เก็งข้อสอบวิชาธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป
๑. | ข้อใด เป็นธรรมมีอุปการะมาก ? ก. สติ สัมปชัญญะ ข. หิริ โอตตัปปะ ค. ขันติ โสรัจจะ ง. กตัญญู กตเวที |
๒. | คนที่ทำ พูด คิด ผิดพลาดอยู่เสมอเพราะขาดธรรมข้อใด ? ก. สติ สัมปชัญญะ ข. หิริ โอตตัปปะ ค. ขันติ โสรัจจะ ง. กตัญญู กตเวที |
๓. | ข้อใดเป็นความหมายของสติ ? ก. ความระลึกได้ ข. ความรู้ตัว ค. ความรอบรู้ ง. ความจำได้ |
๔. | สติ ควรใช้เวลาไหน ? ก. ขณะทำพูดคิด ข. ก่อนทำพูดคิด ค. หลังทำพูดคิด ง. ทำพูดคิดแล้ว |
๕. | เราควรใช้สัมปชัญญะเมื่อใด ? ก. ขณะทำ พูด คิด ข. ก่อนทำ พูด คิด ค. หลังทำ พูด คิด ง. ก่อนทำ ขณะพูด คิด |
๖. | ข้อใดเป็นลักษณะของคนมีสัมปชัญญะ ? ก. กล้าหาญอดทน ข. ซื่อสัตย์สุจริต ค. ไม่ประมาท ง. อายชั่วกลัวบาป |
๗. | คนขาดสติสัมปชัญญะมีลักษณะเช่นไร ? ก. โงเขลา ข. ประมาท ค. ขาดความละอาย ง. ไร้ความรับผิดชอบ |
๘. | สัมปชัญญะ มีความหมายตรงกับข้อใด ? ก. ความระลึกได้ ข. ความรู้ตัว ค. ความรอบรู้ ง. ความทรงจำ |
๙. | ผู้มีความรอบคอบทำงานไม่ผิดพลาด เพราะมีธรรมอะไร ? ก. หิริโอตตัปปะ ข. ขันติโสรัจจะ ค. สติสัมปชัญญะ ง. กตัญญูกตเวที |
๑๐. | พหุปการธรรม หมายถึงข้อใด ? ก. หิริ โอตตัปปะ ข. ขันติ โสรัจจะ ค. กตัญญู กตเวที ง. สติ สัมปชัญญะ |
๑๑. | บุคคลใดควรใช้สติสัมปชัญญะมากที่สุด ? ก. คนข้ามถนน ข. คนขับรถ ค. คนซื้อสลาก ง. คนขายสลาก |
๑๒. | คำว่า พลั้งปากเสียศีล พลั้งตีนตกต้นไม้ เพราะขาดธรรมใด ? ก. สติ ข. ศีล ค. สมาธิ ง. ปัญญา |
๑๓. | ธรรมใด เป็นอุปมาดุจหางเสือเรือ ? ก. หิริ ข. โอตตัปปะ ค. สติ ง. ขันติ |
๑. | ธรรมข้อใดเป็นพื้นฐานให้คนมีศีล ? ก. สติ สัมปชัญญะ ข. ขันติ โสรัจจะ ค. หิริ โอตตัปปะ ง. กตัญญู กตเวที |
๒. | หิริโอตตัปปะ จัดเป็นธรรมอะไร ? ก. มีอุปการะมาก ข. คุ้มครองโลก ค. ธรรมอันทำให้งาม ง. ธรรมของโลก |
๓. | คนมีหิริมีลักษณะเช่นใด ? ก. รังเกียจคนชั่ว ข. ละอายบาป ค. เกรงกลัวบาป ง. เกรงกลัวคนชั่ว |
๔. | คนมีโอตตัปปะมีลักษณะเช่นใด ? ก. รังเกียจคนชั่ว ข. ละอายบาป ค. เกรงกลัวบาป ง. เกรงกลัวคนชั่ว |
๕. | ธรรมคุ้มครองโลก หมายถึงธรรมประเภทใด ? ก. พหุปการธรรม ข. ธรรมเป็นโลกบาล ค. โสภณธรรม ง. ทุลลภบุคคล |
๖. | หิริโอตตัปปะ เรียกอีกอย่างว่าอะไร ? ก. พหุปการธรรม ข. โสภณธรรม ค. สุกกธรรม ง. ทุลลภบุคคล |
๗. | อยากเป็นเทวดา ควรประพฤติธรรมใด ? ก. สติสัมปชัญญะ ข. หิริ โอตตัปปะ ค. ขันติ โสรัจจะ ง. กตัญญู กตเวที |
๘. | ละอายชั่วกลัวบาป เป็นความหมายของธรรมใด ? ก. หิริ โอตตัปปะ ข. สติ สัมปชัญญะ ค. ขันติ โสรัจจะ ง. กตัญญู กตเวที |
๙. | เทวธรรม หมายถึงข้อใด ? ก. สติสัมปชัญญะ ข. หิริโอตตัปปะ ค. ขันติโสรัจจะ ง. กตัญญูกตเวที |
๑. | ธรรมข้อใดทำให้งดงามทั้งภายในภายนอก ? ก. หิริ โอตตัปปะ ข. สติ สัมปชัญญะ ค. ขันติ โสรัจจะ ง. กตัญญู กตเวที |
๒. | ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของขันติ ? ก. ทนทำงาน ข. ทนลำบาก ค. ทนหิว ง. ทนเล่นเกมส์ |
๓. | ผู้ถูกดูหมิ่นให้เจ็บใจแต่ยิ้มแย้มได้ เพราะมีธรรมข้อใด ? ก. หิริ ข. สติ ค. โสรัจจะ ง. ขันติ |
๔. | ความงามในข้อใดสำคัญที่สุด ? ก. งามจิตใจ ข. งามมารยาท ค. งามกาย ง. งามเครื่องประดับ |
๕. | ข้อใดเป็นลักษณะของผู้มีความงามตามหลักธรรม ? ก. ไม่ยินดียินร้าย ข. อดกลั้นไม่หวั่นไหว ค. ไม่กระวนกระวาย ง. ไม่ตื่นตระหนก |
๖. | อาภรณ์แต่งกาย แต่ใจแต่งด้วยธรรม หมายถึงข้อใด ? ก. สติสัมปชัญญะ ข. หิริโอตตัปปะ ค. ขันติโสรัจจะ ง. เมตตากรุณา |
๗. | งามอะไรไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา ? ก. เสื้อผ้า ข. กิริยา ค. หน้าตา ง. คุณธรรม |
๘. | คนมีขันติ มีลักษณะเช่นใด ? ก. ทนต่อการศึกษา ข. ทนเล่นเกมส์ ค. ทนดูหนัง ง. ทนดูกีฬา |
๙. | อดทนต่อการเจ็บป่วย จัดเป็นความอดทนในเรื่องใด ? ก. ความลำบาก ข. ทุกขเวทนา ค. ความเจ็บใจ ง. อำนาจกิเลส |
๑๐. | ขันติโสรัจจะ เรียกอีกอย่างว่าอะไร ? ก. โสภณธรรม ข. พหุปการธรรม ค. สุกกธรรม ง. เทวธรรม |
๑. | ผู้ทำอุปการะก่อน เรียกว่าอะไร ? ก. กตัญญู ข. กตเวที ค. กตัญญูกตเวที ง. บุพพการี |
๒. | ผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วตอบแทน เรียกว่าอะไร ? ก. กตัญญู ข. กตเวที ค. กตัญญูกตเวที ง. บุพพการี |
๓. | คนเรามักลืมบุญคุณผู้อื่น พระพุทธศาสนาจึงสอนเรื่องใด ? ก. ความมีเมตตา ข. ความซื่อสัตย์ ค. ความเสียสละ ง. ความกตัญญู |
๔. | บุพพการีชน หมายถึงใคร ? ก. พระมหากษัตริย์ ข. บิดามารดา ค. ครูอาจารย์ ง. ถูกทุกข้อ |
๕. | ผู้ทำอุปการะโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน คือใคร ? ก. เพื่อนสนิท ข. ญาติสนิท ค. บุตรธิดา ง. บิดามารดา |
๖. | คำว่า พระในบ้าน หมายถึงข้อใด ? ก. พระพุทธรูป ข. พระภูมิเจ้าที่ ค. พ่อ แม่ ง. ปู่ ย่าตายาย |
๗. | จะรู้ได้อย่างไรว่า คนที่เราคบเป็นคนดี ? ก. อัธยาศัยดี ข. ขยันทำงาน ค. รู้จักแทนคุณ ง. ขยันเรียน |
๘. | ธรรมข้อใดจัดเป็นเครื่องหมายของคนดี ? ก. กตัญญูกตเวที ข. เมตตากรุณา ค. ประหยัดอดออม ง. ขยันอดทน |
๙. | ไม้เท้าผู้เฒ่าดีกว่าลูกเต้าอกตัญญู จัดเป็นลูกประเภทใด ? ก. เนรคุณ ข. ตอบแทนคุณ ค. รู้บุญคุณ ง. ทำบุญคุณ |
๑. | ชาวพุทธต้องยึดถืออะไรเป็นที่พึ่งที่ระลึก ? ก. พระรัตนตรัย ข. พระไตรปิฎก ค. โอวาทปาติโมกข์ ง. ไตรสิกขา |
๒. | ผู้รู้ดีรู้ชอบและสอนให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม หมายถึงใคร ? ก. พระพุทธเจ้า ข. พระปัจเจกพุทธเจ้า ค. พระอรหันต์ ง. พระสาวก |
๓. | พระธรรม คืออะไร ? ก. ระเบียบ ข. คำสั่งสอน ค. คำตักเตือน ง. กติกา |
๔. | ข้อใด เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ ? ก. สอนให้มีโชค ข. สอนให้มีลาภ ค. สอนให้ทำความดี ง. สอนให้รวย |
๑. | รากเหง้าของอกุศลเรียกว่าอะไร ? ก. อกุศลมูล ข. อวิชชา ค. บาป ง. มาร |
๒. | อกุศลมูล เกิดขึ้นแล้วควรละด้วยวิธีปฏิบัติอย่างไร ? ก. ให้ทาน ข. รักษาศีล ค. เจริญภาวนา ง. ถูกทุกข้อ |
๓. | อกุศลมูลใด เป็นเหตุแห่งการฉ้อโกง ? ก. โลภะ ข. โทสะ ค. โมหะ ง. ราคะ |
๔. | อกุศลมูลใด เป็นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท ? ก. โลภะ ข. โทสะ ค. โมหะ ง. ราคะ |
๕. | อกุศลมูลใด เป็นเหตุแห่งการหลงงมงาย ? ก. โลภะ ข. โทสะ ค. โมหะ ง. ราคะ |
๑. | อโทสะ แก้ปัญหาเรื่องใด ? ก. ใส่ร้าย ข. ทุจริต ค. งมงาย ง. วิวาท |
๑. | สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ เรียกว่าอะไร ? ก. บุญกิริยา ข. ไทยทาน ค. สังคหวัตถุ ง. บุญกิริยาวัตถุ |
๒. | บันใดขั้นแรกในการสร้างบุญ คือข้อใด ? ก. ปัตติทานมัย ข. ทานมัย ค. สีลมัย ง. ภาวนามัย |
๓. | ผลบุญย่อมติดตามผู้กระทำ เปรียบเหมือนอะไร ? ก. มิตรสหาย ข. เจ้าหนี้ ค. เงา ง. ลูกหน |
๔. | การบริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัย จัดเข้าในข้อใด ? ก. ทานมัย ข. สีลมัย ค. ภาวนามัย ง. อปจายนมัย |
๕. | ผู้ถูกความตระหนี่ครอบงำควรประพฤติธรรมใด ? ก. บริจาคทาน ข. รักษาศีล ค. เจริญภาวนา ง. สำรวมอินทรีย์ |
๖. | ทำบุญแบบประหยัดฝึกหัดกาย ตรงกับข้อใด ? ก. ทานมัย ข. สีลมัย ค. ภาวนามัย ง. ปัตติทานมัย |
๗. | อยากสวยงามต้องบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุข้อใด ? ก. ให้ทาน ข. รักษาศีล ค. เจริญภาวนา ง. ฟังธรรม |
๘. | การสวดมนต์ จัดเข้าในการทำบุญประเภทใด ? ก. ทานมัย ข. สีลมัย ค. ภาวนามัย ง. อนุโมทนามัย |
๑. | ผู้มีอัตตาธิปไตย มีลักษณะเช่นไร ? ก. ถือความเห็นของตน ข. ถือความเห็นพวกพ้อง ค. ถือความเห็นหมู่ญาติ ง. ถือความเห็นส่วนรวม |
๒. | การทำงานมุ่งความถูกต้อง จัดว่ามีอธิปไตยใด ? ก. อัตตาธิปไตย ข. โลกาธิปไตย ค. ธรรมาธิปไตย ง. ประชาธิปไตย |
๓. | ผู้มีอัตตาธิปไตย คือถืออะไรเป็นใหญ่ ? ก. ตนเอง ข. พวกพ้อง ค. หมู่ญาติ ง. บริวาร |
๔. | ทำดีตามกระแสนิยมเพื่อให้ผู้อื่นยกย่องตรงกับข้อใด ? ก. อัตตาธิปไตย ข. โลกาธิปไตย ค. ธัมมาธิปไตย ง. ถูกทุกข้อ |
๕. | เห็นคนส่วนใหญ่ทำบุญจึงทำตาม จัดเข้าในอธิปไตยใด ? ก. อัตตาธิปไตย ข. โลกาธิปไตย ค. ธัมมาธิปไตย ง. ประชาธิปไตย |
๖. | ความเป็นใหญ่ ใครๆ ก็ชอบ ถืออะไรเป็นใหญ่จึงจะดี ? ก. ถือตน ข. ถือเสียงข้างมาก ค. ถือประชาชน ง. ถือธรรมะ |
๗. | คำว่า ทำตามใจคือไทยแท้ จัดเข้าในอธิปไตยใด ? ก. อัตตาธิปไตย ข. โลกาธิปไตย ค. ธัมมาธิปไตย ง. ประชาธิปไตย |
๘. | ประชาธิปไตย จัดเข้าในอธิปไตยใด ? ก. อัตตาธิปไตย ข. โลกาธิปไตย ค. ธัมมาธิปไตย ง. ถูกทุกข้อ |
๙. | ประชาธิปไตยที่แท้จริงมุ่งประโยชน์เพื่อใคร ? ก. คนร่ำรวย ข. คนยากจน ค. คนมีอำนาจ ง. ทุกๆ คน |
๑. | ลักษณะที่มีเสมอกันในคนทั่วไป เรียกว่าอะไร ? ก. อนิจจตา ข. ทุกขตา ค. อนัตตตา ง. สามัญญลักษณะ |
๒. | ความไม่เที่ยง มีความหมายตรงกับข้อใด ? ก. อนิจจตา ข. ทุกขตา ค. อนัตตตา ง. ถูกทุกข้อ |
๑. | จะรักษาความยุติธรรม ต้องเว้นจากอะไร ? ก. อบายมุข ข. อกุศล ค. อคติ ง. ทุจริต ง. ภยาคติ |
๒. | คำว่าค่าของคนอยู่ที่คนของใคร จัดเข้าในอคติข้อใด ? ก. ฉันทาคติ ข. โทสาคติ ค. โมหาคติ ง. ภยาคติ ง. ภยาคติ |
๓. | ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน ชื่อว่ามีอคติใด ? ก. ฉันทาคติ ข. โทสาคติ ค. โมหาคติ ง. ภยาคติ ง. ภยาคติ |
๔. | ความอยุติธรรมจากการไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริงตรงกับข้อใด ? ก. ฉันทาคติ ข. โทสาคติ ค. โมหาคติ ง. ภยาคติ |
๕. | ลำเอียงเพราะกลัวหรือเกรงใจ ตรงกับข้อใด ? ก. ฉันทาคติ ข. โทสาคติ ค. โมหาคติ ง. ภยาคติ ง. ภยาคติ |
๑. | อำนาจมืด ก่อให้เกิดอคติใด ? ก. ฉันทาคติ ข. โทสาคติ ค. โมหาคติ ง. ภยาคติ ง. ภยาคติ |
๖. | พ่อแม่ตามใจลูกจนเสียคน สงเคราะห์เข้าในอคติใด ? ก. ฉันทาคติ ข. โทสาคติ ค. โมหาคติ ง. ภยาคติ |
๑. | ปหานปธาน ทำหน้าที่อะไร ? ก. ป้องกันอกุศล ข. เจริญกุศล ค. ละอกุศล ง. รักษากุศล |
๒. | ภาวนาปธาน ทำหน้าที่อะไร ? ก. ป้องกันอกุศล ข. เจริญกุศล ค. ละอกุศล ง. รักษากุศล |
๑. | อิทธิบาท ๔ กล่าวถึงข้อใดก่อน ? ก. ฉันทะ ข. วิริยะ ค. จิตตะ ง. วิมังสา |
๒. | นักเรียนผู้ต้องการจะเรียนหนังสือให้ได้ผลดี จะนำวิริยะมาใช้อย่างไร ? ก. สร้างความพอใจที่จะเรียน ข. ใฝ่ใจใคร่รู้สิ่งต่าง ๆ ค. พิจารณาทบทวนให้เข้าใจ ง. ขยันศึกษาหาความรู้ |
๓. | นักเรียนผู้ต้องการจะเรียนหนังสือให้ได้ผลดี จะนำวิมังสามาใช้อย่างไร ? ก. สร้างความพอใจที่จะเรียน ข. ใฝ่ใจใคร่รู้สิ่งต่าง ๆ ค. พิจารณาทบทวนให้เข้าใจ ง. ขยันศึกษาหาความรู้ |
๑. | เมื่อเพื่อนร่วมงานได้เลื่อนตำแหน่ง ไม่คิดริษยา พลอย
ยินดีกับเขาด้วยชื่อว่าปฏิบัติตามพรหมวิหารธรรมข้อใด ? ก. เมตตา ข. กรุณา ค. มุทิตา ง. อุเบกขา |
๒. | ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น จัดเป็นพรหมวิหารข้อใด ? ก. เมตตา ข. กรุณา ค. มุทิตา ง. อุเบกขา |
๓. | พรหมวิหารใด ควรใช้ต่อบุคคลเมื่อไม่สามารถจะช่วยเหลือได้ ? ก. เมตตา ข. กรุณา ค. มุทิตา ง. อุเบกขา |
๔. | ความสงสารปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์ จัดเป็นพรหมวิหารข้อใด ? ก. เมตตา ข. กรุณา ค. มุทิตา ง. อุเบกขา |
๑. | ไม่สบายกายไม่สบายใจชื่อว่าทุกข์ เพราะเหตุใด ? ก. ทนได้ยาก ข. เห็นได้ยาก ค. รักษาได้ยาก ง. ติดตามได้ยาก |
๒. | ทุกข์ในอริยสัจ เกิดจากอะไร ? ก. กิเลส ข. กรรม ค. วิบาก ง. ตัณหา |
๓. | ความทะยานอยากจัดเข้าในข้อใด ? ก. ทุกข์ ข. สมุทัย ค. นิโรธ ง. มรรค |
๔. | ความจริงอันประเสริฐ หมายถึงธรรมใด ? ก. ปธาน ๔ ข. อิทธิบาท ๔ ค. อริยสัจ ๔ ง. พรหมวิหาร ๔ |
๕. | ความไม่สบายกายไม่สบายใจ เรียกว่าอะไร ? ก. ทุกข์ ข. สมุทัย ค. นิโรธ ง. มรรค |
๖. | ในอริยสัจ ๔ ข้อใดควรละ ? ก. ทุกข์ ข. สมุทัย ค. นิโรธ ง. มรรค |
๗. | ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หมายถึงข้อใด ? ก. ทุกข์ ข. สมุทัย ค. นิโรธ ง. มรรค |
๑. | เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เรียกว่าอะไร ? ก. อนุปุพพีกถา ข. ทานกถา ค. สีลกถา ง. สัคคกถา |
๒. | คนมีจิตใจตระหนี่ ควรฟังอนุปุพพีกถาข้อใด ? ก. ทานกถา ข. สีลกถา ค. สัคคกถา ง. กามาทีนวกถา |
๓. | คนประเภทไหน ควรฟังกามาทีนวกถา ? ก. คนโลภ ข. คนโกรธ ค. คนลุ่มหลง ง. คนมักมากในกาม |
๑. | มิตรปฏิรูป มีความหมายตรงกับข้อใด ? ก. เพื่อนไม่แท้ ข. เพื่อนร่วมรุ่น ค. เพื่อนนักเรียน ง. เพื่อนบ้าน |
๒. | คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว เป็นลักษณะของมิตรประเภทใด ? ก. คนดีแต่พูด ข. คนปลอกลอก ค. คนหัวประจบ ง. คนชวนทำชั่ว |
๓. | คนดีแต่พูดในมิตรปฏิรูป มีลักษณะเช่นไร ? ก. พูดมาก ข. พูดไร้สาระ ค. ออกปากพึ่งไม่ได้ ง. พูดเพ้อเจ้อ |
๔. | คนหัวประจบ มีลักษณะเช่นไร ? ก. ต่อหน้าสรรเสริญ ข. ชวนเล่นพนัน ค. พึ่งไม่ได้ ง. ชวนเที่ยวกลางคืน |
๕. | เพื่อนหน้าไหว้หลังหลอก จัดเข้าในมิตรประเภทใด ? ก. ปอกลอก ข. ดีแต่พูด ค. หัวประจบ ง. หลอกลวง |
๑. | มิตรแท้ มีลักษณะเช่นไร ? ก. มีอุปการะ ข. ร่วมสุขร่วมทุกข์ ค. แนะนำประโยชน์ ง. ถูกทุกข้อ |
๒. | มิตรมีอุปการะ มีลักษณะเช่นไร ? ก. ป้องกันภัย ข. ตายแทนได้ ค. ร่วมสุขร่วมทุกข์ ง. รักษาความลับ |
๓. | เพื่อนที่ไม่ทิ้งกันในยามมีภัย จัดเข้าในมิตรแท้ประเภทใด ? ก. มีอุปการะ ข. ร่วมสุขร่วมทุกข์ ค. แนะประโยชน์ ง. มีความรักใคร่ |
๔. | มิตรแนะประโยชน์ ตรงกับข้อใด ? ก. ร่วมสุขร่วมทุกข์ ข. รักษาความลับ ค. บอกทางสวรรค์ ง. ไม่ทิ้งกัน |
๕. | โต้แย้งคนที่พูดติเตียนเพื่อน เป็นลักษณะของมิตรประเภทใด ? ก. มีอุปการะ ข. ร่วมสุขร่วมทุกข์ ค. แนะประโยชน์ ง. มีความรักใคร่ |
๑. | การดื่มน้ำเมา มีโทษอย่างไร ? ก. ไม่รักษาตัว ข. ก่อการทะเลาะวิวาท ค. ถูกใส่ความ ง. ก่อเวร |
๒. | การเที่ยวกลางคืน มีโทษอย่างไร ? ก. เสียทรัพย์ ข. ถูกติเตียน ง. ชื่อว่าไม่รักษาตัว ง. ก่อวิวาท |
๓. | การคบคนชั่วเป็นมิตร ก่อให้เกิดผลอย่างไร ? ก. ติดการพนัน ข. เจ้าชู้ ค. ติดสุรา ง. ถูกทุกข้อ |
๑. | ในทิศ ๖ ศิษย์พึงปฏิบัติต่ออาจารย์อย่างไร ? ก. ดำรงวงศ์สกุล ข. เลี้ยงท่านตอบ ค. เชื่อฟังคำสอน ง. ไม่ดูหมิ่น |
๒. | ห้ามทำความชั่วทำความดีเป็นความอนุเคราะห์ของ ? ก. มารดา-บิดา ข. ครู-อาจารย์ ค. ภรรยา-สามี ง. บุตร-ธิดา |
๓. | ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ข้อใด ? ก. ครูอาจารย์ ข. มารดาบิดา ค. บุตรภรรยา ง. มิตรสหาย |
๔. | ยกย่องเชิดชูครู ไม่เจ้าชู้นอกใจ เป็นหน้าที่ของใคร ? ก. สามี ข. ภรรยา ค. นาย ง. ครูอาจารย์ |
๕. | ตื่นก่อน นอนทีหลัง เป็นหน้าที่ใครปฏิบัติต่อใคร ? ก. ลูก-พ่อแม่ ข. ภรรยา-สามี ค. ศิษย์-ครู ง. บ่าว-นาย |
๖. | อุปริมทิส คือทิศเบื้องบน หมายถึงบุคคลในข้อใด ? ก. บิดามารดา ข. ครูอาจารย์ ค. สมณพราหมณ์ ง. มิตรสหาย |
๗. | ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี เป็นหน้าที่ของใคร ? ก. ครูอาจารย์ ข. บิดามารดา ค. สามีภรรยา ง. บุตรธิดา |
๘. | ทักขิณทิส คือทิศเบื้องขวา หมายถึงบุคคลในข้อใด ? ก. บิดามารดา ข. มิตรสหาย ค. สมณพราหมณ์ ง. ครูอาจารย์ |
๑. | ยกย่องเชิดชู ไม่เจ้าชู้นอกใจเป็นหน้าที่ใครปฏิบัติต่อใคร ? ก. สามี-ภรรยา ข. บิดามารดา-บุตร ค. นาย-บ่าว ง. อาจารย์-ศิษย |