(ขุ.ธ. ๒๕/๔๐) = ขุททกนิกาย ธรรมบท
- ขันติเป็นตบะอย่างไร
- ความอดทน ๒ ลักษณะ
- เรื่องอื่นๆ (ไม่บังคับ)
ขันติ คือ ความอดทน หมายถึง ความยืนหยัดไม่ท้อถอย ความอดกลั้นต่อสิ่งต่างๆ ที่มากระทบกายและใจ ได้แก่ ความร้อน หนาว และกิเลส คือ โลภ โกรธ หลง เป็นต้น
อดทน ๒ ลักษณะ
๑) อดทนต่อสิ่งเย้ายวน ทำให้หลงใหลอยากได้มาครอง
๒) อดทนต่อสิ่งยั่วเย้า ทำให้หงุดหงิดรำคาญใจ เกิดความโกรธขึ้น
เหตุที่ควรอดทน ๔ อย่าง
๑. อดทนต่อความลำบากตรากตรำ เช่น ไม่แสดงอาการท้อแท้เหนื่อยหน่าย เช่น ทนร้อน ทนหนาว ทนหิวกระหาย เป็นต้น
๒. อดทนต่อทุกขเวทนา เช่น ไม่แสดงอาการทุรนทุรายจนเกินควรเมื่อประสบความเจ็บไข้ได้ป่วย
๓. อดททนต่อความเจ็บใจ เช่น ไม่แสดงอาการโกรธ หรือไม่พอใจเมื่อถูกกระทบกระแทกแดกดันเสียดสี
๔. อดทนต่ออำนาจของกิเลส เช่น ไม่เป็นไปตามอำนาจของกิเลสที่เข้ามายั่วยวนให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น
ขันติเป็นตบะอย่างไร
คือ การอาศัยความอดทนเป็นตบะ ที่จะเผาหรือขจัดกิเลสในใจของตนได้ ดังนั้นจึงต้องมี ขันติ คือความอดทนอดกลั้นจึงจะสามารถทำสิ่งนั้นได้สำเร็จ ถ้าหากขาดขันติเป็นฐานแล้วกิจที่ทำก็อาจล้มเหลว ไปไม่ถึงความเร็จได้
สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}