๑. | ศีลข้อที่ ๑ บัญญัติไว้เพื่อไม่ให้เบียดเบียนกันเรื่องใด ก. ชีวิต ข. ทรัพย์ ค. คู่ครอง ง. คำพูด |
๒. | การทำร้ายกันเป็นเหตุให้นิ้วขาด จัดเข้าในข้อใด ก. บาดเจ็บ ข. เสียโฉม ค. พิการ ง. ทรมาน |
๓. | การกระทำใดผิดศีลข้อที่ ๑ ก. เก็บส่วย ข. ฆ่าปิดปาก ค. เล่นหวย ง. เลี่ยงภาษี |
๔. | คนที่มีอายุสั้น เพราะผิดศีลข้อใด ก. ปาณาติบาต ข. อทินนาทาน ค. กาเมสุมิจฉาจาร ง. มุสาวาท |
๕. | ข้อใดเป็นวัตถุแห่งปาณาติบาต ก. ทรัพย์สิน ข. สัตว์ป่า ค. เมรัย ง. ต้นไม้ |
๖. | คนมีจิตใจโหดร้าย ควรรักษาศีลข้อใด ก. ศีลข้อที่ ๑ ข. ศีลข้อที่ ๒ ค. ศีลข้อที่ ๓ ง. ศีลข้อที่ ๔ |
๗. | ศีลข้อที่ ๑ ขาดเพราะการกระทำในข้อใด ก. ทำให้ตาย ข. ทำให้ลำบาก ค. ทำให้เจ็บ ง. ทำให้พิการ |
๘. | ใช้งานสัตว์เกินกำลัง จัดเป็นทรกรรมใด ก. ใช้การ ข. กังขัง ค. เล่นสนุก ง. นำไป |
๙. | ข้อใดไม่จัดเป็นการผจญสัตว์ ก. ชนโค ข. กัดปลา ค. ตีไก่ ง. ขว้างนก |
๑๐. | ยืมของไปแล้วตั้งใจไม่ส่งคืน จัดเป็นโจรกรรมใด ก. กรรโชค ข. ฉก ค. ปล้น ง. ตระบัด |
๑๑. | ซ่อนของหนีภาษีเข้าประเทศ จัดเป็นโจรกรรมใด ก. ลักลอบ ข. เบียดบัง ค. ยักยอก ง. ฉ้อโกง |
๑๒. | การกระทำใด เรียกว่า ลัก ก. ย่องเบา ข. กรรโชก ค. ยักยอก ง. วิ่งราว |
๑๓. | ข้อใดจัดเป็นฉายาโจรกรรม ก. หยิบฉวย ข. ปอกลอก ค. ยักยอก ง. เบียดบัง |
๑๔. | คนขาดศีลข้อที่ ๒ จะมีลักษณะอย่างไร ก. โหดร้าย ข. มือไว ค. ไม่ซื่อสัตย์ ง. ขาดสติ |
๑๕. | ข้อใดจัดเป็นโจรกรรม ก. ปล้น ข. ผลาญ ค. รับสินบน ง. หยิบฉวย |
๑๖. | การถือเอาทรัพย์ของคนอื่นไม่บอกเจ้าของ ตรงกับข้อใด ก. หลอก ข. ลวง ค. ลักลอบ ง. หยิบฉวย |
๑๗. | การละเมิดศีลข้ออทินนาทาน ส่งผลให้เกิดเป็นคนเช่นไร ก. อายุสั้น ข. ยากจน ค. พิการ ง. บ้า |
๑๘. | ใช้เอกสารเท็จ จัดเป็นโจรกรรมใด ก. ตระบัด ข. ปลอม ค. ลวง ง. หลอก |
๑๙. | ข้อใดเกี่ยวข้องกับศีลข้อที่ ๓ ก. คู่หู ข. คู่คิด ค. คู่เที่ยว ง. คู่ครอง |
๒๐. | การประพฤติในกาม จัดเป็นทุจริตใด ก. กายทุจริต ข. วจีทุจริต ค. มโนทุจริต ง. ถูกทุกข้อ |
๒๑. | อย่าชิงสุกก่อนห่าม สอนให้รักษาศีลข้อใด ก. ข้อที่ ๑ ข. ข้อที่ ๒ ค. ข้อที่ ๓ ง. ข้อที่ ๔ |
๒๒. | ศีลข้อที่ ๓ เป็นประโยชน์โดยตรงแก่สถาบันใด ก. ครอบครัว ข. การศึกษา ค. การเงิน ง. การเมือง |
๒๓. | การรักษาศีลข้อที่ ๓ ช่วยลดปัญหาสังคมด้านใด ก. อาชญากรรม ข. คนว่างงาน ค. ละเมิดทางเพศ ง. ยาเสพติด |
๒๔. | สามีภรรยาที่ซื่อสัตย์ต่อกันเพราะปฏิบัติตามศีลข้อใด ก. ข้อที่ ๑ ข. ข้อที่ ๒ ค. ข้อที่ ๓ ง. ข้อที่ ๔ |
๒๕. | ศีลข้อที่ ๔ มุ่งสอนให้งดเว้นเรื่องใด ก. ฆ่าสัตว์ ข. ลักทรัพย์ ค. พูดเท็จ ง. ดื่มสุรา |
๒๖. | การพูดให้คนแตกแยกกัน เรียกว่าอะไร ก. ส่อเสียด ข. หลอก ค. กลับคำ ง. ยอ |
๒๗. | พูดเพื่อทำลายประโยชน์คนอื่น ผิดศีลข้อใด ก. ข้อที่ ๒ ข. ข้อที่ ๓ ค. ข้อที่ ๔ ง. ข้อที่ ๕ |
๒๘. | มุสาวาท แสดงออกได้ทางใด ก. กาย ข. วาจา ค. ใจ ง. กาย วาจา |
๒๙. | รับคำท่านแล้วภายหลังไม่ปฏิบัติตาม เรียกว่าอะไร ก. ผิดสัญญา ข. คืนคำ ค. เสียสัตย์ ง. โวหาร |
๓๐. | ข้อใดจัดเป็นอนุโลมมุสา ก. สับปลับ ข. ทำเลศ ค. เพ้อเจ้อ ง. พลั้ง |
๓๑. | ถอยคำที่ใช้กันเป็นธรรมเนียม เรียกว่าอะไร ก. โวหาร ข. นิยาย ค. สำคัญผิด ง. ทำเลศ |
๓๒. | มุสาวาททางกาย มีลักษณะตรงกับข้อใด ก. เล่าความเท็จ ข. ทำเอกสารเท็จ ค. แจ้งความเท็จ ง. ให้การเท็จ |
๓๓. | โครงการเมาไม่ขับ สนับสนุนให้งดเว้นเรื่องใด ก. ฆ่าสัตว์ ข. ลักทรัพย์ ค. พูดเท็จ ง. ดื่มสุรา |
๓๔. | การดื่มสุรา เป็นปฏิปักษ์โดยตรงต่อคุณธรรมใด ก. เมตตา ข. สัมมาชีพ ค. มีสัตย์ ง. สติรอบคอบ |
๓๕. | ข้อใดเป็นโทษของการดื่มสุรา ก. โหดร้าย ข. มือไว ค. ใจเร็ว ง. เกิดโรค |
๓๖. | การดื่มสุราเป็นเหตุบั่นทอนปัญญา ตรงกับข้อใด ก. คิดดี ข. คิดเร็ว ค. คิดช้า ง. คิดถูก |
๓๗. | วิรัติของพระอริยเจ้า ตรงกับข้อใด ก. สัมปัตตวิรัติ ข. สมาทานวิรัติ ค. สมุจเฉทวิรัติ ง. ถูกทุกข้อ |
๓๘. | สัมปัตตวิรัติ เป็นการงดเว้นในขณะใด ก. ก่อนหน้า ข. ต่อหน้า ค. ลับหน้า ง. ลับหลัง |
๓๙. | การบริจาคโลหิตช่วยผู้อื่น ชื่อว่ามีกัลยาณธรรมใด ก. เมตตา ข. กรุณา ค. มุทิตา ง. อุเบกขา |
๔๐. | กัลยาณธรรมใดสนับสนุนให้ศีลข้อที่ ๑ มั่นคง ก. เมตตา กรุณา ข. สัมมาอาชีวะ ค. กามสังวร ง. ความมีสัตย์ |
๔๑. | ผู้รับจ้างอุ้มบุญเชิงพาณิชย์เพราะขาดกัลยาณธรรมใด ก. เมตตา กรุณา ข. สัมมาอาชีวะ ค. กามสังวร ง. มีสติ |
๔๒. | ขายสินค้าปลอม ชื่อว่าประพฤติไม่เป็นธรรมในอะไร ก. กิจการ ข. บุคคล ค. วัตถุ ง. ถูกทุกข้อ |
๔๓. | ข้อใดชื่อว่าประพฤติเป็นธรรมในกิจการ ก. ไม่โกงของ ข. ไม่โกงคน ค. ไม่โกงงาน ง. ไม่โกงกิน |
๔๔. | สำนวนว่า รักนวลสงวนตัว สอนให้มีกัลยาณธรรมใด ก. สัมมาอาชีวะ ข. กามสังวร ค. ความมีสัตย์ ง. สติรอบคอบ |
๔๕. | สทารสันโดษ เป็นคุณธรรมที่สามีพึงปฏิบัติต่อใคร ก. คู่นอน ข. คู่คิด ค. คู่ชีวิต ง. คู่ใจ |
๔๖. | การทำหน้าที่เป็นภรรยาที่ดี เรียกว่าอะไร ก. ปติวัตร ข. วิธีวัตร ค. จริยสวัตร ง. กิจวัตร |
๔๗. | ความประพฤติตรงต่อมิตร จัดเข้าในข้อใด ก. เที่ยงธรรม ข. สวามิภักดิ์ ค. ซื่อตรง ง. กตัญญู |
๔๘. | ความมีสติรอบคอบ เป็นอุปการะแก่การรักษาศีลข้อใด ก. ข้อที่ ๒ ข. ข้อที่ ๓ ค. ข้อที่ ๔ ง. ข้อที่ ๕ |
๔๙. | การใช้จ่ายแต่พอเพียง ชื่อว่ามีสติรอบคอบในเรื่องใด ก. การงาน ข. การวางตัว ค. การบริโภค ง. ธรรม |
๕๐. | ข้อใดชื่อว่าไม่เลินเล่อในการงาน ก. ไม่ขวนขวาย ข. ไม่ทอดธุระ ค. ไม่รับผิดชอบ ง. ไม่ตรงเวลา |