สุภาษิตที่ ๗ ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับประถมศึกษา

<h1>ททโต ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ เมื่อให้ บุญก็เพิ่มขึ้น</h1>

{getButton} $text={ที่มาสุภาษิต}$color={#009933}
(ที.มหา ๑๐/๑๕๙) = ทีฆนิกาย มหาวรรค


{getButton} $text={ประเด็นของสุภาษิต} $color={#009933}
- เมื่อให้ คือให้อะไร
- เมื่อให้บุญจะเพิ่มขึ้นได้อย่างไร



{getButton} $text={หลักธรรมประกอบ} $color={#009933}
- สังคหวัตถุ ๔
- ทาน ๒ ประเภท
- บุญกิริยาวัตถุ ๓
- เรื่องอื่นๆ (ที่เกี่ยวข้อง)


{getButton} $text={แนวนำมาเขียนอธิบาย} $color={#009933}
ผู้ให้ คืออย่างไร
ผู้ให้ หมายถึง ผู้บริจาคสิ่งของของตนให้แก่ผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน

ทาน คือ การให้ การสงเคราะห์ช่วยเหลือแบ่งปันแก่กันและกัน เป็นเรื่องที่ดีงาม เป็นสิ่งที่ควรทำ เป็นการแสดงถึงความเป็นผู้มีน้ำใจมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คนที่ให้อะไรก่คนอื่นได้นั้น นับว่าเป็นคนที่น่ายกย่องนับถือ เพราะทำสิ่งที่ทำได้ยาก ต้องมีใจเสียสละจริงๆ จึงจะทำได้

การให้มี ๒ ประเภท
คือ ๑)ให้สิ่งของอย่างหนึ่ง และ ๒)ให้ธรรมะ ให้ความรู้ คำแนะนำ หรือการให้อภัยอย่างหนึ่ง การให้นำความสุขและประโยชน์มาให้ทั้งแก่ผู้ให้และผู้รับ เพราะผู้ให้ได้สละความตระหนี่ออกจากจิตใจ แบ่งปันช่วยเหลือสังคม ผู้รับได้สิ่งของไปใช้เติมเต็มสิ่งที่ขาด ช่วยบรรเทาความหิวกระหาย ช่วยให้ชีวิตมีความสุขได

คนที่ควรให้ คือ คนที่มีพระคุณแก่ตน เช่น บิดามารดา คนที่เคยอุปการะตนมา เป็นต้น คนที่มีศีลธรรม เป็นคนดี เป็นคนที่ซื่อสัตย์สุจริต คนที่ยึดมั่นอยู่ในกตัญญูรู้จักบุญคุณคน เป็นต้น

คนที่ไม่ควรให้ คือ คนที่แล้งน้ำใจ คนที่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น คนที่ไม่เคยเห็นความดีของใคร คนที่ชอบรับอย่างเดียว แต่ไม่ชอบให้อะไรแก่ใคร คนที่เห็นแก่ตัว เป็นต้น

เมื่อให้บุญจะเพิ่มขึ้นได้อย่างไร
คือ การให้ การเสียสละ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปันสิ่งของต่างๆ แก่คนอื่น นับว่าเป็นการบำเพ็ญบุญด้วยการให้ทานอย่างหนึ่ง เมื่อให้ทานออกไปบุญก็เพิ่มขึ้น



{getButton} $text={ตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม} $color={#ff0066}
<h3>ตัวอย่างการเขียนอธิบายสุภาษิตกระทู้ธรรมชั้นตรี ๗</h3>

สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า
ADVERTISMENT