๑. | คำว่า สมถะ หมายถึงอะไร ? ก. มักน้อย ข. สันโดษ ค. สงบใจ ง. เห็นแจ้ง |
๒. | สมถกัมมัฏฐาน เป็นอุบายสงบอะไร ? ก. สงบกาย ข. สงบวาจา ค. สงบใจ ง. ถูกทุกข้อ |
๓. | การเจริญวิปัสสนา เป็นเหตุให้รู้แจ้งอะไร ? ก. สภาวธรรม ข. โลก ค. อภิญญา ง. ไตรภพ |
๔. | การพิจารณาสภาวธรรมตามความเป็นจริง จัดเป็นกัมมัฏฐานใด ? ก. สมถกัมมัฏฐาน ข. วิปัสสนากัมมัฏฐาน ค. อสุภะ ง. อนุสสติ |
๑. | กาม มีโทษโดยรวมแก่สัตว์อย่างไร ? ก. ทำให้ข้องอยู่ในโลก ข. ทำให้รบราฆ่าฟันกัน ค. ทำให้เห็นแก่ตัว ง. ทำให้แข่งขันกันในโลก |
๒. | ผู้ที่ชอบเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ชื่อว่าหลงยึดติดในอะไร ? ก. กิเลสกาม ข. วัตถุกาม ค. กามตัณหา ง. ภวตัณหา |
๓. | ข้อใด ไม่ใช่กิเลสกาม ? ก. ราคะ ข. โลภะ ค. อิจฉา ง. รูป |
๔. | กิเลสกาม หมายถึงข้อใด ? ก. ราคะ ข. โลภะ ค. อิจฉา ง. ถูกทุกข้อ |
๕. | วัตถุกาม หมายถึงข้อใด ? ก. รูปสวย ข. เสียงไพเราะ ค. กลิ่นหอม ง. ถูกทุกข้อ |
๖. | เสียงประเภทใด จัดเป็นวัตถุกาม ? ก. เสียงสวดมนต์ ข. เสียงเพลง ค. เสียงผรุสวาท ง. เสียงนินทา |
๗. | กิเลสอันเป็นเหตุให้ใคร่ เรียกว่าอะไร ? ก. กามคุณ ข. กิเลสกาม ค. วัตถุกาม ง. กามฉันทะ |
๘. | สิ่งที่น่าปรารถนาน่าพอใจ เรียกว่าอะไร ? ก. กามสังโยชน์ ข. กิเลสกาม ค. วัตถุกาม ง. กามฉันทะ |
๑. | พระพุทธเจ้าทรงยกย่องการบูชาแบบใดว่าเป็นเลิศ ? ก. อามิสบูชา ข. ปฏิบัติบูชา ค. สักการบูชา ง. พุทธบูชา |
๒. | อามิสบูชา หมายถึงการบูชาด้วยอะไร ? ก. การถวายดอกไม้ ข. การถวายอาหาร ค. การถวายศาลา ง. ถูกทุกข้อ |
๑. | การกล่าวต้อนรับด้วยคำไพเราะ ชื่อว่าปฏิบัติตามหลักธรรมใด ? ก. อามิสบูชา ข. ปฏิบัติบูชา ค. อามิสปฏิสันถาร ง. ธัมมปฏิสันถาร |
๒. | ธัมมปฏิสันถาร หมายถึงการกระทำในข้อใด ? ก. ต้อนรับตามสมควร ข. ถวายดอกไม้ ค. ถวายศาลา ง. ถวายอาหาร |
๑. | ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ จัดเข้าในสุขข้อใด ? ก. กายิกสุข ข. เจตสิกสุข ค. สามิสสุข ง. นิรามิสสุข |
๒. | เจตสิกสุข คือสุขทางใจ มีลักษณะเช่นไร ? ก. เพราะได้ลาภลอย ข. เพราะได้รับมรดก ค. เพราะได้เลื่อนยศ ง. เพราะไม่ถูกกิเลสครอบงำ |
๓. | อะไรเป็นเหตุให้เกิดสุขทางกาย ? ก. ไม่มีโรค ข. ไม่มีหนี้ ค. ไม่มีศัตรู ง. ไม่มีกิเลส |
๔. | อะไรเป็นเหตุให้เกิดสุขทางใจ ? ก. อำนาจ ข. ทรัพย์ ค. บริวาร ง. คุณธรรม |
๕. | ข้อใด เป็นเหตุให้เกิดเจตสิกสุข สุขทางใจ ? ก. รู้จักพอเพียง ข. มีการงานดี ค. มีทรัพย์มาก ง. มีตำแหน่งสูง |
๑. | ชาวพุทธต้องยึดถืออะไรเป็นที่พึ่งที่ระลึก ? ก. พระรัตนตรัย ข. พระไตรปิฎก ค. โอวาทปาฏิโมกข์ ง. ไตรสิกขา |
๒. | ผู้รู้ดีรู้ชอบและสอนให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม หมายถึงใคร ? ก. พระพุทธเจ้า ข. พระปัจเจกพุทธเจ้า ค. พระอรหันต์ ง. พระสาวก |
๓. | พระธรรมคืออะไร ? ก. คำสั่งสอน ข. ระเบียบ ค. คำตักเตือน ง. กติกา |
๔. | ข้อใด เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ ? ก. สอนให้มีโชค ข. สอนให้มีลาภ ค. สอนให้ทำความดี ง. สอนให้รวย |
๑. | ผู้ถูกกามวิตกครอบงำ มักมีพฤติกรรมเช่นไร ? ก. หมกมุ่นในกาม ข. ปองร้าย ค. คดโกง ง. ทรมานสัตว์ |
๒. | คนที่คิดจะทำร้ายคนอื่น เพราะถูกวิตกใดครอบงำ ? ก. อกุศลวิตก ข. กามวิตก ค. พยาบาทวิตก ง. วิหิงสาวิตก |
๓. | ความคิดในเรื่องใด ไม่จัดเป็นอกุศลวิตก ? ก. กาม ข. ปองร้าย ค. เบียดเบียน ง. การศึกษา |
๑. | ความดำริที่จะไม่เบียดเบียนกัน เป็นกุศลวิตกข้อใด ? ก. เนกขัมมวิตก ข. อพยาบาทวิตก ค. อวิหิงสาวิตก ง. กามวิตก |
๒. | ความดำริที่จะไม่ปองร้ายกัน เป็นกุศลวิตกข้อใด ? ก. เนกขัมมวิตก ข. อพยาบาทวิตก ค. อวิหิงสาวิตก ง. กามวิตก |
๑. | ผู้ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ เพราะถูกไฟอะไรแผดเผา ? ก. ราคะ ข. โทสะ ค. โมหะ ง. ตัณหา |
๒. | เมื่อไฟคือโทสะเกิดขึ้น จะระงับด้วยวิธีใด ? ก. เจริญเมตตา ข. เจริญอสุภะ ค. เจริญปัญญา ง. เจริญอนุสสติ |
๓. | รูปสวยเสียงไพเราะ ก่อให้เกิดไฟกิเลสประเภทใด ? ก. ไฟราคะ ข. ไฟโทสะ ค. ไฟโมหะ ง. ไฟริษยา |
๔. | คนที่ถูกไฟโทสะแผดเผา มักมีอาการเช่นไร ? ก. โกรธง่าย ข. หงุดหงิดง่าย ค. อารมณ์ร้อน ง. ถูกทุกข้อ |
๕. | คนที่ไม่รู้จักบุญคุณพ่อแม่ เพราะถูกไฟกิเลสชนิดใดแผดเผา ? ก. ไฟราคะ ข. ไฟโทสะ ค. ไฟโมหะ ง. ไฟตัณหา |
๑. | ผู้มีอัตตาธิปไตย มีลักษณะเช่นไร ? ก. ถือความเห็นของตน ข. ถือความเห็นพวกพ้อง ค. ถือความเห็นหมู่ญาติ ง. ถือความเห็นส่วนรวม |
๒. | การทำงานมุ่งความถูกต้อง จัดว่ามีอธิปไตยใด ? ก. อัตตาธิปไตย ข. โลกาธิปไตย ค. ธรรมาธิปไตย ง. ประชาธิปไตย |
๓. | ผู้มีอัตตาธิปไตย คือถืออะไรเป็นใหญ่ ? ก. ตนเอง ข. พวกพ้อง ค. หมู่ญาติ ง. บริวาร |
๔. | ทำดีตามกระแสนิยมเพื่อให้ผู้อื่นยกย่องตรงกับข้อใด ? ก. อัตตาธิปไตย ข. โลกาธิปไตย ค. ธัมมาธิปไตย ง. ถูกทุกข้อ |
๕. | เห็นคนส่วนใหญ่ทำบุญจึงทำตาม จัดเข้าในอธิปไตยใด ? ก. อัตตาธิปไตย ข. โลกาธิปไตย ค. ธัมมาธิปไตย ง. ประชาธิปไตย |
๖. | ความเป็นใหญ่ ใครๆ ก็ชอบ ถืออะไรเป็นใหญ่จึงจะดี ? ก. ถือตน ข. ถือเสียงข้างมาก ค. ถือประชาชน ง. ถือธรรมะ |
๗. | คำว่า ทำตามใจคือไทยแท้ จัดเข้าในอธิปไตยใด ? ก. อัตตาธิปไตย ข. โลกาธิปไตย ค. ธัมมาธิปไตย ง. ประชาธิปไตย |
๘. | ประชาธิปไตย จัดเข้าในอธิปไตยใด ? ก. อัตตาธิปไตย ข. โลกาธิปไตย ค. ธัมมาธิปไตย ง. ถูกทุกข้อ |
๙. | ประชาธิปไตยที่แท้จริงมุ่งประโยชน์เพื่อใคร ? ก. คนร่ำรวย ข. คนยากจน ค. คนมีอำนาจ ง. ทุกๆ คน |
๑. | คำว่า สัจจญาณ หมายถึงหยั่งรู้อะไร ? ก. ทุกข์ ข. สมุทัย ค. นิโรธ ง. อริยสัจ |
๒. | ข้อใด เป็นกิจจญาณในอริยสัจ ๔ ? ก. รู้ความจริง ข. รู้สิ่งที่ควรทำ ค. รู้สิ่งที่ทำแล้ว ง. รู้อนาคต |
๓. | ญาณ ๓ มีความหมายตรงกับข้อใด ? ก. สมาธิชั้นสูง ข. การบรรลุธรรม ค. ปัญญาหยั่งรู้ ง. อิทธิฤทธิ์ |
๑. | ผู้อยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะถูกอะไรครอบงำ ? ก. ราคะ ข. โทสะ ค. โมหะ ง. ตัณหา |
๒. | ข้อใด จัดเป็นภวตัณหา ? ก. อยากร่ำรวย ข. อยากมีรถ ค. อยากมีโทรศัพท์ ง. อยากเป็นใหญ่ |
๓. | ความทะยานอยาก หมายถึงข้อใด ? ก. ราคะ ข. โทสะ ค. โมหะ ง. ตัณหา |
๔. | อยากกินอาหารรสอร่อยๆ จัดเป็นตัณหาประเภทใด ? ก. กามตัณหา ข. ภวตัณหา ค. วิภวตัณหา ง. ถูกทุกข้อ |
๕. | อยากอยู่ในตำแหน่งนานๆ จัดเป็นตัณหาประเภทใด ? ก. กามตัณหา ข. ภวตัณหา ค. วิภวตัณหา ง. ถูกทุกข้อ |
๑. | ไม่สบายกายไม่สบายใจชื่อว่าทุกข์ เพราะเหตุใด ? ก. ทนได้ยาก ข. เห็นได้ยาก ค. รักษาได้ยาก ง. ติดตามได้ยาก |
๒. | ทุกข์ในอริยสัจ เกิดจากอะไร ? ก. กิเลส ข. กรรม ค. วิบาก ง. ตัณหา |
๓. | ความทะยานอยากจัดเข้าในข้อใด ? ก. ทุกข์ ข. สมุทัย ค. นิโรธ ง. มรรค |
๔. | ความจริงอันประเสริฐ หมายถึงธรรมใด ? ก. ปธาน ๔ ข. อิทธิบาท ๔ ค. อริยสัจ ๔ ง. พรหมวิหาร ๔ |
๕. | ความไม่สบายกายไม่สบายใจ เรียกว่าอะไร ? ก. ทุกข์ ข. สมุทัย ค. นิโรธ ง. มรรค |
๖. | ในอริยสัจ ๔ ข้อใดควรละ ? ก. ทุกข์ ข. สมุทัย ค. นิโรธ ง. มรรค |
๗. | ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หมายถึงข้อใด ? ก. ทุกข์ ข. สมุทัย ค. นิโรธ ง. มรรค |
๘. | ทุกข์ในอริยสัจ เกิดจากอะไร ? ก. กิเลส ข. กรรม ค. วิบาก ง. ตัณหา |
๙. | อริยสัจ แปลว่าอะไร ? ก. ความจริงอันประเสริฐ ข. ความซื่อตรง ค. ความแท้จริง ง. ความไม่ผิด |
๑๐. | ในอริยสัจ ๔ ข้อใดควรกำหนดรู้ ? ก. ทุกข์ ข. สมุทัย ค. นิโรธ ง. มรรค |
๑๑. | สาเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ คือข้อใด ? ก. ทุกข์ ข. สมุทัย ค. นิโรธ ง. มรรค |
๑. | อิทธิบาท ๔ กล่าวถึงข้อใดก่อน ? ก. ฉันทะ ข. วิริยะ ค. จิตตะ ง. วิมังสา |
๒. | นักเรียนผู้ต้องการจะเรียนหนังสือให้ได้ผลดี จะนำวิริยะมาใช้อย่างไร ? ก. สร้างความพอใจที่จะเรียน ข. ใฝ่ใจใคร่รู้สิ่งต่าง ๆ ค. พิจารณาทบทวนให้เข้าใจ ง. ขยันศึกษาหาความรู้ |
๓. | นักเรียนผู้ต้องการจะเรียนหนังสือให้ได้ผลดี จะนำวิมังสามาใช้อย่างไร ? ก. สร้างความพอใจที่จะเรียน ข. ใฝ่ใจใคร่รู้สิ่งต่าง ๆ ค. พิจารณาทบทวนให้เข้าใจ ง. ขยันศึกษาหาความรู้ |
๑. | การภาวนาข้อใด จัดเป็นอัปปมัญญา ? ก. ไม่เจาะจง ข. เจาะจงบุคคล ค. เจาะจงสัตว์ ง. เจาะจงตนเอง |
๒. | ยินดีเมื่อเพื่อนสอบได้ จัดว่ามีอัปปมัญญาข้อใด ? ก. เมตตา ข. กรุณา ค. มุทิตา ง. อุเบกขา |
๓. | ข้อใด จัดเป็นข้าศึกของเมตตา ? ก. ความรัก ข. ความโลภ ค. ความหลง ง. ความพยาบาท |
๔. | วิธีแผ่เมตตาที่ถูกต้อง ควรเริ่มที่ใคร ? ก. ตนเอง ข. มิตร ค. ศัตรู ง. สรรพสัตว์ |
๕. | ขอให้สรรพสัตว์พ้นจากทุกข์เถิด เป็นการเจริญอัปปมัญญาใด ? ก. เมตตา ข. กรุณา ค. มุทิตา ง. อุเบกขา |
๖. | สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน เป็นการเจริญอัปปมัญญาใด ? ก. เมตตา ข. กรุณา ค. มุทิตา ง. อุเบกขา |
๑. | มิตรปฏิรูป มีความหมายตรงกับข้อใด ? ก. เพื่อนไม่แท้ ข. เพื่อนร่วมรุ่น ค. เพื่อนนักเรียน ง. เพื่อนบ้าน |
๒. | คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว เป็นลักษณะของมิตรประเภทใด ? ก. คนดีแต่พูด ข. คนปลอกลอก ค. คนหัวประจบ ง. คนชวนทำชั่ว |
๓. | คนดีแต่พูดในมิตรปฏิรูป มีลักษณะเช่นไร ? ก. พูดมาก ข. พูดไร้สาระ ค. ออกปากพึ่งไม่ได้ ง. พูดเพ้อเจ้อ |
๔. | คนหัวประจบ มีลักษณะเช่นไร ? ก. ต่อหน้าสรรเสริญ ข. ชวนเล่นพนัน ค. พึ่งไม่ได้ ง. ชวนเที่ยวกลางคืน |
๕. | เพื่อนหน้าไหว้หลังหลอก จัดเข้าในมิตรประเภทใด ? ก. ปอกลอก ข. ดีแต่พูด ค. หัวประจบ ง. หลอกลวง |
๑. | มิตรแท้ มีลักษณะเช่นไร ? ก. มีอุปการะ ข. ร่วมสุขร่วมทุกข์ ค. แนะนำประโยชน์ ง. ถูกทุกข้อ |
๒. | มิตรมีอุปการะ มีลักษณะเช่นไร ? ก. ป้องกันภัย ข. ตายแทนได้ ค. ร่วมสุขร่วมทุกข์ ง. รักษาความลับ |
๓. | เพื่อนที่ไม่ทิ้งกันในยามมีภัย จัดเข้าในมิตรแท้ประเภทใด ? ก. มีอุปการะ ข. ร่วมสุขร่วมทุกข์ ค. แนะประโยชน์ ง. มีความรักใคร่ |
๔. | มิตรแนะประโยชน์ ตรงกับข้อใด ? ก. ร่วมสุขร่วมทุกข์ ข. รักษาความลับ ค. บอกทางสวรรค์ ง. ไม่ทิ้งกัน |
๕. | โต้แย้งคนที่พูดติเตียนเพื่อน เป็นลักษณะของมิตรประเภทใด ? ก. มีอุปการะ ข. ร่วมสุขร่วมทุกข์ ค. แนะประโยชน์ ง. มีความรักใคร่ |