เก็บความข้างนี้ไปบอกข้างโน้น เก็บความข้างโน้นมาบอกข้างนี้ ด้วยประสงค์จะให้เขารักตน หรือให้เขาแตกกัน ชื่อว่าส่อเสียดภิกษุ ฯ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ |
๓. | ภิกษุนำเก้าอี้ของสงฆ์ไปใช้ที่กลางแจ้งแล้ว เมื่อจะหลีกไปพึงปฏิบัติอย่างไร ? ถ้าไม่ปฏิบัติเช่นนั้น ต้องอาบัติอะไร ? พึงปฏิบัติอย่างนี้ คือ เก็บเอง ใช้ผู้อื่นเก็บ หรือมอบหมายแก่ผู้อื่น ฯ ถ้าไม่ปฏิบัติเช่นนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ |
๔. | ภิกษุบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่นแก่อนุปสัมบัน เป็นอาบัติอะไรหรือไม่ ? เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ฯ |
๑. | เสขิยวัตร คืออะไร ? แบ่งเป็นกี่หมวด ? อะไรบ้าง ? เสขิยวัตร คือ วัตรหรือข้อปฏิบัติที่ภิกษุจะต้องศึกษา ฯ แบ่งเป็น ๔ หมาวด ฯ มี ๑) สารูป ว่าด้วยกิริยามารยาทที่ควรประพฤติในเวลาเข้าไปในหมู่บ้าน ๒) โภชนปฏิสังยุต ว่าด้วยกิริยามารยาทที่ควรประพฤติในการรับบิณฑบาตและการฉันภัตตาหาร ๓) ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ว่าด้วยกิริยามารยาทในการแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ๔) ปกิณณกะ ว่าด้วยกิริยามารยาท ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ และบ้วนน้ำลาย ฯ |
๒. | เสขิยวัตร มีกี่ข้อ ? ภิกษุไม่ประพฤติตาม ต้องอาบัติอะไร ? เสขิยวัตร มีทั้งหมด ๗๕ ข้อ ฯ ต้องอาบัติทุกกฎ ฯ |
๓. | ในการรับบิณฑบาต ภิกษุพึงปฏิบัติอย่างไรจึงถูกต้องตามเสขิยวัตร ? รับโดยเคารพ แลดูแต่ในบาตร รับแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก รับแต่พอเสมอขอบปากบาตร ฯ |
๔. | ข้อว่า เราจักบิณฑบาตโดยเคารพ นั้นมีอธิบายอย่างไร ? มีอธิบายว่า รับโดยแสดงความเอื้อเฟื้อ ในบุคคลผู้ให้ ไม่ดูหมิ่น และให้แสดงความเอื้อเฟื้อในของที่เขาให้ ไม่รับเอามาเล่นหรือเอามาทิ้งเสีย ฯ |
๕. | การนุ่งเป็นปริมณฑล คือการนุ่งอย่างไร ? คือ นุ่งเบื้องบนปิดสะดือ แต่ไม่ถึงกระโจมอก เบื้องล่างปิดหัวเข่าทั้ง ๒ ลงมาเพียงครึ่งแข้ง ไม่ถึงกรอมข้อเท้า ฯ |
๑. | อธิกรณ์ คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? คือ เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ ฯ มี ๔ ประการ คือ ๑) วิวาทาธิกรณ์ ความเถียงกันว่า สิ่งนั้นเป็นธรรมเป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย ๒) อนุวาทาธิกรณ์ ความโจทย์กันด้วยอาบัตินั้นๆ เช่น เป็นอาบัติทุกกฎ ๓) อาปัตตาธิกรณ์ อาบัติทั้งปวง เช่น อาบัติทำให้พ้นโทษ ๔) กิจจาธิกรณ์ คือ ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ ฯ |
๒. | อธิกรณ์ คืออะไร ? เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องทำอย่างไร ? คือ เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ ฯ ต้องระงับด้วยอธิกรณสมถะอย่างใดอย่างหนึ่งตามสมควรแก่อธิกรณ์นั้นๆ ฯ |
๓. | อธิกรณสมถะ คืออะไร ? การตัดสินอธิกรณ์ตามเสียงข้างมาก เรียกว่าอะไร ? อธิกรณสมถะ คือ ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ ฯ เรียกว่า เยภุยยสิกา ฯ |
๔. | การเถียงกันด้วยเรื่องอะไรจึงจัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ ? การเถียงกันว่า สิ่งนั้นเป็นธรรมเป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย ฯ |
๕. | อธิกรณสมถะ คืออะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? คือ ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ ฯ มี ๗ อย่าง ฯ คือ ๑) สัมมุขาวินัย คือ ความระงับอธิกรณ์ทั้ง ๔ นั้น ในที่พร้อมหน้าสงฆ์ ในที่พร้อมหน้าบุคคล ในที่พร้อมหน้าวัตถุ ในที่พร้อมหน้าธรรม ฯ ๒) สติวินัย คือ ความที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่พระอรหันต์ว่า เป็นผู้มีสติเต็มที่เพื่อจะไม่ให้ใครโจทก์ด้วยอาบัติ ๓) อมูฬหวินัย คือ ความที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่ภิกษุ ผู้หายเป็นบ้าแล้วเพื่อจะไม่ให้ใครโจทก์ด้วยอาบัติที่เธอทำในเวลาเป็นบ้า ๔) ปฏิญญาตกรณะ คือ ความปรับอาบัติตามปฏิญญาของจำเลยผู้รับเป็นสัตย์ (การแสดงอาบัติ) ๕) เยภุยยสิกา คือ ความตัดสินเอาความของคนมากเป็นประมาณ ๖) ตัสสปาปิยสิกา คือ ความลงโทษแก่ผู้ผิด ๗) ติณวัดถารกวินัย คือ ความให้ประนีประนอมกันทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่ต้องชำระความเดิม (ดังกลบไว้ด้วยหญ้า) ฯ |