๑. |
ขั้นตอนที่ ๑ : เขียนสุภาษิตบทตั้ง ให้เขียนตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ ทั้งคำบาลีและคำแปลภาษาไทย โดยเฉพาะคำแปลภาษาไทยสามารถเขียนให้เยื้องจากคำบาลีได้ประมา ๒-๓ ตัวอักษร หรือให้พองาม |
๒. |
ขั้นตอนที่ ๒ : การเขียนคำอารัมบท ตรงคำว่า บัดนี้จักได้อธิบายขยายความ...ฯ ให้ย่อหน้ากระดาษขึ้นบรรทัดใหม่ ๕-๖ ตัวอักษร หรือให้ดูเหมาะสม |
๓. |
ขั้นตอนที่ ๓ : อธิบายสุภาษิตบทตั้ง การเริ่มอธิบายเนื้อความสุภาษิตบทตั้ง ให้ย่อหน้ากระดาษขึ้นบรรทัดใหม่ สังเกตการย่อหน้าให้ตรงกับย่อหน้าอารัมภบท (ในขั้นตอนที่ ๒) และเริ่มเขียนอธิบายไม่ควรต่ำกว่า ๘ บรรทัด (ประมาณ ๘-๑๐ บรรทัด) |
๔. |
ขั้นตอนที่ ๔ : เขียนสุภาษิตบทเชื่อม (๑,๒) ให้เขียนไว้ตรงกลางหน้ากระดาษเหมือนการเขียนสุภาษิตบทตั้ง ซึ่งก่อนที่จะยกสุภาษิตมาเชื่อมต้องบอกที่มาของสุภาษิตบทเชื่อมนั้นด้วย เช่นว่า "สมดังสุภาษิตที่มาใน...ขุททกนิกาย ธรรมบท..ว่า และก่อนที่จะเริ่มอธิบายเนื้อความสุภาษิตบทเชื่อม (ประมาณ ๘-๑๐ บรรทัด) ให้ย่อหน้ากระดาษขึ้นบรรทัดใหม่เหมือนขั้นตอนที่ ๒,๓ |
๕. |
ขั้นตอนที่ ๕ : เขียนสรุปกระทู้ การเขียนสรุปความ ให้ย่อหน้ากระดาษขึ้นบรรทัดใหม่ แล้วเขียนคำว่า สรุปความว่า.....ฯ การเขียนสรุปนั้นไม่ควรต่ำกว่า ๕ บรรทัด และไม่ควรเกิน ๘ บรรทัด |
๖. |
ขั้นตอนที่ ๖ : ปิดสรุปความ เมื่อเขียนสรุปความในขั้นตอนที่ ๕ จบลงแล้ว ให้ต่อด้วยคำว่า สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้นว่า...ฯ แล้วยกสุภาษิตบทตั้งมาปิดอีกที การเขียนสุภาษิตก็ให้เขียนไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ เช่นเดียวกับขั้นตอนที่ ๑ และ ๔ |
๗. |
ขั้นตอนที่ ๗ : บรรทัดสุดท้าย ในบรรทัดสุดท้ายให้เขียนคำว่า "มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้ ฯ" |
ทุกขั้นตอนที่กล่าวมานี้นักเรียนต้อง "เขียนเว้นบรรทัด" นะครับ และรูปแบบที่ท่านกำหนดมานี้ นักเรียนต้องฝึกฝนหัดเขียนให้ถูกต้องและชำนาญอย่าให้ผิด เพราะเป็นสิ่งแรกที่ท่านจะตรวจให้คะแนน หากรูปแบบผิด เช่น ไม่อ้างสุภาษิต หรืออธิบายไม่ถึง ๓ หน้า หรือจัดวรรคตอนผิด อาจถูกปรับให้ตกได้{alertInfo}