สุภาษิตที่ ๖ ธรรมศึกษาชั้นโท ระดับประถมศึกษา

<h1>ผู้ให้สิ่งที่เลิศ สิ่งที่ดี สิ่งที่ประเสริฐ...</h1>

{getButton} $text={ที่มาสุภาษิต}$color={#009933}
(องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๕๖) = อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต


{getButton} $text={ประเด็นของสุภาษิต} $color={#009933}
- ให้ของดีเลิศคือให้อย่างไร
- เมื่อให้ของดีเลิศแล้วได้ผลอย่างไร


{getButton} $text={หลักธรรมประกอบ} $color={#009933}
- ทาน ๒ เภท
- อานิสงส์การให้ทาน ๕
- ยกเรื่องนางปัญจปาปามาอ้าง
- เรื่องอื่นๆ (ที่เกี่ยงข้อง)


{getButton} $text={แนวนำมาเขียนอธิบาย} $color={#009933}
ทาน คืออะไร
ทาน คือ การให้ การสงเคราะห์ช่วยเหลือแบ่งปันแก่กันและกัน เป็นเรื่องที่ดีงาม เป็นสิ่งที่ควรทำ เป็นการแสดงถึงความเป็นผู้มีน้ำใจมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คนที่ให้อะไรก่คนอื่นได้นั้น นับว่าเป็นคนที่น่ายกย่องนับถือ เพราะทำสิ่งที่ทำได้ยาก ต้องมีใจเสียสละจริงๆ จึงจะทำได้

ทาน ๒ ประเภท คือ
๑. อามิสทาน การให้วัตถุสิ่งของ เรียกว่า ทานวัตถุ เช่น อาหาร น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม สบู ยาสีฟัน ที่นอน ที่อยู่อาศัย ประทีปโคมไฟ เป็นต้น และ
๒. ธรรมทาน การให้ความรู้ ให้ข้อแนะนำในการดำเนินชีวิต เพื่อชักนำบุคคลให้เว้นจากความชั่ว ให้ทำแต่ความดี ประพฤติตนสุจริตยุติธรรม เป็นต้น

อานิสงส์ของการให้ทาน ๕ ประการ
๑) เป็นที่รักของคนหมู่มาก
๒) บุคคลย่อมคบหา
๓) เป็นคนที่มีชื่อเสียง
๔) เข้าสู่สมาคมใดย่อมองอาจไม่เก้อเขิน
๕) หลังจากตายไปย่อมเกิดในสุคติภูมิ

ของดี
หมายถึง ของที่ใช้ประโยชน์ได้ ของที่ไม่เสียหาย

ของที่ดีเลิศ
๑) ต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ คือได้มาด้วยความสุจริตไม่ผิดศีลธรรม
๒) ต้องเป็นของที่ไม่ผ่านการใช้สอย
๓) ต้องเป็นของที่มีประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้รับ คือผู้รับรับไปแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ยิ่งมีประโยชน์มากเพียงใด ก็ยิ่งมีอานิสงส์มาก

ทานจะมีผลานิสงส์มาก
คือ ผู้ให้ต้องมีเจตนาที่บริสุทธิ์ คือเต็มใจให้ทั้งก่อนให้ กำลังให้ และหลังจากให้ไปแล้วไม่นึกเสียดาย และที่สำคัญเมื่อให้ควรให้แก่ผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์ มีกิเลสน้อย จึงจักให้ผลอย่างสมบูรณ์

เมื่อให้ทานอันเลิศจะได้รับผลอย่างไร
ให้ยกตัวอย่างเรื่องนางปัญจปาปามาเขียนก็ได้ (อานิสงส์ เช่น ทำให้มีสัมผัสที่น่ายินดี คนรักคนหลง ใครแตะต้องแล้วเป็นต้องหลงรักทุกคน)



{getButton} $text={ตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม} $color={#ff0066}
<h3>ตัวอย่างการเขียนอธิบายสุภาษิตกระทู้ธรรมชั้นโท ๖</h3>


{getButton} $text={ให้เชื่อมด้วยสุภาษิต} $color={#0099ff}
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๑ ธ.ศ.ชั้นโท ประถมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๒ ธ.ศ.ชั้นโท ประถมศึกษา</h3>

สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}