ททมาโน ปิโย โหติ "ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก" | กระทู้ธรรมชั้นตรี ระดับอุดม | สุภาษิตที่ ๕

กระทู้ธรรมตรี,กระทู้ธรรมชั้นตรี,เรียงความกระทู้ธรรมชั้นตรี,ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก

อ่านบาลีว่า:
ทะ-ทะ-มา-โน, ปิ-โย, โห-ติ


ตัวอย่างแต่งกระทู้ธรรมชั้นตรี





อ่านแนวนำมาเขียนอธิบาย


ททมาโน ปิโย โหติ
ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก

คำว่า ผู้ให้ คือ ผู้ที่มีจิตใจเสียสละ รู้จักสละให้ปันสิ่งของของตนเองแก่ผู้อื่นด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ มีความโอบอ้อมอารี และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้เพื่อช่วยเหลือคนอื่นในยามที่เขาขัดสนบ้าง ตกทุกข์ได้ยากบ้าง หรือให้เพื่อบูชาคุณของผู้ที่ควรบูชาบ้าง ไม่ว่าจะให้ด้วยเหตุผลใด การให้นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง เพราะผู้ให้ต้องต่อสู้กับความตระหนี่ถี่เหนียวที่ติดอยู่กับจิตใจของตน

เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีปกติให้ ย่อมเป็นที่รักของผู้ได้รับ และย่อมจะได้รับมิตรภาพจากผู้รับเสมอ การให้หรือเป็นผู้ให้จึงเป็นสิ่งที่น่าสรรเสริญ และควรทำเป็นอย่างยิ่ง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสรรเสริญผู้ให้ ว่าผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของคนอื่น

การให้มี ๒ ประเภท
คือ ๑)ให้สิ่งของอย่างหนึ่ง และ ๒)ให้ธรรมะ ให้ความรู้ คำแนะนำ หรือการให้อภัยอย่างหนึ่ง การให้นำความสุขและประโยชน์มาให้ทั้งแก่ผู้ให้และผู้รับ เพราะผู้ให้ได้สละความตระหนี่ออกจากจิตใจ แบ่งปันช่วยเหลือสังคม ผู้รับได้สิ่งของไปใช้เติมเต็มสิ่งที่ขาด ช่วยบรรเทาความหิวกระหาย ช่วยให้ชีวิตมีความสุขได

คนที่ควรให้ คือ คนที่มีพระคุณแก่ตน เช่น บิดามารดา คนที่เคยอุปการะตนมา เป็นต้น คนที่มีศีลธรรม เป็นคนดี เป็นคนที่ซื่อสัตย์สุจริต คนที่ยึดมั่นอยู่ในกตัญญูรู้จักบุญคุณคน เป็นต้น

คนที่ไม่ควรให้ คือ คนที่แล้งน้ำใจ คนที่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น คนที่ไม่เคยเห็นความดีของใคร คนที่ชอบรับอย่างเดียว แต่ไม่ชอบให้อะไรแก่ใคร คนที่เห็นแก่ตัว เป็นต้น

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักได้อย่างไร
คือ ผู้ที่รู้จักเป็นแบ่งปันวัตถุสิ่งของๆตนเพื่อประโยชน์แก่คนอื่น ด้วยความเต็มใจ จริงใจและปรารถนาดีต่อผู้รับ แสดงความเอื้ออาทรต่อคนอื่นที่ตนแวดล้อมอยู่ ย่อมจะเป็นที่รักที่ชอบใจของคนอื่น

สุภาษิตมาใน:
อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต
ตัวย่อสุภาษิต:
(องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๔๔)


แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า