๑. | ข้อใดเป็นความหมายของสติ ก. ความระลึกได้ ข. ความรู้ตัว ง. ความจำได้ |
๒. | คนขาดสติสัมปชัญญะมีลักษณะเช่นไร ก. โง่เขลา ข. ประมาท ค. ขาดความละอาย ง. ไร้ความรับผิดชอบ |
๓. | สติสัมปชัญญะ ชื่อว่ามีอุปการะมากเพราะเหตุใด ก. ช่วยให้เกิดความสุข ข. ช่วยให้ร่ำรวย ค. ช่วยให้ทำงานไม่ผิดพลาด ง. ช่วยให้มีความเจริญ |
๔. | หิริโอตตัปปะ จัดเป็นธรรมอะไร ก. ธรรมมีอุปการะมาก ข. ธรรมคุ้มครองโลก ค. ธรรมอันธรรมให้งาม ง. ธรรมสงเคราะห์โลก |
๕. | คนมีโอตตัปปะ มีลักษณะเช่นใด ก. รังเกียจคนชั่ว ข. ละอายบาป ค. เกรงกลัวบาป ง. เกรงกลัวคนชั่ว |
๖. | หิริโอตตัปปะ ช่วยสังคมด้านใด ก. ป้องกันการทุจริต ข. ป้องกันความเกียจคร้าน ค. ป้องกันภัยพิบัติ ง. ป้องกันความยากจน |
๗. | ธรรมอันทำให้งาม ตรงกับข้อใด ก. สติ สัมปชัญญะ ข. หิริ โอตตัปปะ ค. ขันติ โสรัจจะ ง. กตัญญูกตเวที |
๘. | ข้อใดเป็นลักษณะของคนมีโสรัจจะ ก. อ่อนน้อมถ่อมตน ข. เก็บอารมณ์ได้ดี ค. ทนต่อความลำบาก ง. ทนต่อคำด่า |
๙. | ข้อใดเป็นความหมายของบุพพการี ก. ผู้ทำอุปการะก่อน ข. ผู้ตอบแทนคุณ ค. ผู้รู้บุญคุณ ง. ผู้เกิดก่อน |
๑๐. | กตัญญูกตเวที หมายถึงใคร ก. ผู้มีอุปการคุณ ข. ผู้รู้คุณ ค. ผู้ตอบแทนคุณ ง. ผู้รู้คุณและตอบแทน |
๑๑. | ผู้รู้ดีรู้ชอบก่อนแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม ตรงกับข้อใด ก. พระพุทธ ข. พระธรรม ค. พระสงฆ์ ง. พระรัตนตรัย |
๑๒. | หมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนแล้วปฏิบัติตามธรรมวินัย ตรงกับข้อใด ก. พระพุทธ ข. พระธรรม ค. พระสงฆ์ ง. พระปัจเจกพุทธเจ้า |
๑๓. | พระรัตนตรัย ตรงกับข้อใด ก. ศีล สมาธิ ปัญญา ข. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ค. ทาน ศีล ภาวนา ง. อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา |
๑๔. | โอวาทปาติโมกข์ ตรงกับข้อใด ก. ประพฤติสุจริต ๓ ข. เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม ค. ให้ทาน รักษาศีล ง. ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส |
๑๕. | การประพฤติชั่วทางกาย วาจา ใจ เรียกว่าอะไร ก. ทุจริต ข. บาป ค. กรรม ง. มลทิน |
๑๖. | ข้อใดจัดเป็นกายทุจริต ก. พยาบาทปองร้าย ข. ลักทรัพย์ ค. ยุยงให้แตกกัน ง. ให้ร้ายผู้อื่น |
๑๗. | ข้อใดจัดเป็นวจีทุจริต ก. ยุยงให้แตกกัน ข. ฉกชิงวิ่งราว ค. โลภอยากได้ของเขา ง. ปองร้ายผู้อื่น |
๑๘. | ข้อใดเป็นโทษของการพูดส่อเสียด ก. ทำให้เจ็บใจ ข. ทำให้แตกสามัคคี ค. ขาดคนเชื่อถือ ง. ขาดคนรักใคร่ |
๑๙. | ข้อใดเป็นโทษของการพูดคำหยาบ ก. ทำให้เจ็บใจ ข. ทำให้แตกสามัคคี ค. ขาดคนเชื่อถือ ง. ขาดคนรักใคร่ |
๒๐. | ข้อใดไม่จัดเป็นมโนทุจริต ก. คิดช่วยเหลือผู้อื่น ข. คิดอยากได้ของเขา ค. เห็นไม่ตรงตามความเป็นจริง ง. พยาบาทปองร้ายเขา |
๒๑. | การประพฤติดีทางกาย วาจา ใจ เรียกว่าอะไร ก. บุญ ข. ทาน ค. กุศล ง. สุจริต |
๒๒. | คนจะดีหรือชั่ว เพราะเหตุใด ก. มีชาติตระกูลสูง ข. มีทรัพย์มาก ค. ประพฤติสุจริต ง. มีบริวารมาก |
๒๓. | ความดีในสุจริต ๓ ตรงกับข้อใด ก. ดีทางกาย ข. ดีทางวาจา ค. ดีทางใจ ง. ดีทางกาย วาจา ใจ |
๒๔. | ข้อใดจัดเป็นโลภะ ก. อยากสวย ข. อยากรวย ค. อยากเก่ง ง. อยากโกง |
๒๕. | ข้อใดจัดเป็นโทสะ ก. คิดประทุษร้าย ข. คิดอยากได้ ค. คิดโลภ ง. ความหลง |
๒๖. | คนมีโทสะ ควรแก้ด้วยอะไร ก. เมตตา ข. ชื่อสัตย์ ค. อ่อนน้อม ง. เสียสละ |
๒๗. | ข้อใดเป็นเหตุไม่ให้เห็นผิดเป็นถูก ก. อโลภะ ข. อวิหิงสา ค. อโมหะ ง. อโทสะ |
๒๘. | มาตาปิตุปัฎฐาน ตรงกับข้อใด ก. เลี้ยงดูพ่อแม่ ข. เอาใจพ่อแม่ ค. รักพ่อแม่ ง. สงสารพ่อแม่ |
๒๙. | ประเทศอันสมควรมีลักษณะเช่นใด ก. มีพื้นที่มาก ข. มีประชากรมาก ค. มีคนดีมาก ง. มีความสวยงาม |
๓๐. | จะรักษาความยุติธรรม ต้องเว้นจากอะไร ก. อบายมุข ข. อกุศล ค. อคติ ง. ทุจริต |
๓๑. | ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน ชื่อว่ามีอคติใด ก. ฉันทาคติ ข. โทสาคติ ค. โมหาคติ ง. ภยาคติ |
๓๒. | ลำเอียงเพราะกลัวหรือเกรงใจ ตรงกับข้อใด ก. ฉันทาคติ ข. โทสาคติ ค. โมหาคติ ง. ภยาคติ |
๓๓. | ข้อใดตรงกับสังวรปธาน ก. เพียรระวัง ข. เพียรละ ค. เพียรเจริญ ง. เพียรรักษา |
๓๔. | หมั่นสร้างความดีให้มีในตน ตรงกับข้อใด ก. สังวรปธาน ข. ปหานปธาน ค. ภาวนาปธาน ง. อนุรักขนาปธาน |
๓๕. | ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจตรงกับข้อใด ก. อธิษฐานธรรม ข. วุฑฒิธรรม ค. อิทธิบาทธรรม ง. พรหมวิหารธรรม |
๓๖. | ชื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา ตรงกับหลักธรรมใด ก. ปัญญา ข. สัจจะ ค. จาคะ ง. อุปสมะ |
๓๗. | อิทธิบาทข้อใดเป็นพื้นฐานนำไปสู่ความสำเร็จ ก. ฉันทะ ข. วิริยะ ค. จิตตะ ง. วิมังสา |
๓๘. | คนที่ทอดธุระในการทำงานเพราะขาดอิทธิบาทข้อใด ก. ฉันทะ ข. วิริยะ ค. จิตตะ ง. วิมังสา |
๓๙. | การช่วยเหลือคนประสบภัย ชื่อว่ามีพรหมวิหารข้อใด ก. เมตตา ข. กรุณา ค. มุทิตา ง. อุเบกขา |
๔๐. | การแสดงความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ชื่อว่ามีพรหมวิหารข้อใด ก. เมตตา ข. กรุณา ค. มุทิตา ง. อุเบกขา |
๔๑. | ความทะยานอยากจัดเข้าในข้อใด ก. ทุกข์ ข. สมุทัย ค. นิโรธ ง. มรรค |
๔๒. | ข้อใดจัดเป็นอนันตริยกรรม ก. เผาโรงเรียนวัด ข. ตัดเศียรพระพุทธรูป ค. ทำร้ายพระสงฆ์ ง. ทำสงฆ์ให้แตกกัน |
๔๓. | พิจารณาว่าเรามีกรรมเป็นของตัว มีประโยชน์อย่างไร ก. บรรเทาความเห็นผิด ข. บรรเทาความเมาในวัย ค. บรรเทาความยึดมั่น ง. บรรเทาความเมาในชีวิต |
๔๔. | เมื่อจิตฟุ้งซ่านควรเจริญพลธรรมข้อใด ก. วิริยะ ข. สติ ค. สมาธิ ง. ปัญญา |
๔๕. | ปฏิบัติอย่างไร ชื่อว่าเคารพในการศึกษา ก. เล่นกีฬา ข. สัมมนาวิชาการ ค. ใส่ใจศึกษา ง. ทัศนศึกษา |
๔๖. | คบเพื่อนเพราะหวังประโยชน์ จัดเป็นมิตรประเภทใด ก. มิตรปอกลอก ข. มิตรดีแต่พูด ค. มิตรหัวประจบ ง. มิตรชักชวนในทางฉิบหาย |
๔๗. | ทุกข์ ๆ ด้วย สุข ๆ ด้วย ตรงกับมิตรประเภทใด ก. มิตรมีอุปการะ ข. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ค. มิตรแนะประโยชน์ ง. มิตรมีความรักใคร่ |
๔๘. | ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ข้อใด ก. ครูอาจารย์ ข. มารดาบิดา ค. บุตรภรรยา ง. มิตรสหาย |
๔๙. | ไม่รู้จักอาย เป็นโทษอบายมุขใด ก. ดื่มน้ำเมา ข. เที่ยวกลางคืน ค. เล่นการพนัน ง. คบคนชั่วเป็นมิตร |
๕๐. | เล่นการพนันมีโทษอย่างไร ก. ถูกใส่ความ ข. ถูกติเตียน ค. ถูกระแวง ง. ถูกหมิ่นประมาท |