สุภาษิตที่ ๔ ธรรมศึกษาชั้นโท ระดับประถมศึกษา

h1>ผู้มีขันติ ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสนา...</h1>

{getButton} $text={ที่มาสุภาษิต}$color={#009933}
(สํ.ม. ๒๒๒) = หนังสือสวดมนต์ฉบับหลวง


{getButton} $text={ประเด็นของสุภาษิต} $color={#009933}
- ผู้มีขันติ คืออย่างไร
- เหตุใดผู้มีขันติจึงชื่อว่าทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
- เหตุใดผู้มีขันติจึงชื่อว่าเป็นการบูชาด้วยการบูชาอันยิ่ง


{getButton} $text={หลักธรรมประกอบ} $color={#009933}
- ปธาน ๔
- บูชา ๒
- กุศลมูลและอกุศลมูล ๓
- เรื่องอื่นๆ (ที่เกี่ยวข้อง)


{getButton} $text={แนวนำมาเขียนอธิบาย} $color={#009933}
ขันติ คืออะไร
ขันติ คือ ความอดทน อดกลั้นต่อสิ่งที่มากระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่แสดงอาการทุกข์ร้อน ความโกรธ ความไม่พอใจหรือฉุนเฉียวออกมาให้เห็น จัดตามเหตุที่ควรอดทนเป็น ๔ ประเภทคือ

๑. อดทนต่อความยากลำบากตรากตรำ
คือ ความอดทนต่อความทุกข์ยากลำบากในการทำงานอันเป็นสัมมาอาชีพ ในการศึกษาเล่าเรีบยน ไม่แสดงอาการท้อแท้เหนื่อยหน่าย เช่น ทนร้อน ทนหนาว ทรหิวกระหายเป็น

๒. อดทนต่อทุกขเวทนา
คือ อดทนต่อความเจ็บป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บทางกาย ไม่แสดงอาการทุรนทุรายจนเกินเหตุ

๓. อดททนต่อความเจ็บใจ
คือ อดทนต่อการทำล่วงเกินของคนอื่น เช่น อดทนต่อคำด่า คำเสียดสี หรือทนต่ออารมณ์ที่ทำให้เกิดความเจ็บใจต่างๆ

๔. อดทนต่ออำนาจของกิเลส
คือ อดทนต่ออารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามายั่วยวนให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลงทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันจะนำไปสู่การกระทำที่ผิดศีลธรรม

ผู้มีขันติ ในที่นี้
มุ่งหมายถึง ความอดทนต่อการบำเพ็ญเพียรเพื่อเผากิเลส เพื่อกำจัดบาปธรรมทั้งหลายให้เสื่อมไป แล้วก่อกุศลธรรมทั้งหลายให้เจริญขึ้นแทน

ที่ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
คือ ผู้มีขันติเมื่อกำจัดบาปธรรมทั้งหลายให้เสื่อมไป แล้วก่อกุศลธรรมทั้งหลายให้เจริญขึ้นแทน ด้วยหลักปธาน ๔ คือ ๑.สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น ๒.ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ๓.ภาวนาปธาน เพียรทำกุศลให้เกิดขึ้น และ ๔.อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป จึงชื่อว่า ทำตามคำสอนของพระศาสดา

ที่ชื่อว่าบูชาพระชินเจ้าด้วยบูชาอันยิ่ง
คือ ผู้มีขันติอดทนต่อการทำความเพียรนั้นจะเกิดขึ้นได้ด้วยการลงมือปฏิบัติเท่านั้น หากมีแต่อดทนเฉยๆ แต่ไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่อาจบรรลุถึงธรรมขั้นสูงขึ้นไปได้ ดังนั้นผู้มีความอดทนต่อการบำเพ็ญเพียรธรรมถือว่าเป็นการบูชาด้วยการปฏิบัติบูชา เป็นยอดกว่าอามิสบูชา จึงชื่อว่า บูชาพระชินเจ้าด้วยบูชาอันยิ่ง



{getButton} $text={ตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม} $color={#ff0066}
<h3>ตัวอย่างการเขียนกระทู้ธรรมชั้นโท สุภาษิตที่ ๔</h3>


{getButton} $text={ให้เชื่อมด้วยสุภาษิต} $color={#0099ff}
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๑ ธ.ศ.ชั้นโท ประถมศึกษา</h3>
<h3>สุภาษิตเชื่อมที่ ๒ ธ.ศ.ชั้นโท ประถมศึกษา</h3>

สำหรับ "การเขียนแต่งเรียงความแก้กระทู้ธรรม" ของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับทักษะในการเขียนถ่ายทอดความรู้ได้มากน้อยกว่ากัน นักเรียนที่ขยันหาความรู้และหมั่นฝึกฝนฝึกเขียน ย่อมจะมีทักษะในการเขียนกระทู้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น ในตัวอย่างการเขียนแต่งกระทู้ธรรมที่แนะนำไว้นี้ เป็นตัวอย่างไว้ให้ได้ศึกษา นักเรียนจะได้รู้แนวทางในการเขียน และเข้าใจบทสุภาษิตที่จะต้องเขียนแต่งกระทู้มากขึ้น และนำไปหัดฝึกเขียนกระทู้ธรรมของนักเรียนต่อไป {alertInfo}

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า